ความชุกและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการรับวัคซีนไม่ครบตามเกณฑ์ในกลุ่มผู้สัมผัสโรคพิษสุนัขบ้า จังหวัดหนองคาย
คำสำคัญ:
โรคพิษสุนัขบ้า , วัคซีน, จังหวัดหนองคายบทคัดย่อ
การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงวิเคราะห์แบบภาคตัดขวาง (Cross-sectional analytic study) เพื่อศึกษาความชุกและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการรับวัคซีนไม่ครบตามเกณฑ์ ในกลุ่มผู้สัมผัสโรคพิษสุนัขบ้า อำเภอเมืองหนองคาย จังหวัดหนองคาย ประชากรที่ศึกษา คือ ผู้มารับบริการวินิจฉัยการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า จำนวน 7,832 คน สืบค้นข้อมูลจากระบบ HOSxP โรงพยาบาลหนองคาย การสุ่มตัวอย่างที่นำมาศึกษาจำนวน 1,553 คน ซึ่งได้จากการคำนวณขนาดตัวอย่าง สำหรับการวิเคราะห์สัดส่วนกรณีทราบขนาดประชากร ใช้วิธีสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) ผลการศึกษาพบว่า ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง (ร้อยละ 54.22) อายุเฉลี่ย 35.17 ปี อาชีพเกษตรกร (ร้อยละ 22.99) ได้รับข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับโรคพิษสุนัขบ้า 1,069 คน (ร้อยละ 68.83) สัตว์ที่สัมผัส (กัด/ข่วน/เลีย) คือ สุนัข ร้อยละ 93.75 ความชุกของการรับวัคซีนไม่ครบตามเกณฑ์ในผู้สัมผัสโรคพิษสุนัขบ้า ร้อยละ 55.05 ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการรับวัคซีนไม่ครบตามเกณฑ์ ในกลุ่มผู้สัมผัสโรคพิษสุนัขบ้า อายุ 15 ปี อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
(P-value < 0.05) ได้แก่ อาชีพ (adjOR = 0.54, 95%CI = 0.38-0.79, P-value = 0.001) การได้รับข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับโรคพิษสุนัขบ้า (adjOR = 0.54, 95%CI = 0.39-0.74, P-value < 0.001) ระยะทางจากบ้านถึงโรงพยาบาลมากกว่า 30 กิโลเมตร (adjOR = 0.25, 95%CI = 0.07-0.84, P-value = 0.025) การใช้รถยนต์ของตนเอง (adjOR = 0.29, 95%CI = 0.22-0.39, P-value < 0.001) ผู้สัมผัสโรคที่ถูกสัตว์ไม่มีเจ้าของ(adjOR = 2.69, 95%CI = 1.92-3.77, P-value < 0.001) ไม่ทราบสถานภาพสัตว์ที่กัด (adjOR= 3.24, 95%CI = 1.48-7.79, P-value = 0.003) ผู้สัมผัสโรคที่มีระดับการสัมผัสกับสัตว์ที่สงสัยมีเชื้อพิษสุนัขบ้า WHO category3 (adjOR = 6.68, 95%CI = 3.92-11.38 , P-value < 0.001) มีโอกาสจะรับวัคซีนไม่ครบตามเกณฑ์มากกว่าข้อมูลจากการศึกษานี้ พบว่า การได้รับข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับโรคพิษสุนัขบ้า สามารถลดโอกาสที่ผู้สัมผัสโรคพิษสุนัขบ้าจะเข้ารับวัคซีนไม่ครบตามเกณฑ์ได้ หน่วยงานสาธารณสุขในพื้นที่ควรให้ความรู้ประชาชนเกี่ยวกับเกี่ยวกับความสำคัญ อันตรายของโรคพิษสุนัขบ้า ผู้สัมผัสโรคพิษสุนัขบ้าที่เข้ารับวัคซีนไม่ครบตามเกณฑ์ ส่วนใหญ่จะถูกสัตว์ไม่มีเจ้าของและไม่ทราบสถานภาพสัตว์ที่สัมผัสโรคกัด มีโอกาสที่จะเข้ารับวัคซีนไม่ครบตามเกณฑ์มากถึง 2.69 เท่า และ 3.24 เท่า ตามลำดับ ซึ่งไม่มีผู้รับผิดชอบทั้งค่าใช้จ่ายในการรักษาเพื่อเดินทางมารับวัคซีน ดังนั้น หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ควรใช้กลยุทธ์ในการเสริมสร้างแรงจูงใจบุคคลกลุ่มนี้ในการรับวัคซีนให้ครบตามเกณฑ์
References
กองโรคติดต่อทั่วไป กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือการสร้างและประเมินพื้นที่ปลอดโรคพิษสุนัขบ้า. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์; 2565.
สำนักตรวจราชการ สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี. ข้อมูลและแนวทางการตรวจติดตาม การดำเนินโครงการสัตว์ปลอดโรค คนปลอดภัยจากโรคพิษสุนัขบ้า ตามพระปณิธานศาสตราจารย์ ดร.สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565. กรุงเทพฯ: ม.ป.ท. 2565.
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดหนองคาย. สรุปผลการดำเนินงานประจำปี ประจำปีงบประมาณ 2565. หนองคาย: สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดหนองคาย; 2565.
ธัญญามาศ ทีงาม, พรนภา ศุกรเวทย์ศิริ. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการรับวัคซีนไม่ครบตามเกณฑ์ในกลุ่มผู้สัมผัสโรคพิษสุนัขบ้า อำเภอยางสีสุราช จังหวัดมหาสารคาม. วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 2563;13(1):33-40.
ผาณิต แต่งเกลี้ยง. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการฉีดวัคซีนไม่ครบตามนัดของผู้สัมผัสโรคพิษสุนัขบ้าโรงพยาบาลพรหมคีรี อำเภอพรหมคีรี จังหวัดนครศรีธรรมราช [วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตร์มหาบัณฑิต]. นครศรีธรรมราช: มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์; 2557. 80 หน้า.
Wayne W. Daniel. Biostatistics: a Foundation for Analysis In the Health Sciences. 6thed. New York: Wiley & Sons; 1995.
เชษฐา งามจรัส. การคำนวณขนาดตัวอย่างสำหรับงานวิจัยด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ. ขอนแก่น: คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2564.
พลวัฒน์ ทองชำนาญ, บรรณาธิการ. การพัฒนาระบบการติดตามผู้สัมผัสโรคพิษสุนัขบ้า อำเภอน้ำปาด จังหวัดอุตรดิตถ์. ประชุมวิชาการสาธารณสุข เขตสุขภาพที่ 2 ปีงบประมาณ 2563; 10-11 สิงหาคม 2563; พิษณุโลก. 2563.
สุขุมาล กาฬเนตร, อารยา ประเสริฐชัย, วรางคณา จันทร์คง. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการมารับบริการวัคซีนพิษสุนัขบ้าหลังสัมผัสโรค อำเภอกันทรารมย์ จังหวัดศรีสะเกษ. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี 2562;21(2):34-47.
วรยศ ดาราสว่าง. ปัจจัยที่มีผลต่อการรับวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าหลังสัมผัสไม่ครบตามเกณฑ์ ในผู้มารับบริการในโรงพยาบาลบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์. วารสารการแพทย์โรงพยาบาลศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์ 2563;35(3):565-73.