การบาดเจ็บจากของมีคมและสัมผัสสารคัดหลั่งของผู้ป่วย ขณะปฏิบัติงานของบุคลากรในโรงพยาบาลบึงกาฬ

ผู้แต่ง

  • ฑิฎฐิธนา บุญชู โรงพยาบาลบึงกาฬ
  • ภิรดา อาจวิชัย มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา

คำสำคัญ:

การบาดเจ็บจากของมีคม, การสัมผัสสารคัดหลั่ง, เข็มทิ่มตำ, บุคลากรในโรงพยาบาล

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาแบบย้อนหลัง เพื่อศึกษาการบาดเจ็บจากของมีคม และสัมผัสสารคัดหลั่งของผู้ป่วยขณะปฏิบัติงานของบุคลากรในโรงพยาบาลบึงกาฬ เก็บรวบรวมข้อมูลจากแบบรายงานเมื่อบุคลากรเกิดอุบัติเหตุจากการให้บริการทางการแพทย์ในโรงพยาบาลบึงกาฬ ระหว่างวันที่ 1 มกราคม 2561 ถึงวันที่ 30 ตุลาคม 2566 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ผลการศึกษาพบว่า การบาดเจ็บจากของมีคมและสัมผัสสาร คัดหลั่งของผู้ป่วยขณะปฏิบัติงานในบุคลากร ร้อยละ 10.69 จากบุคลากรทั้งหมด 778 คน ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 78.31 มีอายุเฉลี่ยเท่ากับ 29.18 ปี (S.D. = 7.26) พยาบาลวิชาชีพได้รับการบาดเจ็บมากที่สุด ร้อยละ 28.92 ส่วนใหญ่เกิดอุบัติเหตุที่แผนกผู้ป่วยในมากที่สุด ร้อยละ 32.53 บุคลากรที่ได้รับบาดเจ็บส่วนใหญ่มีประสบการณ์ทำงานน้อยกว่า 5 ปี ร้อยละ 60.24 ประสบการณ์ทำงานเฉลี่ย 4.91 ปี (S.D. = 6.52) มักเกิดขึ้นในเวรเช้า (08.00 – 16.00 น.) ร้อยละ 65.06 สาเหตุการบาดเจ็บมาจากตนเอง ร้อยละ 90.36 ถูกเข็มทิ่มตำ ร้อยละ 56.63 จำนวนครั้ง ที่ได้รับการบาดเจ็บเฉลี่ย 1.34 ครั้ง (S.D. = 0.99) มือ ได้รับการบาดเจ็บมากที่สุด ร้อยละ 81.93 มีสาเหตุมาจากการเจาะเลือดมากที่สุด ร้อยละ 30.12 อุบัติเหตุส่วนใหญ่มักจะมีการเปื้อนเลือดหรือสารคัดหลั่งของผู้ป่วยถึงร้อยละ 79.52 และมีความรุนแรงในระดับปานกลาง โดยมีการแทงทะลุผิวหนัง มีเลือดออกเล็กน้อย ร้อยละ 72.29 มีการสวมใส่อุปกรณ์ป้องกันร่างกายส่วนบุคคล ร้อยละ 73.49 โดยอุปกรณ์ที่เลือกใช้ส่วนใหญ่คือ ถุงมือ ร้อยละ 68.67 รองลงมา คือ หน้ากากอนามัย ร้อยละ 39.76 ตามลำดับ และที่สวมน้อยที่สุดคือ แว่นตา ร้อยละ 24.10 ดังนั้น จึงควรมีการทบทวนความรู้เรื่องการป้องกันอุบัติเหตุจากการทำงานแก่บุคลากร เพื่อสร้างความตระหนักแก่ผู้ปฏิบัติงาน และมีการควบคุม กำกับให้การปฏิบัติงานมีความถูกต้อง รวมไปถึงการสวมใส่อุปกรณ์ป้องกันร่างกายส่วนบุคคลที่มีความเหมาะสมกับการปฏิบัติงาน

References

งานสารสนเทศ. รายงานจำนวนผู้รับบริการผู้ป่วยนอก/ผู้ป่วยใน โรงพยาบาลบึงกาฬ. บึงกาฬ: โรงพยาบาลบึงกาฬ; 2566.

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. แนวปฏิบัติของสถานพยาบาลในการดำเนินการป้องกันการติดเชื้อจากเข็มทิ่มตำของมีคม และการสัมผัสเลือดหรือสารคัดหลั่งจากการปฏิบัติงานของบุคลากร [อินเทอร์เน็ต]2557. [เข้าถึงเมื่อ 3 ตุลาคม 2566]. เข้าถึงได้จาก : https://ddc.moph.go.th/uploads/files/675eca1d81c2154188fff89fc58359a2.PDF

รัตนาวรรณ พนมชัย และอุไรวรรณ อินทร์ม่วง. การประเมินความเสี่ยงจากการทำงานของพยาบาลแผนกผู้ป่วยใน กรณีศึกษา โรงพยาบาลทั่วไปแห่งหนึ่งในจังหวัดนครราชสีมา. วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น [อินเทอร์เน็ต]. 2562 [เข้าถึงเมื่อ 5 กันยายน 2566]; 12(2): 73-84. เข้าถึงได้จาก : https://he01.tci-thaijo.org/index.php/kkujphr/article/view/143240/148520

กลุ่มงานอาชีวเวชกรรม. รายงานบุคลากรเกิดอุบัติเหตุจากการให้บริการทางการแพทย์ในโรงพยาบาลบึงกาฬ. บึงกาฬ: โรงพยาบาลบึงกาฬ; 2566.

กลุ่มงานทรัพยากรบุคคล. ทะเบียนข้อมูลบุคคลากร โรงพยาบาลบึงกาฬ. บึงกาฬ: โรงพยาบาลบึงกาฬ; 2566.

สุพรรณ์ ว่องรักษ์สัตว์ และ สมสมัย สุธีรศานต์. ปัจจัยที่สัมพันธ์กับความชุกของการถูกเข็มทิ่มตำหรือของมีคมบาด ในบุคลากรทางการพยาบาล โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ. วารสารโรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ [อินเทอร์เน็ต]. 2559 [เข้าถึงเมื่อ 8 สิงหาคม 2566]; 1(1): 26-41. เข้าถึงได้จาก: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/TUHJ/article/view/240158/163708

นุสรา ประเสริฐศรี, วิไลลักษณ์ ตียาพันธ์, อภิรดี เจริญนุกูล, วรางคณา บุตรศรี และอัญชลี วิเศษชุณหศิลป์. ความรู้และการป้องกันอุบัติเหตุเข็มและของมีคมทิ่มตำของนักศึกษาพยาบาล. วารสารการพยาบาลการสาธารณสุข และการศึกษา [อินเทอร์เน็ต]. 2562 [เข้าถึงเมื่อ 3 ตุลาคม 2566]; 20(1): 160–171. เข้าถึงได้จาก : https://he01.tci-thaijo.org/index.php/bcnpy/article/view/177037/129530

วรัญญา เขยตุ้ย, วลัยพร จันทร์เอี่ยม, ศรัณยา ณัฐเศรษฐสกุล และ อภิสรา ทานัน. ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเกิดอุบัติเหตุสัมผัสเลือด สารคัดหลั่ง เข็มทิ่มตำหรือของมีคมบาดในนักศึกษาทันตแพทย์ คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล. วารสาร Mahidol R2R e-Journal [อินเทอร์เน็ต]. 2563 [เข้าถึงเมื่อ 3 ตุลาคม 2566]; 7(1): 110-124. เข้าถึงได้จาก : https://he01.tci-thaijo.org/index.php/mur2r/article/view/243423/165416

รักษ์สุดา ชูศรีทอง. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมความปลอดภัยในการทำงานของพยาบาลวิชาชีพในโรงพยาบาลชุมชน จังหวัดชลบุรี. [วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน]. ชลบุรี; มหาวิทยาลัยบูรพา. 2563.

รัตติกาล สุขพร้อมสรรพ์. อุบัติการณ์ของการบาดเจ็บที่เกี่ยวเนื่องจากการทำงานของพยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลพะเยา จังหวัดพะเยา. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข [อินเทอร์เน็ต]. 2560 [เข้าถึงเมื่อ 10 ธันวาคม 2566]; 27(3): 107-119. เข้าถึงได้จาก : https://he02.tci-thaijo.org/index.php/tnaph/article/view/111196/86932

นิสากร กรุงไกรเพชร. ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมความปลอดภัยในการฝึกประสบการณ์วิชาชีพของนักศึกษาพยาบาลภาคตะวันออก. วารสารศูนย์การศึกษาแพทย์ศาสตร์คลินิก โรงพยาบาลพระปกเกล้า [อินเทอร์เน็ต]. 2562 [เข้าถึงเมื่อ 3 ตุลาคม 2566]; 36(3): 193-201. เข้าถึงได้จาก : https://he02.tci-thaijo.org/index.php/ppkjournal/article/view/175303/150305

วณิชชา คันธสร และอาจินต์ สงทับ. ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการป้องกันความเสี่ยงด้านสุขภาพจากการทำงานของพนักงานห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ โรงพยาบาลระดับตติยภูมิ เขตภาคเหนือตอนล่าง. วารสารการแพทย์และวิทยาศาสตร์สุขภาพ [อินเทอร์เน็ต]. 2561 [เข้าถึงเมื่อ 3 ตุลาคม 2566]; 25(1): 22-37. เข้าถึงได้จาก : https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jmhs/article/view/121043/92361

พร บุญมี, กฤตพัทธ์ ฝึกฝน และพงศ์พัชรา พรหมเผ่า. อุบัติการณ์การเกิดเข็มทิ่มตำ ของมีคมบาดและการสัมผัสสารคัดหลั่งในนักศึกษาพยาบาล วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีพะเยา. วารสารการพยาบาลและการศึกษา [อินเทอร์เน็ต]. 2556 [เข้าถึงเมื่อ 3 ตุลาคม 2566]; 6(2): 124-136. เข้าถึงได้จาก : https://he01.tci-thaijo.org/index.php/JNAE/article/view/14336/13115

Downloads

เผยแพร่แล้ว

28-03-2025

How to Cite

1.
บุญชู ฑ, อาจวิชัย ภ. การบาดเจ็บจากของมีคมและสัมผัสสารคัดหลั่งของผู้ป่วย ขณะปฏิบัติงานของบุคลากรในโรงพยาบาลบึงกาฬ. JODPC8 [อินเทอร์เน็ต]. 28 มีนาคม 2025 [อ้างถึง 28 เมษายน 2025];3(1):57-69. available at: https://he03.tci-thaijo.org/index.php/JODPC8/article/view/2410