การพัฒนารูปแบบการรายงานค่าวิกฤตวัณโรคดื้อยาแบบอัตโนมัติ
คำสำคัญ:
ค่าวิกฤตวัณโรคดื้อยา, การรายงานแบบอัตโนมัติบทคัดย่อ
วัณโรคเป็นปัญหาสาธารณสุขที่องค์การอนามัยโลกและประเทศไทยได้ให้ความสำคัญอย่างต่อเนื่อง เพื่อเร่งยุติปัญหาวัณโรคให้เร็วที่สุด โดยสถานการณ์โลกพบผู้ป่วยรายใหม่เป็น MDR-TB ร้อยละ 3.50 (95% CI 2.2-3.5%) ผู้ป่วยที่เคยรักษามาก่อน ร้อยละ 20.50 (95% CI 13.60-27.50%) และผู้ป่วย MDR-TB โดยร้อยละ 9.00 (95% CI 6.50-11.50%) เป็นวัณโรคดื้อยาหลายขนานชนิดรุนแรงมาก (XDR-TB) การสร้างระบบรายงานทางห้องปฏิบัติการที่มีความถูกต้อง ครบถ้วน ทันเวลา จะช่วยให้ผู้ป่วยได้รับการรักษาที่เหมาะสม และเพิ่มประสิทธิภาพการรายงานวัณโรคXDR -TB ซึ่งเป็นโรคติดต่ออันตรายลำดับที่ 13 ต้องแจ้งต่อกรมควบคุมโรคภายใน 3 ชั่วโมง และออกสอบสวนโรคภายใน 12 ชั่วโมง วัตถุประสงค์ของการศึกษาคือ เพื่อพัฒนารูปแบบการรายงานค่าวิกฤตวัณโรคดื้อยาแบบอัตโนมัติ ให้มีความครบถ้วน ถูกต้อง ทันเวลา โดยการรายงานค่าวิกฤตวัณโรคดื้อยาแบบอัตโนมัติจะส่งแจ้งเตือนอัตโนมัติทางไลน์ให้เฉพาะหัวหน้าห้องปฏิบัติการทันทีเมื่อตรวจพบจากโปรแกรมสารสนเทศ ODPC8 Laboratory program (D8LAB) ของห้องปฏิบัติการ ผลการศึกษาการพัฒนารูปแบบการรายงานค่าวิกฤตวัณโรคดื้อยาแบบอัตโนมัติ โดยใช้โปรแกรมสารสนเทศ D8LAB ของห้องปฏิบัติการ สคร.8 อุดรธานี ด้วยการเพิ่มระบบแจ้งเตือน ผ่านแอปพลิเคชันไลน์ ไปยังบุคคลเป้าหมายอย่างจำเพาะเจาะจง เพื่อให้มีความครบถ้วน ถูกต้อง ทันเวลา แบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนที่ 1 ผลประเมินระบบการแจ้งเตือน 3 ด้าน 1) ด้านการรายงานแจ้งเตือน (ครั้ง) ร้อยละ 100 2) ด้านความถูกต้องข้อมูลแจ้งเตือนร้อยละ 100 และ 3) ด้านการรายงานแจ้งเตือนเร็วขึ้น (เวลา ≤ 10 นาที) ร้อยละ 100 ส่วนที่ 2 ผลประเมินความพึงพอใจจากผู้ใช้งาน 5 ด้าน 1) ด้านความครบถ้วนของข้อมูลที่ส่งแจ้งเตือน ความพึงพอใจระดับมากที่สุด (𝑥̅ = 4.80, S.D. = 0.42) 2) ด้านความถูกต้องในการแจ้งเตือน ความพึงพอใจระดับมากที่สุด (𝑥̅ = 4.90, S.D. = 0.32) 3) ด้านความรวดเร็วของการแจ้งเตือน ความพึงพอใจระดับมากที่สุด (𝑥̅ = 4.70, S.D. = 0.48) 4) ด้านความสะดวกในการใช้งาน ความพึงพอใจระดับมากที่สุด (𝑥̅ = 4.70, S.D. = 0.48) และ 5) ด้านความพึงพอใจโดยรวม ความพึงพอใจระดับมากที่สุด (𝑥̅ = 4.90, S.D. = 0.32) ผลคะแนนความพึงพอใจเฉลี่ยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (𝑥̅ = 4.80, S.D. = 0.40) ดังนั้นการพัฒนารูปแบบการรายงานค่าวิกฤตวัณโรคดื้อยาแบบอัตโนมัติ ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพระบบเฝ้าระวังวัณโรคทางห้องปฏิบัติการได้ดียิ่งขึ้น
References
สำนักวัณโรค กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางการบริหารจัดการผู้ป่วยวัณโรคดื้อยา. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย; 2558.
World Health Organization. Tuberculosis [Internet]. 2020 [cited 2024 June 1]. Available from: https://www.who.int/news-room/fact-sheets/detail/tuberculosis
กองวัณโรค กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางการควบคุมวัณโรคประเทศไทย พ.ศ. 2564. กรุงเทพมหานคร: อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์; 2564.
สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 8 จังหวัดอุดรธานี. สคร.8 อุดรธานี ร่วมรณรงค์ เนื่องในวันวัณโรคสากล ปี 2567 "YES! WE CAN END TB; ยุติวัณโรค เราทำได้" [อินเทอร์เน็ต]. 2567 [เข้าถึงเมื่อ 19 มิถุนายน 2567]. เข้าถึงได้จาก: https://ddc.moph.go.th/odpc8/news.php?news=41975&deptcode=
วิไล ปัททุม. ผลลัพธ์ของผู้ป่วยที่มีค่าวิกฤตทางห้องปฏิบัติการ ในโรงพยาบาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช [อินเทอร์เน็ต]. 2564 [เข้าถึงเมื่อ 5 สิงหาคม 2567]. เข้าถึงได้จาก: http://www.tako.moph.go.th/librarybook/web/files/69a4f1c78a2d572efa8448055ab74943.pdf
บุญชม ศรีสะอาด. การวิจัยเบื้องต้น. กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาสาส์น; 2560.
ถนอม กองใจ, อริษา ทาทอง. พัฒนาระบบแจ้งเตือนกิจกรรมและการนัดหมายอัตโนมัติผ่านแอปพลิเคชันไลน์ โดยประยุกต์ใช้โปรแกรม Google Application และ Line Notification. วารสาร Mahidol R2R e-Journal. 2565;9(2):32-45.
กองวัณโรค กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. สถานการณ์และผลการดำเนินงานควบคุมวัณโรคของประเทศไทยปี พ.ศ. 2562 – 2566 [อินเทอร์เน็ต]. 2567 [เข้าถึงเมื่อ 20 กุมภาพันธ์ 2568]. เข้าถึงได้จาก: https://tbthailand.org/download/Manual/สถานการณ์และผลการดำเนินงานTBปี62-66.pdf