ความชุกพยาธิใบไม้ตับในปลาพื้นที่เขตสุขภาพที่ 8 ปี 2566

ผู้แต่ง

  • บุญเทียน อาสารินทร์ สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 8 จังหวัดอุดรธานี

คำสำคัญ:

เมตาเซอร์คาเรีย, ปลาน้ำจืดเกล็ดขาว, พยาธิใบไม้ตับ

บทคัดย่อ

การศึกษาภาคตัดขวางนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อทราบชนิดปลาน้ำจืด ที่สำรวจและเก็บตัวอย่างได้จากอ่างเก็บน้ำและแหล่งน้ำสาขาในพื้นที่เขตสุขภาพที่ 8 และประเมินการติดเชื้อรวมทั้ง ตรวจจำแนกชนิดตัวอ่อนระยะเมตาเซอร์คาเรียของพยาธิใบไม้ในปลา ตรวจด้วยวิธีการย่อยเนื้อปลาด้วยสารเปปซิน หลักเกณฑ์ในการคัดเลือกพื้นที่ดำเนินการ คือ อำเภอที่พบอัตราการติดเชื้อพยาธิใบไม้ตับในคนสูงและต่ำของแต่ละจังหวัด รวม 14 อำเภอ 14 แหล่งน้ำ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ทำการศึกษาระหว่างเดือนเมษายน 2566 ถึง สิงหาคม 2566 ผลการศึกษาพบว่า จากลักษณะทางสัณฐานวิทยาของปลาที่จับได้ 349 ตัว จำแนกชนิดปลาน้ำจืดได้จำนวน 10 ชนิด ประกอบด้วยวงศ์ Cyprinidae 8 ชนิด วงศ์ Clupeidae 1 ชนิด และวงศ์ Osphronemidae 1 ชนิด โดยปลาที่สำรวจได้ส่วนใหญ่เป็นปลาสร้อยขาว จำนวน 153 ตัว คิดเป็นร้อยละ 43.84 ตรวจพบปลาติดเชื้อพยาธิตัวอ่อนระยะเมตาเซอร์คาเรียจำนวน 132 ตัว คิดเป็นร้อยละ 37.82 แยกเป็นพยาธิใบไม้ตับ (Opisthorchis viverrini) จำนวน 18 ตัว คิดเป็นร้อยละ 5.16 และพยาธิใบไม้ลำไส้ขนาดเล็ก (Haplorchis spp.) จำนวน 125 ตัว คิดเป็นร้อยละ 35.82 ปลาบางตัวพบว่ามีการติดเชื้อพยาธิทั้ง 2 ชนิด พื้นที่ที่ตรวจพบปลาติดเชื้อพยาธิใบไม้ตับมี 4 แห่ง และปลาที่มีการติดเชื้อพยาธิใบไม้ตับมี 3 ชนิด ดังนั้น เขตสุขภาพที่ 8 ควรนำผลที่ได้ไปประกอบการวางแผนและกำหนดยุทธศาสตร์การกำจัดปัญหาพยาธิใบไม้ตับ และรณรงค์ให้ความรู้แก่ประชาชนในการไม่บริโภคปลาดิบ โดยเฉพาะในปลาและพื้นที่ที่ติดเชื้อพยาธิใบไม้ตับ

References

กองโรคติดต่อทั่วไป กรมควบคุมโรค. การตรวจวินิจฉัยโรคหนอนพยาธิ โครงการควบคุมโรคหนอนพยาธิในโครงการตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี. นนทบุรี: สำนักโรคติดต่อทั่วไป กรมควบคุมโรค; 2563.

Kamsa-Ard S, Luvira V, Suwanrungruang K, Vatanasapt P, Wiangnon S. Risk factors for cholangiocarcinoma in Thailand: A systematic review and meta-analysis. Asian Pacific J Cancer Prev 2018; 19:605–14.

กองโรคติดต่อทั่วไป กรมควบคุมโรค. แผนงานกำจัดปัญหาพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดีปี 2563. เอกสารประกอบการนำเสนอในเวทีประชุมชี้แจงแนวทางการดำเนินงานทศวรรษกำจัดปัญหาพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดี ปี 2563; 12-13 พฤศจิกายน 2563; กรุงเทพมหานคร: กองโรคติดต่อทั่วไป กรมควบคุมโรค; 2563.

คำพล แสงแก้ว, อรนาถ วัฒนวงษ์. ความชุกโรคหนอนพยาธิในประชาชนและโฮสต์กึ่งกลางในสิ่งแวดล้อม บริเวณพื้นที่โครงการอ่างเก็บน้ำแม่สอดตอนบน อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก. วารสารวิชาการป้องกันควบคุมโรค สคร.2 พิษณุโลก 2565;9(1):19-6.

วรยุทธ นาคอ้าย, สุภัทรตา ศรีทองแท้, อัมภัส วิเศษโมรา, อรนาถ วัฒนวงษ์. อัตราการติดโรคหนอนพยาธิในประชาชนและโฮสต์กึ่งกลางในสิ่งแวดล้อม พื้นที่โครงการปรับปรุงประสิทธิภาพการเก็บกักน้ำอ่างเก็บน้ำลำปาว จังหวัดกาฬสินธุ์. ว. สหวิชาการเพื่อสุขภาพ 2562;1(1):51-61.

กรรณิการ์ แก้วจันต๊ะ, อดุลยศักดิ์ วิจิตร. การติดเชื้อตัวอ่อนพยาธิใบไม้ระยะติดต่อเมตาเซอร์คาเรียในปลาน้ำจืดที่อ่างเก็บน้ำแม่นึง อำเภอเมืองปาน จังหวัดลำปาง ประเทศไทย. วารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 10 จังหวัดอุบลราชธานี 2564;19(1):59-70

พิศาล ไม้เรียง, บรรจบ ศรีภา, เอมอร ไม้เรียง. ความรู้พื้นฐานโรคพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดี. ขอนแก่น: คลังนานาวิทยา; 2554.

สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 8 จังหวัดอุดรธานี. สรุปผลการดำเนินงานกำจัดปัญหาพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดีเขตสุขภาพที่ 8 ประจำปี 2559-2565. อุดรธานี: สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 8 จังหวัดอุดรธานี; 2565.

ภาสกร แสนจันแดง. สารานุกรมปลาน้ำจืดของไทย. ขอนแก่น: คลังนานาวิทยา; 2557.

อภินันท์ สุวรรณรักษ์. ปลาลุ่มน้ำปิง. พิมพ์ครั้งที่ 2. เชียงใหม่: สมาร์ทโคตรติ้ง แอนต์ เซอร์วิส; 2560.

ทองรู้ กอผจญ, อรนาถ วัฒนวงษ์, ฐิติมา วงศาโรจน์, อารักษ์ วงศ์วรชาติ, ชูศักดิ์ นิธิเกตุกุล. โรคหนอนพยาธิพื้นที่โครงการอ่างเก็บน้ำคลองหลวงรัชชโลทร จังหวัดชลบุรี. วารสารโรงพยาบาลสกลนคร 2564;24(1):79-93.

สำนักโรคติดต่อทั่วไป กรมควบคุมโรค. โครงการเฝ้าระวังเพื่อแก้ปัญหาผลกระทบต่อการแพร่โรคหนอนพยาธิตามแผนปฏิบัติการป้องกันแก้ไขลดผลกระทบสิ่งแวดล้อมพื้นที่อ่างเก็บน้ำแม่สอดตอนบน จังหวัดตาก ปีงบประมาณ 2561. นนทบุรี: สำนักโรคติดต่อทั่วไป กรมควบคุมโรค; 2561.

Sukontason K, Piangjai S, Muangyimpong Y, Sukontason K, Methanitikorn R, Chaithong U. Prevalence of trematode metacercaria in cyprinoid fish of Ban Pao district, Chiang Mai Province,northern Thailand. Southeast Asian J Trop Med Public Health 1999;30(2):365-70.

Noikong W, Wongsawad C, Phalee A. Seasonal variation of metacercaria in cyprinoid fish from Kwae Noi Bamroongdan Dam, Phitsanulok Province, northern Thailand. Southeast Asian J Trop Med Public Health 2011;42(1):58-62.

Vichasri S, Viyanant V, Upatham ES. Opisthorchis viverrini: intensity and rates of infection in cyprinoid fish from an endemic focus in northeast Thailand. Southeast Asian J Trop Med Public Health 1982;13(1):138-41.

Sithithaworn P, Pipitgool V, Srisawangwong T, Elkins DB, Haswell-Elkins MR. Seasonal variation of Opisthorchis viverrini infection in cyprinoid fish in north-east Thailand: implications for parasite control and food safety. Bull World Health Organ 1997;75(2):125-31.

Wiwanitkit V. The correlation between rainfall and the prevalence of trematode metacercaria in freshwater fish in Thailand. Southeast Asian J Trop Med Public Health 2005; 36 Suppl 4:120-2.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

28-03-2025

How to Cite

1.
อาสารินทร์ บ. ความชุกพยาธิใบไม้ตับในปลาพื้นที่เขตสุขภาพที่ 8 ปี 2566. JODPC8 [อินเทอร์เน็ต]. 28 มีนาคม 2025 [อ้างถึง 28 เมษายน 2025];3(1):86-97. available at: https://he03.tci-thaijo.org/index.php/JODPC8/article/view/3251