การส่งบทความ

เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน เพื่อส่งบทความ

รายการตรวจสอบก่อนส่งบทความ

ในขั้นตอนการส่งบทความ ผู้แต่งต้องตรวจสอบและปฏิบัติตามข้อกำหนดรายการตรวจสอบการส่งทุกข้อ ดังต่อไปนี้ และบทความอาจถูกส่งคืนให้กับผู้แต่งกรณีที่ไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดทั้งหมด
  • บทความเรื่องนี้ยังไม่เคยตีพิมพ์หรืออยู่ในระหว่างการพิจารณาเพื่อตีพิมพ์ในวารสารอื่น (หากมีกรุณาอธิบายในข้อความถึงบรรณาธิการ)
  • บทความเตรียมในรูปแบบของไฟล์ Microsoft Word
  • มีการให้ URLs ที่เข้าถึงได้ สำหรับเอกสารที่อ้างอิงจากอินเทอร์เน็ต
  • บทความพิมพ์แบบใช้ระยะห่างบรรทัดปกติ (single-spaced) Time New Romanขนาดฟ้อนท์ตัวอักษร 12pt(ในภาษาไทย) และ 12 pt(ในภาษาอังกฤษ) ใช้ตัวเอนแทนการขีดเส้นใต้สำหรับสังกัดผู้แต่ง (ยกเว้น ที่อยู่ URL) และ ระบุข้อมูล รูปวาด รูปภาพ และตาราง ในตำแหน่งที่เหมาะสม เป็นตามข้อกำหนดของวารสาร
  • บทความเตรียมตามข้อกำหนด ทั้งในด้านของรูปแบบและการเขียนเอกสารอ้างอิง ตามคำแนะนำสำหรับผู้แต่ง (Author Guidelines)

คำแนะนำผู้แต่ง

คำแนะนำผู้แต่ง

Aim and Scope ของวารสารฯ  (docx)

Template บทความวารสารฯ (dot)

1. TEMPLATE OF JOURNAL PUBLICS HEALTH AND SOCIOLOGY

ชื่อบทความวิจัย หรือ บทความวิชาการ หรือ บทปริทัศน์ หรือ บทรับเชิญ หรือรายงานฉบับสมบูรณ์ หรือ ผลงานวิชาการภาษาไทย

 

ชื่อบทความภาษาอังกฤษ ตัวอักษรแรกของคำต้องเป็นตัวใหญ่

ชื่อ-สกุลผู้เขียน (ชื่อภาษาไทย)

Name Last name (ชื่อภาษาอังกฤษ)

 

หน่วยงานต้นสังกัด หรือสาขาที่ศึกษา

e-mail และหมายเลขโทรศัพท์สำหรับการติดต่อสื่อสาร

 

บทคัดย่อ

                การเขียนบทคัดย่อภาษาไทย จะต้องจัดทำให้เป็น 1 ย่อหน้า โดยใช้แบบอักษร Time New Roman 12 สรุปการเขียนบทคัดย่อให้กะทัดรัดและได้ใจความ ไม่เกิน 300คำ และคำสำคัญ ควรเลือกคำสำคัญจากชื่อบทความ ไม่ควรเกิน 5 คำ ระหว่างคำนั้น ให้เคาะวรรค 2 เคาะ  

 

คำสำคัญ:  ภาษาไทย    5 คำ

 

Abstract

                การเขียนบทคัดย่อภาษาอังกฤษ จะต้องจัดทำให้เป็น 1 ย่อหน้า โดยใช้แบบอักษร Time New Roman 12 สรุปการเขียนบทคัดย่อให้กะทัดรัดและได้ใจความ ไม่เกิน 300คำ  และ Keyword ควรเลือกคำสำคัญจากชื่อบทความ ไม่ควรเกิน 5 คำ ระหว่างคำนั้น ให้ใช้เครื่องหมาย “,” ระหว่างคำ  

 

Keywords:  English 5 คำ

 

  1. บทนำ

ให้ใช้แบบอักษร Time New Roman 12 ตัวบาง การเขียนบทนำในวารสารนั้น เทียบกับรายงานฉบับสมบูรณ์ คือ บทที่ 1 เป็นการนำบทที่ 1 มาสรุปให้ได้ใจความ เพราะเป็นส่วนของความสำคัญและมูลเหตุที่นำไปสู่การวิจัย พร้อมวัตถุประสงค์ และการสำรวจเอกสารที่เกี่ยวข้อง (เทียบกับรายงานฉบับสมบูรณ์ คือ บทที่ 2) ใช้แบบอักษร Time New Roman 12

1.1 หัวข้อย่อย

หากมีหัวข้อย่อยให้ใช้แบบอักษร Time New Roman 12 หนา ในหัวข้อย่อย ส่วนเนื้อหาให้ใช้ ฟอร์นขนาด 12 และหากมีข้อย่อยลงมาอีกให้ใช้ ฟอร์นขนาด 12 หนา   

 

  1. วิธีการทดลองหรือวิธีการศึกษา

ให้ใช้แบบอักษร Time New Roman 12 ตัวบาง การเขียนวิธีการทดลองหรือวิธีการศึกษาหรือวิธีการดำเนินการวิจัยในวารสารนั้น เทียบกับรายงานฉบับสมบูรณ์ คือ บทที่ 3 เป็นการนำบทที่ 3 มาสรุปให้ได้ใจความ เพราะเป็นการอธิบายวิธีการดำเนินการวิจัยซึ่งขึ้นอยู่กับการวิจัยแต่และประเภท

 

  1. ผลการศึกษาหรือผลการทดลอง

ให้ใช้แบบอักษร Time New Roman 12 ตัวบาง การเขียนผลการศึกษาหรือผลการทดลองและอภิปรายผลหรือผลการวิจัยและอภิปราย ในวารสารนั้น เทียบกับรายงานฉบับสมบูรณ์ คือ บทที่ 4 ซึ่งควรเสนอผลอย่างชัดเจน ตรงประเด็น เป็นผลที่ค้นพบ โดยลำดับตามหัวข้อที่ศึกษา พร้อมการอภิปรายผล หากผลการทดลองเป็นตาราง ให้อภิปรายตารางนั้นด้วย

 

  1. สรุปผลและวิจารณ์ผล

ให้ใช้แบบอักษร Time New Roman 12 ตัวบาง การเขียนสรุปในวารสารนั้น เทียบกับรายงานฉบับสมบูรณ์ คือ บทที่ 5 เป็นการสรุปสาระสำคัญและวิจารณ์ผลที่ได้จากการศึกษา

 

  1. เอกสารอ้างอิง

ให้ใช้แบบอักษร Time New Roman 12 ตัวบาง การเขียนเอกสารอ้างอิง ต้องใช้ตามแบบที่วารสารวิจัย สาธารณสุขและสังคมวิทยา กำหนดอย่างเคร่งครัด และเขียนเอกสารอ้างอิง เฉพาะเอกสารที่นำมาอ้างอิงในเนื้อหาเท่านั้น และควรเรียงจากตัวอักษรไทย ก-ฮ และ ตัวอักษร A -Z เช่น

 

ตัวอย่างการอ้างอิงที่อยู่ในเนื้อหา

ใช้ระบบนาม- ปี เช่น * ศิริชัย (2565) หรือ (ศิริชัย, 2565)  หรือ Dan and Hamasaki, 2011 หรือ เทพบุตร และ วุฒิชัย, 2552 หรือ Dan et al., 2010 หรือ สุภาพ และคณะ, 2547 เป็นต้น

 

ตัวอย่างการอ้างอิงท้ายวารสาร

(ศิริชัย จันพุ่ม et al., 2022) (Thanatporn Bantaojai and Sirichai Junphum, 2022, Sirichai Junphum, 2021a, b, c)

Junphum, Sirichai. 2021a. "Inequalities with Participation of Colorectal Cancer (P-Crc) Screening: A Systematic Review." International Journal of Innovative Science and Research Technology (IJISRT), 6(9), 37-47.

 

____. 2021b. "Inequalities with Participation of Colorectal Cancer (P-Crc) Screening: A Systematic Review." International Journal of Innovative Science and Research Technology, 6(9), 37-47.

 

____. 2021c. "Participation of Colorectal Cancer (Crc) Screening: A Systematic Review of the Association among Socio-Economic Inequalities, Physical Activities, Dietary Patterns and Familiar History of Cancer in Rural-Urban Areas." International Journal of Innovative Science and Research Technology, 6(5), 379-91.

จันพุ่ม, ศิริชัย; ประกฤตติยา ทักษิโน และ ธนัชพร บรรเทาใจ. 2022. "การประยุกต์ใช้โมเดลสมการเชิงโครงสร้างพหุระดับในงานสำรวจทางสาธารณสุข." วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์, 17(1), 01.

2.หลักเกณฑ์การประเมินบทความเพื่อตอบรับการตีพิมพ์

กองบรรณาธิการ ได้พิจารณาบทความเบื้องต้น โดยผ่านผู้ช่วยบรรณาธิการจำนวน 3 ท่านขึ้นไป เกี่ยวกับความถูกต้อง ความชัดเจน มีคุณภาพ ตามรูปแบบทั่วไปของวารสารสาธารณสุขสังคมวิทยา (ซึ่งต้องผ่านจริยธรรมในมนุษย์หรือได้รับการยกเว้นในบางสาขา และการตรวจคัดลอกผลงานไม่เกิน 30% โดยระบบสากลTurnitin) ถ้าไม่ผ่านการพิจารณา ให้ส่งกลับไปแก้ไข ถ้าหากผ่าน จะเข้าสู่การพิจารณาของผู้ทรงคุณวุฒิประเมินจากภายนอก เมื่อผลการประเมินผ่าน หรือไม่ผ่านหรือมีการแก้ไขจะแจ้งผลให้ผู้แต่งทราบ เมื่อบทความที่ได้รับการตีพิมพ์ผู้เขียนจะได้รับวารสารสาธารณสุขสังคมวิทยา ฉบับที่นําบทความ ลงตีพิมพ์ผลงาน จำนวน 1 ฉบับ พร้อมหนังสือรับรองการตีพิมพ์บทความ ขั้นตอนการจัดทำวารสารสาธารณสุขและสังคมวิทยา เริ่มต้น ประกาศรับสมัครต้นฉบับ รับบทความต้นฉบับ กอง บก .ตรวจรูปแบบทั่วไป รับบทความต้นฉบับ ส่งผู้ทรงคุณวุฒิ ไม่ผ่าน ผู้ทรงคุณวุฒิพิจารณาอ่านบทความ กองบรรณาธิการแจ้งยืนยันการรับบทความ จัดพิมพ์เผยแพร่ และจบขั้นตอนการตีพิมพ์

นโยบายส่วนบุคคล

ชื่อและที่อยู่อีเมล หรือข้อมูลส่วนบุคคล ที่กรอกในเว็บไซต์วารสารนี้จะใช้สำหรับวัตถุประสงค์ที่ระบุไว้ในงานวารสารเท่านั้นและจะไม่เปิดเผยเพื่อวัตถุประสงค์ในกิจกรรมอื่น ๆ หรือให้กับบุคคลหรือหน่วยงานอื่นใดทราบ