จริยธรรมการตีพิมพ์

                                  จริยธรรมในการตีพิมพ์บทความ (Publication Ethics)
   วารสารสาธารณสุขและสังคมวิทยา (JOURNAL OF PUBLIC HEALTH AND SOCIOLOGY: JPHS)

         วารสารสาธารณสุขและสังคมวิทยา (JOURNAL OF PUBLIC HEALTH AND SOCIOLOGY: JPHS) เป็นวารสารระดับชาติ ซึ่งมีวัตถุประสงค์ เพื่อเผยแพร่และถ่ายทอดบทความวิจัย บทความวิชาการ บทความปริทัศน์ บทบรรณาธิการ บทความรับเชิญ และการรายงานฉบับสมบูรณ์ และผลงานวิชาการสหวิชาชีพด้านสาธารณสุขศาสตร์ พยาบาลศาสตร์ มนุษยศาสตร์ สังคมวิทยา ศิลปศาสตร์ ศึกษาศาสตร์ ครุศาสตร์ สิ่งแวดล้อมศึกษา และด้านอื่นๆ ทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย โดยกำหนดเผยแพร่วารสาร ปีละ 4 ครั้ง (เดือนตุลาคม- ธันวาคม, มกราคม – มีนาคม, เมษายน- มิถุนายน และ กรกฎาคม - กันยายน) มีกระบวนการทำงานที่มีความเกี่ยวโยงอย่างเป็นระบบของ ผู้แต่ง (Author)หรือ ทีมผู้แต่ง (Author Team) บรรณาธิการ ผู้ประเมินและฝ่ายประสานงานและจัดการ เพื่อให้นักวิจัย นักวิชาการ นิสิต นักศึกษา ตลอดจนบุคคล ทั่วไปที่สนใจ ได้เผยแพร่งานวิชาการเป็นไปอย่างถูกต้อง มีคุณภาพ โปร่งใส สามารถตรวจสอบได้ตามหลักธรรมาภิบาล เป็นหลักประกันคุณภาพผลงานวิชาการที่เผยแพร่ออกสู่สาธารณชนได้อย่างชัดเจน สอดคล้องกับมาตรฐานวิชาการในระดับ นานาชาติและเป็นการรักษามาตรฐานทางจริยธรรมในการตีพิมพ์เผยแพร่
         ดังนั้น กองบรรณาธิการวารสารสาธารณสุขและสังคมวิทยา (JOURNAL OF PUBLIC HEALTH AND SOCIOLOGY: JPHS) จึงกำหนดแนวทาง วิธีปฏิบัติที่ดี รวมถึงจริยธรรม ของการเผยแพร่ผลงานวิชาการไว้สำหรับเป็นแนวทางการดำเนินงานของวารสารและผู้เกี่ยวข้อง โดยกำหนดบทบาทหน้าที่ สำหรับบุคคล 3 กลุ่ม ที่อยู่ในวงจรปกติและหลักเกณฑ์ของการเผยแพร่วารสาร ได้แก่ ผู้แต่ง (Author) หรือ ทีมผู้แต่ง (Author Team) กองบรรณาธิการ วารสาร (Editor) และผู้ทรงคุณวุฒิประเมินบทความ (Peer-Reviewer) ดังต่อไปนี้


บทบาทหน้าที่ของผู้แต่ง (Duties of Authors) หรือ ทีมผู้แต่ง (Author Team)

  1. ผู้แต่ง (Author)หรือ ทีมผู้แต่ง (Author Team) ต้องรับรองว่า ผลงานของท่านหรือทีมที่เผยแพร่ เป็นผลงานใหม่ และไม่เคยตีพิมพ์เผยแพร่ที่ใดมากก่อน 
  2. ผู้แต่ง (Author)หรือ ทีมผู้แต่ง (Author Team) ต้องอ้างอิงผลงานผู้อื่น ถ้ามีการนำผลงานเหล่านั้นมาใช้ในบทความของตนเอง ผ่านการอ้างอิงและ บรรณานุกรมทุกครั้งเพื่อแสดงหลักฐานการค้นคว้า 
  3. ผู้แต่ง (Author)หรือ ทีมผู้แต่ง (Author Team) ต้องเขียนบทความให้ถูกต้องตามองค์ประกอบ รูปแบบ และหลักเกณฑ์ที่วารสารกำหนด (คำแนะนำ สำหรับผู้เขียนฯ) 
  4. ผู้แต่ง (Author)หรือ ทีมผู้แต่ง (Author Team) ต้องนำเสนอข้อเท็จจริง ที่เกิดจากการทำวิจัยหรือการค้นคว้าทางวิชาการ ด้วยความซื่อสัตย์ ยุติธรรมทางวิชาการ โดยไม่บิดเบือนข้อมูล หรือแต่งขึ้นมาใหม่ ซึ่งเป็นข้อมูลเท็จ โดยไม่คำนึงถึงผลประโยชน์ทางวิชาการ จนละเลยหรือละเมิดสิทธิส่วนบุคคลหรือสิทธิมนุษยชน 
  5. ผู้แต่ง (Author)หรือ ทีมผู้แต่ง (Author Team) ต้องไม่นำผลงานของตนเองในเรื่องเดียวกัน ไปเผยแพร่ในวารสารวิชาการมากกว่าหนึ่งฉบับ รวมถึงไม่คัดลอกข้อความใด จากผลงานของตนโดยอ้างอิงผลงานเดิมตามหลักวิชาการในลักษณะที่ทำให้เข้าใจได้ว่า เป็นผลงานใหม่ 
  6. ผู้แต่ง (Author)หรือ ทีมผู้แต่ง (Author Team) ต้องระบุแหล่งทุนที่สนับสนุนการวิจัยในบทความ กรณีที่ได้รับการสนับสนุนทุนวิจัยจากแหล่งทุน 
  7. ผู้แต่ง (Author)หรือ ทีมผู้แต่ง (Author Team) ที่มีชื่อปรากฏในบทความทุกคน ต้องมีส่วนในการวิจัย ค้นคว้า และเขียนบทความร่วมกันจริง 
  8. ผู้แต่ง (Author)หรือ ทีมผู้แต่ง (Author Team) ต้องแจ้งผลประโยชน์ทับซ้อน (Conflict of Interests) ทั้งปวง ที่มีในบทความให้แก่กองบรรณาธิการทราบ โดยตั้งแต่เริ่มต้น ไปจนถึงสิ้นสุดการตีพิมพ์บทความ 
  9. ผู้แต่ง (Author)หรือ ทีมผู้แต่ง (Author Team) ต้องยื่นหลักฐานแสดงการอนุญาตจากคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยของสถาบันที่ดำเนินการหรือ หน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง หากบทความมีการใช้ข้อมูลจากการทำวิจัยในคนหรือสัตว์ 
  10. ผู้แต่ง (Author)หรือ ทีมผู้แต่ง (Author Team) ต้องไม่แทรกแซง อันกระบวนการพิจารณาบทความ การประเมินบทความ และการดำเนินงานของวารสาร ไม่ว่าทางหนึ่งทางใด หรือทางอื่นๆโดยเด็ดขาด 
  11. หากมีบทความวารสารที่ไม่ผ่านการพิจารณา จากผู้ประเมินให้เป็นอันตกไป ไม่สามารถนำมาประเมินใหม่ หรือนำเสนอใหม่ได้อีกครั้งไม่ว่ากรณีใด ถึงแม้ว่าจะมีการแก้ไขปรับปรุงตามข้อเสนอของผู้ประเมินแล้วก็ตาม 
  12. ผู้แต่ง (Author)หรือ ทีมผู้แต่ง (Author Team) ต้องยินยอมให้วารสารสาธารณสุขและสังคมวิทยา (JOURNAL OF PUBLIC HEALTH AND SOCIOLOGY: JPHS) ทำการตรวจสอบการคัดลอกผลงานวิชาการโดย ใช้ระบบ Copy Catch หรือระบบ Turnitin อย่างใดอย่างหนึ่ง หรือทั้งสองอย่างขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของกองบรรณาธิการวารสารถือเป็นอันสิ้นสุด ทั้งนี้ผลงาน ที่มีเนื้อหาคล้ายคลึงกัน สามารถยอมรับได้ต้องไม่เกินร้อยละ 20% และ30% ของผลงานทั้งหมด ถึงจะนำเข้าสู่กระบวนการพิจารณาตีพิมพ์บทความ 
  13. ผู้แต่ง (Author)หรือ ทีมผู้แต่ง (Author Team) ต้องยินยอม และรับผิดชอบต่อเงื่อนไขและข้อความทั้งปวงที่ทำการตีพิมพ์ในบทความ

บทบาทและหน้าที่ของกองบรรณาธิการ (Editors)

  1. กองบรรณาธิการมีหน้าที่พิจารณากลั่นกรองคุณภาพของบทความเพื่อเผยแพร่ในวารสารที่รับผิดชอบ 
  2. กองบรรณาธิการต้องไม่เปิดเผยข้อมูลของผู้แต่งหรือทีมผู้แต่งบทความและผู้ทรงคุณวุฒิประเมินบทความ ให้แก่บุคคลอื่นที่ไม่เกี่ยวข้องในช่วงระยะเวลาของการประเมินบทความ 
  3. กองบรรณาธิการมีหน้าที่เผยแพร่บทความในวารสารให้เป็นไปตามรูปแบบ องค์ประกอบ และหลักเกณฑ์ที่วารสารกำหนด 
  4. กองบรรณาธิการต้องตัดสินใจคัดเลือกบทความมาตีพิมพ์ หลังจากผ่านกระบวนการประเมินบทความเสร็จเรียบร้อย โดยพิจารณาจากความสำคัญ ความใหม่ ความชัดเจน และความสอดคล้องของเนื้อหากับนโยบายของวารสารเป็นสำคัญ 
  5. กองบรรณาธิการต้องไม่เผยแพร่บทความที่เคยตีพิมพ์เผยแพร่แล้ว 
  6. กองบรรณาธิการต้องไม่เผยแพร่บทความของตนเองในวารสารที่รับผิดชอบขณะเป็นบรรณาธิการ 
  7. กองบรรณาธิการต้องไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อนกับผู้แต่ง (Author)หรือ ทีมผู้แต่ง(Author Team)ผู้ทรงคุณวุฒิประเมิน และทีมผู้บริหาร 
  8. กองบรรณาธิการต้องมีหน้าที่กำกับดูแลไม่ให้เกิดการแทรกแซงกระบวนการพิจารณาบทความ การประเมินบทความและการดำเนินงานของวารสารไม่ว่าทางหนึ่งทางใด 
  9. กองบรรณาธิการต้องมีการตรวจสอบบทความในด้านการคัดลอกผลงานผู้อื่น (Plagiarism) อย่างจริงจัง โดยใช้โปรแกรมที่เชื่อถือได้ เพื่อให้แน่ใจว่าบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารไม่มีการคัดลอกผลงานของผู้อื่น 
  10. หากตรวจพบการคัดลอกผลงานของผู้อื่นในกระบวนการประเมินบทความ กองบรรณาธิการต้องหยุดกระบวนการประเมิน และติดต่อผู้แต่งหลักทันที เพื่อขอคำชี้แจง เพื่อประกอบการ “ตอบรับ” หรือ “ปฏิเสธ” การตีพิมพ์บทความนั้นๆ

บทบาทและหน้าที่ของผู้ทรงคุณวุฒิประเมินบทความ (Duties of Reviewers)

  1. ผู้ทรงคุณวุฒิประเมินบทความต้องรักษาความลับและไม่เปิดเผยข้อมูลบางส่วนหรือทุกส่วนของบทความที่ส่งมาเพื่อพิจารณาแก่บุคคลอื่น ๆ ที่ไม่เกี่ยวข้อง ในช่วงระยะเวลาของการประเมินบทความ (Confidentiality) 
  2. ผู้ทรงคุณวุฒิประเมินบทความต้องแจ้งให้บรรณาธิการวารสารทราบและปฏิเสธการประเมินบทความ หากพบว่า มีผลประโยชน์ทับซ้อน (Conflict of Interest) กับผู้แต่งหรือทีมผู้แต่งบทความที่ตนเป็นผู้ทรงคุณวุฒิประเมิน เช่น เป็นผู้ร่วมโครงการ ที่ปรึกษา หรือเหตุผลอื่นที่ไม่อาจให้ข้อคิดเห็น หรือข้อเสนอแนะอย่างอิสระได้ 
  3. ผู้ทรงคุณวุฒิประเมินบทความควรประเมินบทความในสาขาวิชาหรือเรื่องที่ตนเชี่ยวชาญ โดยพิจารณาความสำคัญของเนื้อหา ในบทความต่อสาขาวิชา หรือเรื่องที่ตนเป็นผู้ทรงคุณวุฒิประเมิน รวมถึงคุณภาพของการวิเคราะห์และความเข้มข้นของผลงาน ไม่ควรใช้ความคิดเห็นส่วนตัว ที่ไม่มีข้อมูลรองรับมาเป็นเกณฑ์ในการตัดสินบทความ 
  4. ผู้ทรงคุณวุฒิประเมินบทความต้องประเมินบทความตามหลักเกณฑ์ที่วารสารกำหนดภายใต้หลักวิชาการ ปราศจากอคติประเมินบทความตามข้อเท็จจริง ไม่จงใจเบี่ยงเบนผลการประเมิน และไม่ถือความคิดเห็นส่วนตนที่ไม่มีข้อมูลมารองรับอย่างเพียงพอ เป็นเกณฑ์ในการตัดสินผลการประเมินบทความ 
  5. ผู้ทรงคุณวุฒิประเมินบทความต้องประเมินและวิจารณ์เนื้อหาเชิงวิชาการและให้ข้อคิดเห็นเชิงวิชาการที่เป็นประโยชน์ต่อผู้แต่งหรือทีมผู้แต่ง ในเชิงรายละเอียด เพื่อการปรับปรุงแก้ไขบทความโดยคำนึงถึงความก้าวหน้าทางวิชาการเป็นสำคัญ 
  6. ผู้ทรงคุณวุฒิประเมินบทความต้องระบุผลงานวิจัย หรือผลงานวิชาการที่สำคัญ ๆ และสอดคล้องกับบทความที่กำลังประเมิน แต่ผู้แต่งหรือทีมผู้แต่ง ไม่ได้เข้าไปในการประเมินบทความด้วย ซึ่งเป็นเหตุแห่งผลประโยชน์ทับซ้อน (Conflict of Interest) นอกจากนี้ หากมีส่วนใดของบทความที่มีความเหมือน หรือซ้ำซ้อนกับผลงานชิ้นอื่น ๆ ผู้ทรงคุณวุฒิประเมินบทความต้องแจ้งให้กองบรรณาธิการทราบทันที 
  7. ผู้ทรงคุณวุฒิประเมินบทความต้องไม่แทรกแซงกระบวนการพิจารณาบทความ การประเมินบทความและการดำเนินงานของวารสาร ไม่ว่าทางหนึ่งทางใดมิได้ 
  8. หากผู้ทรงคุณวุฒิประเมินบทความ ไม่อ่านบทความตามระยะเวลาที่วารสารกำหนด ถือว่าสละสิทธิ์ และต้องยอมรับผลการประเมินบทความจากผู้ทรงคุณวุฒิส่วนใหญ่ จำนวน 2 ท่าน และให้กองบรรณาธิการตัดสินใจแทน โดยให้ถือเป็นอันสิ้นสุดไม่สามารถโต้แย้งข้อพิพาทใด ๆทั้งปวง

***********************************************