ความสอดคล้องของผลการประเมินความเสี่ยงท่าทางการทำงานที่ไม่เหมาะสมในร่างกาย ส่วนบนโดยใช้แบบประเมิน Strain Index และ Rapid Upper Limb Assessment ในกลุ่มผู้ประกอบอาชีพเย็บผ้า

ผู้แต่ง

  • เสาวลักษณ์ พันธุ์นนท์

คำสำคัญ:

การยศาสตร์, Strain Index, Rapid Upper Limb Assessment, ผู้ประกอบอาชีพเย็บผ้า

บทคัดย่อ

          การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความเสี่ยงท่าทางการทำงานที่ไม่เหมาะสมตามหลักการยศาสตร์โดยใช้แบบประเมิน Strain Index และ Rapid Upper Limb Assessment และเพื่อหาความสอดคล้องของผลการประเมินความเสี่ยงท่าทางการทำงานที่ไม่เหมาะสมระหว่างแบบประเมิน Strain Index และ Rapid Upper Limb Assessment ในกลุ่มผู้ประกอบอาชีพเย็บผ้า ตำบลจันทิมา อำเภอลานกระบือ จังหวัดกำแพงเพชร จำนวน 30 คน โดยใช้แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป แบบประเมิน Strain Index และแบบประเมิน Rapid Upper Limb Assessment ประเมินความสอดคล้องโดยใช้สถิติ Weight Kappa Statistics กำหนดนัยสำคัญที่ระดับ 0.05 ผลการประเมินความเสี่ยงโดยใช้แบบประเมิน Strain Index พบว่า ส่วนใหญ่ระดับความเสี่ยงของมือข้างซ้ายอยู่ในระดับที่เป็นอันตราย ร้อยละ 66.7 และส่วนใหญ่มือข้างขวาอยู่ในระดับความเสี่ยงที่ควรตรวจสอบ ร้อยละ 33.3 ผลการประเมินโดยใช้แบบประเมิน Rapid Upper Body Assessment พบว่าส่วนใหญ่ร้อยละ 63.3 อยู่ในระดับที่เป็นความเสี่ยงที่ควรแก้ไขในทันที และความสอดคล้องของผลการประเมินความเสี่ยงท่าทางการทำงานที่ไม่เหมาะสมโดยใช้แบบประเมิน Strain Index และ Rapid Upper Body Assessment พบว่า ผลการประเมินความเสี่ยงของมือข้างซ้ายมีค่าความสอดคล้องอยู่ในระดับที่พอใช้ (weight kappa = 0.25) และผลการประเมินความเสี่ยงมือข้างขวามีค่าความสอดคล้องอยู่ในระดับน้อย (weight kappa = 0.10) ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่าถึงแม้ผลการศึกษาความสอดคล้องระหว่างเครื่องมือทั้งสองชนิดจะมีนัยสำคัญทางสถิติ แต่ยังอยู่ในระดับต่ำ ดังนั้นไม่มีความเป็นไปได้ที่จะเลือกใช้วิธีการใดวิธีการหนึ่งไปใช้ในการประเมินความเสี่ยงทางด้านการยศาสตร์ได้

References

Health and Safety Executive. Work Related Musculoskeletal Disorder Statistics (WRMSDs) in Great Britain 2014/15, 2015. Available at http://www.hse.gov.uk/statistics/causdis/musculoskeletal/msd.pdf, accessed march 18, 2016

สำนักโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. โรคและภัยสุขภาพจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม, 2557. Available at http://envocc.ddc.moph.go.th/uploads/situation/01_envocc_situation_57.pdf,accessed march 18, 2016.

NIOSH. Musculoskeletal Disorders and Workplace Factors, 1997.Available at https://www.cdc.gov/niosh/docs/97-141/pdfs/97-141.pdf,accessed march 19, 2016.

จีรนันท์ ธีระธารินพงศ์ และวีระพร ศุทธาภรณ์. ความชุกของกลุ่มอาการผิดปกติทางระบบโครงร่างกล้ามเนื้อและปัจจัยด้านท่าทางการทำงานในกลุ่มอาชีพสานตะกร้าไม้ไผ่. วารสารสาธารณสุขศาสตร์2557;44(3): 273-287.

ธยา ภิรมย์ และพันธ์ยศ วรเชฐวราวัตร์. การประชุมวิชาการข่ายงานวิศวกรรมอุตสาหการ, เพชรบุรี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย, 2555. Available at. http://www.dms.eng.su.ac.th/filebox/FileData/WPS030.pdf, accessed march 30, 2016.

Drinkaus P. Comparison of ergonomic risk assessment outputs from Rapid Upper Limb Assessment and the Strain Index for tasks in automotive assembly plants. Work 2003;21(2): 165-172.

สุนิสา ชายเกลี้ยง และธัญญาวัฒน์ หอมสมบัติ. การประเมินความเสี่ยงทางการยศาสตร์การทำงานโดยมาตรฐาน RULA ในกลุ่มแรงงานทำไม้กวาดร่มสุข. ศรีนครินทร์เวชสาร 2554;26(1): 35-40.

Öztürk N, & Esin MN. Investigation of musculoskeletal symptoms and ergonomic risk factors among female sewing machine operators in Turkey. International Journal of Industrial Ergonomics 2011;41(6): 585-591.

Drinkaus P. Comparison of ergonomic risk assessment outputs from Rapid Upper Limb Assessment and the Strain Index for tasks in automotive assembly plants. Work 2003;21(2): 165-172.

Nadri HM, Fasih F, MS, Nadri F, MS, Nadri A, BS. Comparison of ergonomic risk assessment results from Quick Exposure Check and Rapid Entire Body Assessment in an anodizing industry of Tehran, Iran. Occupational Health and Epidemiology 2015;2(4): 19

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-02-16