การศึกษาเปรียบเทียบระดับเสียงในหูใต้ครอบหูลดเสียงขณะปฏิบัติงานปั๊มโลหะ ของพนักงานโรงงานผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ กับค่าที่คำนวณด้วยวิธีการที่เสนอแนะโดย NIOSH

ผู้แต่ง

  • สายฝน ผุดผ่อง

คำสำคัญ:

ครอบหูลดเสียง, การรับสัมผัสเสียง, ค่าการลดทอนเสียง

บทคัดย่อ

          การเลือกอุปกรณ์ปกป้องการได้ยินเพื่อลดการสัมผัสเสียงดังในหูของผู้ปฏิบัติงานควรพิจารณาจาก ค่า NRR ที่ผู้ผลิตระบุไว้บนบรรจุภัณฑ์ของอุปกรณ์ปกป้องการได้ยิน ซึ่งมีวิธีการคำนวณเพื่อประมาณค่าดังกล่าวหลายวิธี การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบค่าระดับเสียงในหูที่วัดได้ใต้การใส่ครอบหู ลดเสียงกับค่าที่คำนวณได้ด้วยวิธีการที่เสนอแนะโดย NIOSH โดยทำการศึกษาครอบหูลดเสียง 4 ชนิดที่มีค่าการลดทอนเสียงที่แตกต่างกันในพื้นที่การผลิตที่มีเสียงดังของโรงงานผลิตชิ้นส่วนยานยนต์แห่งหนึ่ง ทำการวัดระดับความดังของเสียงในหูใต้ครอบหูลดเสียงด้วยเครื่องวัดเสียงสองเครื่อง เครื่องหนึ่งวัดระดับเสียงนอกหู ของผู้ปฏิบัติงาน และอีกเครื่องหนึ่งวัดระดับเสียงในหูของผู้ปฏิบัติงานใต้การใส่ครอบหูลดเสียง เปรียบเทียบระหว่างค่าระดับเสียงในหูที่วัดได้จริง และค่าที่ได้จากการคำนวณ โดยการปรับลดค่า NRR ตามที่เสนอแนะโดย NIOSH พบว่า ระดับความดังของเสียงในหูที่วัดได้จริงมีค่าน้อยกว่าค่าที่ได้จากการคำนวณตามวิธีที่เสนอแนะโดย NIOSH อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P < 0.001) นั่นคือ ครอบหูลดเสียงชนิดที่ 1 2 3 และ 4 สามารถลดเสียงได้เฉลี่ย 16.57, 19.68, 20.21 และ 22.45 dBA ตามลำดับ ซึ่งมากกว่าค่าการลดเสียง ที่คำนวณด้วยวิธีที่เสนอแนะโดย NIOSH ซึ่งเท่ากับ 8.75, 11.75, 13.25 และ 15.5 dBA ตามลำดับ

References

กระทรวงแรงงาน. มาตรฐานการวินิจฉัยโรคจากการทำงาน ฉบับเฉลิมพระเกียรติ เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 80 พรรษา 5 ธันวาคม 2550. เข้าถึงได้จาก: http://www.summacheeva.org/documents/share_56_diag.pdf, เข้าถึงเมื่อ 15 เมษายน 2559

กระทรวงแรงงาน. กำหนดมาตรฐานในการบริหารจัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับความร้อน แสงสว่าง และเสียง พ.ศ. 2549. ในกฎกระทรวงแรงงาน. กระทรวงแรงงาน. 2549.

กระทรวงอุตสาหกรรม. กำหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม ข้อแนะนำในการเลือก การใช้ การดูแล และการบำรุงรักษาอุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล เล่ม 1 อุปกรณ์ปกป้องการได้ยิน. ในประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 4456. กระทรวงอุตสาหกรรม. 2555. เข้าถึงได้จาก: http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2555/E/185/4.PDF, เข้าถึงเมื่อ 16 เมษายน 2559

Berger E. H. E•A•RLOG16 A New Hearing Protection Attenuation Standard - ANSI S12.6. [cited on 2015 July 16]. Available from: http://aearo.com/pdf/hearingcons/earlog16.pdf

รศ.ดร.วันทนี พันธุ์ประสิทธิ์. สุขศาสตร์อุตสาหกรรม กลยุทธ์ประเมิน ควบคุม และจัดการ. มหาวิทยาลัยมหิดล. 2557.

Berger E. H. HPD Labeling: EPA Rulemaking and an Updated ANSI S12.42.เข้าถึงได้จากhttp://c.ymcdn.com/sites/www.hearingconservation.org/resource/resmgr/imported/S6%20-%20Berger%20T09-22%20NHCA%20-%20EPA%20%26%20S12.42.ppt, เข้าถึงเมื่อ 16 กรกฎาคม 2559

National Institute for Occupational Safety and Health. Method for Calculating and Using the Noise Reduction Rating–NRR. [cited on 2015 May 15]. Available from: http://www.cdc.gov/niosh/z-draft -under-review-donot-cite/hpdcompdev/pdfs

Pedro M Arezes & Joel Geraldes. Assessing Differences in Methodologies for Effective Noise Exposure Calculation. International Journal of Occupational Safety and Ergonomics (JOSE) Vol.15, No.2 183-191. 2009.

วุฒิชัย สรรพวุธ.การศึกษาเปรียบเทียบระดับเสียงในหูเมื่อ สวมใส่ปลั๊กอุดหูลดเสียงจากการตรวจวัดและคำนวณด้วยสูตรที่เสนอแนะโดย NIOSH. 2557

John R. Franks, William J. Murphy , Jennifer L. Johnson, and Dave A. Harris. Four Earplugs in Search of a Rating System. Ear & Hearing 2000.

Ewa Kotabinska. Measurement of Effective Noise Exposure of Worker Wearing Ear-Muffs. International Journal of Occupational Safety and Ergonomic. Volume 15.No.2, 193-2.2009

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-02-16