ดัชนีชี้วัดการตอบสนองของร่างกายต่อความร้อนที่เหมาะสม สำหรับคนงานในโรงงานหล่อหลอมโลหะ

ผู้แต่ง

  • สุมิตรา ดอกเข็ม
  • วันทนี พันธุ์ประสิทธิ์

คำสำคัญ:

การตอบสนองของร่างกายต่อความร้อน, การเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิแกนทางช่องหู, การวัดการเปลี่ยนแปลงอัตราการเต้นของหัวใจขณะทำงานและเมื่อฟื้นตัว

บทคัดย่อ

          การศึกษาภาคตัดขวางในโรงงานหล่อหลอมโลหะเพื่อศึกษาการตอบสนองของร่างกายต่อความร้อน (heat strain) ของผู้ปฏิบัติงานในกระบวนการผลิตที่ร้อน เมื่อทำงาน (Work load) เบา ปานกลาง และหนัก เพื่อระบุตัวชี้วัดการตอบสนองต่อความร้อนของร่างกายซึ่งสัมพันธ์กับสภาพแวดล้อม (WBGT) และภาระงานมากที่สุด โดยการวัดอุณหภูมิแกนทางช่องหู อัตราการเต้นของหัวใจขณะทำงาน และอัตราการเต้นของหัวใจเมื่อฟื้นตัวด้วยPersonal Heat Stress Monitor รุ่น 3 MTM QUESTEMP oII และPolar A300 Heart Rate Monitor Watchตามลำดับ ในขณะเดียวกันตรวจวัดอุณหภูมิ WBGT ด้วย3M QUEST emp 34°C - WBGT Model Serial Number TPI050069. และประมาณอัตราการเผาผลาญอาหารของผ้ปู ฏิบัติงานขณะทำงานต่อเนื่อง 2 ชั่วโมงตามแนวทางของคณะกรรมการบริหารงานความปลอดภัยและสุขภาพอนามัย การประกอบอาชีพ (OSHA) ประเทศสหรัฐอเมริกาผู้เข้าร่วมวิจัย 58 คน เป็นผู้ปฏิบัติงานเพศชายที่สมัครใจเข้าร่วมและทำงานในกระบวนการผลิตที่มีแหล่งความร้อน แบ่งเป็นผู้ที่ทำงานเบา 19 คน งานปานกลาง 25 คน และงานหนัก 14 คน ผลการศึกษาพบว่า มีเพียงอุณหภูมิแกนของร่างกายเท่านั้นที่สัมพันธ์กับภาระงาน และอุณหภูมิ WBGT อย่างมีนัยสำคัญ (P < 0.05) และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน (r) มีค่าเท่ากับ 0.282 และ 0.379 ตามลำดับ นั่นคืออุณหภูมิแกนซึ่งวัดทางช่องหูเป็นตัวชี้วัดการตอบสนองต่อความร้อนของร่างกายได้ดีกว่าตัวชี้วัดอื่นในการศึกษานี้ และมีสมการความถดถอยเชิงเส้นดังนี้ อุณหภูมิแกนของร่างกาย =30.971+0.188 (WBGT) + 0.003 (ภาระงาน); R2= 0.312 และ P-value < 0.05

References

กระทรวงแรงงาน.กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับความร้อนแสงสว่างและเสียง พ.ศ.

, 2549.

กรมสวัสดิการและคุ้มคครองแรงงาน. แนวปฏิบัติตามกฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับความร้อนแสงสว่างและเสียง พ.ศ. 2549 เรื่องการตรวจวัดสภาพความร้อน, 2549.

วันทนี พันธุ์ประสิทธิ์. สุขศาสตร์อุตสาหกรรม กลยุทธ์ประเมิน ควบคุมและจัดการ.กรุงเทพฯ :เบสท์ กราฟฟิค เพรสจำกัด; 2557.

ปณภัฏ เอื้อวิทยา. อุณหภูมิกาย.ใน:วัฒนา วัฒนาภา, สุพัตรา โล่ห์สิริวัฒน์, สุพรพิมพ์ เจียสกุล, บรรณาธิการ.สรีรวิทยา 1. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ : ภาควิชาสรีรวิทยา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล; 2557. หน้า 11-26.

คณาจารย์ภาควิชาสรีรวิทยา.สรีรวิทยา.ภาควิชาสรีรวิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ:เท็กแอนด์เจอร์นัล พับลิเคชั่น;2545.

American Conference of Government Industrial Hygienist. Heat stress and heat strain. Cincinnati, Ohio (USA): ACGIH; 2007.

U.S. Department of Labor, Occupational Safety & Health Administration, OSHA Technical Manual-SECTION III. [Online].2015. [cited 2015,June10] AvailableFrom https://www.osha.gov/dts/osta/otm/otm_iii/otm_iii_4.html

Occupational Safety & Health Administration. Using the Heat Index: A Guide for Employers Monitoring Workers at Risk of Heat-related Illness.[Internet][cited2015,June10]. Available From:https://www.osha.gov/SLTC/heatillness/heat_index/pdfs/monitoring_workers.pdf

QUESTemp° Personal Heat Stress Monitor User Manual.Available From: https://multimedia. 3m.com/mws/media/760836O/3m-questemp-ii-heat-stress-monitor-user-manual.pdf

Heat Stress Instrumentation.Available From: https://osha.gov/dts/osta/otm/otm_ii/pdfs/otmii_chpt3_heatstress.pdf

POLAR A300 Heart Rate Monitor User Manual. AvailableFromhttps://polar.com/e_manuals/A300/Polar_A300_user_manual_English/manual.pdf

Anita Holdcroft. Body Temperature Control. London: Cassell; 1980.

Ann M. Krake. Extremes of Temperature. In: Barry S. Levy , David H. Wegman , Sherry L.Baron , Rosemary K. Sokas, editors. Occupational and Environmental Health Recognizing and Preventing Disease and Injury. 6thed. New York: Oxford University Press; 2011. p 227-257.

Veronica Miller, Graham Bates, John D. Schneider and Jens Thomsen : Self-Pacing as a protective Mechanism against the effects of heat stress. Ann. Occup. Hyg., pp. 1-8 (2011)

A Study of heat stress exposures and interventions for mine rescue worker. Available From: https://www.cdc.gov/niosh/mining/UserFiles/works/pdfs/asohs.pdf

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-02-17