ความสัมพันธ์ของอุณหภูมิกระเปาะแห้งและระดับความร้อน การประเมินความเสี่ยงต่อการสัมผัสของ ความร้อน ในเกษตรกรทำงานกลางแจ้ง
คำสำคัญ:
อุณหภูมิกระเปาะแห้ง, ความร้อน, การประเมินความเสี่ยง, เกษตรกรบทคัดย่อ
เกษตรกรต้องสัมผัสกับแสงแดดโดยตรงอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ทำให้มีเสี่ยงต่อสุขภาพจากการสัมผัสความร้อน ค่าความร้อนนั้นต้องใช้เครื่องมือตรวจวัดความร้อนด้วยอุณหภูมิเวตบัลบ์โกลบ (WBGT) ที่มีราคาสูงและมีข้อจำกัดในการใช้งาน การศึกษาในครั้งนี้ เป็นการศึกษาเชิงวิเคราะห์แบบภาคตัดขวาง มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินความสัมพันธ์ระหว่างอุณหภูมิของสภาพอากาศและความร้อนในพื้นที่เกษตรกรรมภาคตะวันออกเฉียงเหนือจากการสุ่มพื้นที่เพื่อเก็บตัวอย่าง ทั้งหมด 8 พื้นที่ 2 ช่วงเวลา คือ ธันวาคม พ.ศ.2563 – มกราคม พ.ศ.2564 และระหว่าง ธันวาคม พ.ศ. 2564 – เมษายน พ.ศ. 2565 ตรวจวัดระดับความร้อน ด้วยอุณหภูมิเวตบัลบ์โกลบ (WBGT) ในพื้นที่เพาะปลูกพืชทางการเกษตร ผลการศึกษาพบว่าส่วนใหญ่คือพื้นที่ปลูกข้าว อ้อย และมันสำปะหลัง มีอุณหภูมิเวตบัลบ์โกลบอยู่ระหว่าง 24.54 - 31.74 องศาเซลเซียส และอุณหภูมิกระเปาะแห้งอยู่ระหว่าง 26.56 – 40.80 องศาเซลเซียส ลักษณะกิจกรรมการเพาะปลูกส่วนใหญ่ จัดอยู่ในกลุ่มภาระงานหนัก (> 350 กิโลแคลอรี/ชั่วโมง ความเร็วลมเฉลี่ยอยู่ที่ 0.25 – 6.79 เมตร/วินาที ความชื้นสัมพัทธ์ 31.60% – 80.00% ผลอุณหภูมิกระเปาะแห้งกับอุณหภูมิเวตบัลบ์โกลบ มีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยมีค่าความสัมพันธ์เชิงเส้นกันในทางบวก r > 0.80 ผลการประเมินโอกาสสัมผัสความร้อนจากเมตริกระดับภาระงานจากกิจกรรมเพาะปลูก กับระดับอุณหภูมิกระเปาะแห้งเปรียบเทียบกับการใช้ค่าอุณหภูมิเวตบัลบ์โกลบ พบว่า โอกาสสัมผัสความร้อนจากการใช้อุณหภูมิกระเปาะแห้ง กับโอกาสสัมผัสความร้อนจากอุณหภูมิเวตบัลบ์โกลบสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r > 0.90) ที่ส่วนใหญ่อยู่ในระดับสูง ถึง ระดับสูงมาก ดังนั้นอุณหภูมิกระเปาะแห้งที่สังเกตได้จากข้อมูลอุณหภูมิสภาพอากาศเป็นอีกทางเลือกที่เกษตรกรในพื้นที่สามารถนำมาใช้แทนอุณหภูมิเวตบัลบ์โกลบที่ต้องใช้ผลการตรวจวัด ผลการค้นพบจึงเสนอแนะว่าการประเมินความเสี่ยงต่อการเจ็บป่วยจากความร้อนของเกษตรกรสามารถใช้อุณภูมิสภาพอากาศในการประเมินเพื่อการวางแผนป้องกันหรือลดโอกาสสัมผัสกับความร้อนและการเจ็บป่วยจากความร้อนในระยะยาวได้ต่อไป
References
BBC news. What is climate change? A really simple guide. Retrieved 2021. Available from https://www.bbc.com/news/science-environment-24021772
Allen MROP, Dube W, Solecki F, Aragón-Durand W, Cramer S. Humphreys et al. Framing and Context. In: Global warming of 1.5°C. An IPCC special report on the impacts of global warming of 1.5°C above pre-industrial levels and related global greenhouse gas emission pathways, in the context of strengthening the global response to the threat of climate change. p49-92. Cambridge University Press, 2018. doi.10.1017/9781009157940.003.
Patz JA, Gibbs HK, Foley JA, Smith KR. Climate change and global health: Quantifying a growing ethical crisis. EcoHealth;4(4):397–405. doi:10.1007/s10393-007-0141-1.
Xiang J, Bi P, Pisaniello D, Hansen A, Sullivan T Association between high temperature and work-related injuries in Adelaide, South Australia, 2001–2010. Occup Environ Med 2014 (71), 246–52.
Health impact assessment department, Bureau of Health 2555. Project of climate change on health impact. Retrieved from https://hia.anamai.moph.go.th/web-upload/12xb1c83353535e43f224a05e184d8fd75a/m_magazine/35644/2906/file_download/9b82410c3426a9185d19ba8016f1236b.pdf
The Meteorological Department. Climate change 2019. Retrieved 2020, from http://climate.tmd.go.th/content/file/1
Group project for development information of heat index. Heat index analysis. Retrieved 2016, from http://www.rnd.tmd.go.th/heatindexanalysis/
Office of Agricultural Economics. Thailand agriculture staistics 2021. Retrieved 2023, from https://www.oae.go.th/assets/portals/1/files/jounal/2565/yearbook2564.pdf
Chaiklieng S. Agro heat illness surviellance program among cultivated farmers. Khon Kaen University, 2022, Copyright number ว.044852
The National Weather Service (NWS). (n.d.) Temperature. Retrieved from https://www.weather.gov/source/zhu/ZHU_Training_Page/definitions/dry_wet_bulb_definition/dry_wet_bulb.html
Thailand Occupationla Safety and Health promotion. Retrieved from https://www.tosh.or.th/index.php/media-relations/oshe/item/877-OSHE-magazine-15
NIOSH. Heat Safety tool. Retrieved 2022, available at https://www.cdc.gov/niosh/topics/heatstress/heatapp.html
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.