การประเมินความเสี่ยงทางการยศาสตร์และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับอาการผิดปกติ ทางระบบกล้ามเนื้อและกระดูกโครงร่างจากการทำงานของพนักงานสายสนับสนุนที่ใช้คอมพิวเตอร์ ในการทำงาน สังกัดมหาวิทยาลัยนเรศวร

ผู้แต่ง

  • แก้วตา ไกรศรีทุม

คำสำคัญ:

อาการผิดปกติของระบบกล้ามเนื้อและกระดูกโครงร่าง, การประเมินความเสี่ยงทางการยศาสตร์, พนักงานสายสนับสนุนที่ใช้คอมพิวเตอร์

บทคัดย่อ

          การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินความเสี่ยงทางการยศาสตร์และศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับอาการผิดปกติทางระบบกล้ามเนื้อและกระดูกโครงร่าง (MSDs) ของพนักงานสายสนับสนุนที่ใช้คอมพิวเตอร์ในการทำงาน สังกัดมหาวิทยาลัยนเรศวร เก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 74 คน ประกอบด้วย 2 ส่วน ได้แก่ 1) ข้อมูลส่วนบุคคล ข้อมูลการใช้งานคอมพิวเตอร์ และข้อมูลความรู้สึกไม่สบายทางระบบกล้ามเนื้อและกระดูกโครงร่างโดยใช้แบบสอบถาม และ 2) การประเมินความเสี่ยงทางการยศาสตร์ โดยวิธี Rapid Office Strain Assessment (ROSA) จากนั้นวิเคราะห์ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ โดยใช้สถิติ Eta และ Pearson Correlation

          ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 83.8 มีอายุเฉลี่ย 38.41±6.23 ปี มีจำนวนชั่วโมงการทำงานมากกว่า 6 ชั่วโมงต่อวัน ร้อยละ 91.9 มีประสบการณ์การทำงาน เฉลี่ย 16.41±5.29 ปี และมีความเสี่ยงทางการยศาสตร์อยู่ในระดับสูง ร้อยละ 90.5 นอกจากนี้คะแนนถ่วงน้ำหนักเฉลี่ยของ MSDs สูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ ไหล่ขวา (11.68±23.55) คอ (10.19±20.23) และไหล่ซ้าย (8.93±19.02) ตามลำดับ ผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์พบว่าประเภทของคอมพิวเตอร์มีความสัมพันธ์กับคะแนนถ่วงน้ำหนัก เฉลี่ยของอาการปวดหรือความรู้สึกไม่สบายบริเวณไหล่ขวา และไหล่ซ้ายอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value = 0.003 และ p-value < 0.001 ตามลำดับ) และระยะห่างจากหน้าจอมีความสัมพันธ์เชิงบวกอยู่ในระดับน้อยกับคะแนนถ่วงน้ำหนักเฉลี่ยของอาการปวดหรือความรู้สึกไม่สบายบริเวณไหล่ขวาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = 0.307, p- value = 0.008)

          ผลการศึกษาชี้ให้เห็นว่า ควรจัดให้มีการใช้คอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะแทนการใช้โน๊ตบุ๊คในการทำงาน และจัดสถานีงานห้าหมาะสมเพื่อลดอาการผิดปกติทางระบบกล้ามเนื้อและกระดูกโครงร่างจากการทำงาน

References

Deros B.M., Daruis D.D.I., Thiruchelvam S., Othman R., Ismail D., Rabani N.F., et al. (2016). Evaluation on Ambulance Design and Musculoskeletal Disorders Risk Factors among Ambulance Emergency Medical Service Personnel. Iran J Public Health, 45(1), 52-60.

Simoneau, S., ST-Vincent, M. & Chioine, D. (1996), Work-Related Musculoskeletal Disorder (WMSDs). Infrastructure Health & Safety Assciation.

Collins J.D. and O’Sullivan L.W. (2015). Musculoskeletal disorder prevalence and psychosocial risk exposures by age and gender in a cohort of office based employees in two academic institutions. International Journal of Industrial Ergonomics, 46, 85-97.

NIOSH. (1997). Elements of Ergonomics Programs: A Primer Based on Evaluations of Musculoskeletal Disorders, DHHS (NIOSH) Publication, 97-117.

วิลาวัลย์ ชัยแก่น. (2556). ปัจจัยด้านการยศาสตร์และอัตราความชุกของอาการปวดทางโครงร่างและกล้ามเนื้อในคนงานโรงงานผลิตชิ้นส่วนสารกึ่งตัวนำในนิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือ. วิทยานิพนธ์ พย.บ., มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่.

เมธินี ครุสันธิ์ และ สุนิสา ชายเกลี้ยง. (2557). การประเมินความเสี่ยงทางการยศาสตร์ในพนักงานสำนักงานมหาวิทยาลัย. KKU Res. J, 19(5).

จุฑาทิพย์ วิญญูเจริญกุล และกลางเดือน โพชนา. (2558). การประเมินความเสี่ยงทางการยศาสตร์ของผู้ใช้คอมพิวเตอร์ด้วยวิธี Rapid Office Strain Assessment (ROSA). วารสารสาธารณสุขศาสตร์, 45(2), 148-158.

Erdinc, O. and Eksioglu, M. (n.d.). Student Specific Cornell Musculoskeletal Discomfort Questionnaires (SS-CMDQ). สืบค้นเมื่อ 18 ตุลาคม 2561. จาก http://ergo.human.cornell.edu/ahSSCMDQquest.html

จุฑาทิพย์ วิญญูเจริญกุล และกลางเดือน โพชนา. (2558). การประเมินความเสี่ยงทางการยศาสตร์ของผู้ใช้คอมพิวเตอร์ด้วยวิธี Rapid Office Strain Assessment (ROSA). วารสารสาธารณสุขศาสตร์, 45(2), 148-158.

เมธินี ครุสันธิ์ และ สุนิสา ชายเกลี้ยง. (2557). การประเมินความเสี่ยงทางการยศาสตร์ในพนักงานสำนักงานมหาวิทยาลัย. KKURes. J, 19(5).

จารุวรรณ ปันวารี, จักรกริช กล้าผจญ, และภิชนา โฆวินทะ. (2552). อาการปวดคอที่เกิดกับ บุคลากรที่ใช้คอมพิวเตอร์: การศึกษาปัจจัยทางการยศาสตร์. เวชสารศาสตร์ฟื้นฟู, 19(1), 30-35.

วิลาวัลย์ ชัยแก่น. (2550). ปัจจัยด้านการยศาสตร์และอัตราความชุกของอาการปวดทางโครงร่างและกล้ามเนื้อ ในคนงานในโรงงานผลิตชิ้นส่วนสารกึ่งตัวนำในนิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือ. วารสารวิชาการสาธารณสุข, 16(2), 26-33.

กรุณา จันทุม. (2558). ความชุกและปัจจัยที่มีผลต่อความผิดปกติทางระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อจากการใช้งานคอมพิวเตอร์ ในบุคลากรมหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ. วารสารการพยาบาลและสุขภาพ, 9(3), 166-178.

เมธินี ครุสันธิ์ และ สุนิสา ชายเกลี้ยง. (2557). การประเมินความเสี่ยงทางการยศาสตร์ในพนักงานสำนักงานมหาวิทยาลัย. KKU Res. J, 19(5).

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-06