การประเมินการรับสัมผัสสารโทลูอีน ไซลีนและระดับไนตริคออกไซด์ของลมหายใจออก ที่มีความสัมพันธ์กับความสามารถในการทำงานของพนักงานด่านเก็บเงิน ในเขตกรุงเทพมหานคร
คำสำคัญ:
โทลูอีน, ไซลีน, ไนตริคออกไซด์ของลมหายใจออก, ความสามารถในการทำงาน, พนักงานด่านเก็บเงินบทคัดย่อ
ในการศึกษาครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินการรับสัมผัสสารโทลูอีน ไซลีนและระดับไนตริคออกไซด์ของลมหายใจออกที่มีความสัมพันธ์กับความสามารถในการทำงานด่านเก็บเงินในเขตกรุงเทพมหานคร เป็นการศึกษาแบบภาคตัดขวาง ตัวอย่างทั้งหมดมี 220 คน แบ่งเป็นกลุ่มศึกษา 90 คนและกลุ่มเปรียบเทียบ 130 คน เครื่องมือที่ใช้คือ แบบสอบถามและเก็บตัวอย่างอากาศใช้ Organic Vapor Monitor (3M 3500) ติดตัวบุคคลในระดับการหายใจรวมถึงเครื่อง NIOX MINO วัดไนตริคออกไซด์ของลมหายใจออกหลังเลิกงาน กลุ่มศึกษามีอายุเฉลี่ย 36.86 ปี และ 32.97 ปี สำหรับกลุ่มเปรียบเทียบ กลุ่มศึกษามีสภาพการทำงานในแต่ละวันในหน้าที่เก็บเงินและทอนเงินวันละ 8 ชั่วโมงต่อวัน ร้อยละ 63.3 มีการใช้อุปกรณ์ป้องกันระบบทางเดินหายใจทุกครั้งเพียงร้อยละ 10.0 กลุ่มศึกษามีค่าเฉลี่ย ± ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของสารโทลูอีน 28.93 ±32.048 ppb ไซลีน 68.17± 8.591 ppb และระดับไนตริคออกไซด์ของลมหายใจ ออกของกลุ่มศึกษาส่วนใหญ่อยู่ในระดับต่ำ (<25 ppb) ร้อยละ 89.0 มีค่าเฉลี่ย ± ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 15.98 ± 8.712 ppb และมีความสามารถในการทำงาน อยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 58.9 ค่าเฉลี่ยของปริมาณระดับความเข้มข้นของสารโทลูอีนและไซลีน ระหว่างกลุ่มศึกษาและกลุ่มเปรียบเทียบมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (p < 0.001 และ p<0.001 ตามลำดับ) และค่าเฉลี่ยปริมาณระดับไนตริคออกไซด์ของลมหายใจออกของกลุ่มศึกษาและกลุ่มเปรียบเทียบความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (p =0.002) และเมื่อหาความสัมพันธ์พบว่าปริมาณระดับความเข้มข้นของสารโทลูอีน ไซลีนในบรรยากาศการทำงานแบบติดตัวบุคคล และปริมาณระดับไนตริคออกไซด์ของลมหายใจออกกับความสามารถในการทำงาน พบว่า ไม่มีความสัมพันธ์กัน กลุ่มศึกษามีการสัมผัสสารโทลูอีน ไซลีนและมีปริมาณระดับไนตริคออกไซด์ของลมหายใจออกในขณะทำงานและควรจัดให้มีการอบรมให้ความรู้ ความเข้าใจถึงอันตรายและวิธีการป้องกันของสารโทลูอีน ไซลีน รวมถึงการแนะนำให้ใช้อุปกรณ์ป้องกันระบบทางเดินหายใจที่ถูกต้องและเหมาะสมต่อไปเพื่อป้องกันการรับสัมผัสสารดังกล่าว
References
วชร โอนพรัตน์วิบูลและอดุลย์ บัณฑุกุล. สารตัวทำละลายอินทรีย์. ตำราอาชีวเวชศาสตร์ text books of occupational medicine. กรุงเทพมหานคร: โรงพยาบาลนพรัตนราชธานี กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. 2554.
Dennison JE, Bigelow PL, Mumtaz MM, Anderson ME, Dobrev ID, Yang RS. Evaluation of potential toxicity from co-exposure to three CNS depressants (toluene, ethylbenzene and xylene) under resting and working conditions using PBPK. J Occup Environ Hyg 2005; 2(3): 127- 35.
Chang FK, Chen ML, Cheng SF, Shih TS, Mao IF. Dermal absorption of solvents as a major source of exposure among shipyard spray painters. J Occup Environ Med 2007; 49: 430- 6.
ศรีรัตน์ ล้อมพงศ์. การประเมินผลกระทบต่อสุขภาพจากการสัมผัสสาร Organic Solvent ในกลุ่มปฏิบัติงานกับรถโดยสารธรรมดา. คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา. 2553.
Jimenez-Garza O, Marquez-Gamino S, Albores A, Caudillo-Cisneros C, Carrieri M, Bartolucci GB, Manno M. CYP2E1 phenotype in Mexican workers occupationally exposed to low levels of toluene. Toxicol Lett 2012; 210 (2): 254 – 63.
Ongwandee M, Chavalparit O. Commuter exposure to BTEX in public transportation modes in Bangkok, Thailand. J Environ Sci (China) 2010; 22 (3): 397 – 404.
Anna-Carin O, Annika R, Lauren L, Bjorn B, Kjell T. FCCP, height, age, and atopy are associated with farction of exhaled nitric oxide in a large adult general population sample, chest. 2006; 130(5): 1319-25.
Bohadana AB, Hannhart B , Ghezzo H, Teculescu D, Zmirou-Navier D. Exhaled nitric oxide and spirometry in respiratory health surveillance. Occup Med 2011; 61:108-14.
Baur X, Barbinova L. Latex allergen exposure increases exhaled nitric oxide in symptomatic healthcare. Eur Respir J 2005; 25:309-16.
Mauro M, Luigi G, Aniello G, Jon ON. Lundberg Matteo S. Increase in exhaled nitric oxide in shoe and leather workers at the end of the work- shift. Occup Med 2004; 54: 404-7.
อรวรรณ แก้วบุญชู. คู่มือประเมินความสามารถในการทำงาน. ภาควิชาการพยาบาลสาธารณสุข คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล. 2550.
บุญธรรม กิจปรีดาบริสุทธิ์. ระเบียบวิธีการวิจัยทางสังคม. พิมพ์ครั้งที่ 10. กรุงเทพมหานคร: จามจุรีโปรดักส์; 2551.
ACGIH. Threshold limit values for the chemical substances and physical agents and biological exposure indicies. American Conference of Governmental Industrial Hygienists, Cincinnati, Ohio, USA. 2011.
Mandiracioglu A, Akgur S, Kocabiyik N, Sener U. Evaluation of neuropsychological symptoms and exposure to benzene, toluene and xylene among two different furniture worker groups in lzmir. Toxico Ind Health 2011; 27(9): 802-9.
Karita K, Yano E, Jinsart W, Boudoung D, Tamura K. Respiratory symptoms and pulmonary function among traffic police in Bangkok, Thailand. Arch Environ Health 2001; 56(5): 467-70.
Tamura K, Jinsart W, Yano E, Karita K, Boudoung D. Particulate air pollution and chronic respiratory symptoms among traffics policemen in Bangkok. Arch Environ Health 2003; 58(4): 201-7.
Hoffmeyer F, Raulf-Heimsoth M, Bruning T. Exhaled breathe condensate and airway inflammation. Curr Opin Allergy Clin Immunol 2009; 9 (1): 16-22.
Jimenez G, Marquez G, et.al. CYP2E1 phenotype in Mexican workers occupationally exposed to low levels of toluene. Toxicol Lett 2012; 210 (2): 254-63.
Alexander MT, Magne B, Simon DM, Bente EM. Fractionnal exhaled nitric oxide among cement factory workers: a cross sectional study. Occup Environ Med 2013; 70(5): 289-95.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.