กระบวนการของวารสาร

กระบวนการตรวจสอบคุณภาพบทความ (Peer review process)

Suranaree Journal of Health Science (SJHSci) จัดพิมพ์ต้นฉบับบทความวิจัย (Research Articles) บทความวิชาการ (Articles) บทความปริทรรศน์ (Review articles) และบทความรายงาน (Case reports /Case series) ในทุกสาขาวิชาชีพด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ ซึ่งจำเป็นต้องผ่านกระบวนการตรวจสอบคุณภาพบทความอย่างเข้มข้นโดยผู้ทรงคุณวุฒิ (peer reviewer) ดังต่อไปนี้

1. การคัดกรอง

กองบรรณาธิการพิจารณาเนื้อหาของบทความที่ส่งมาเพื่อให้แน่ใจว่าอยู่ในขอบเขตของวารสาร รูปแบบ การเขียน และภาษาจะได้รับการประเมินในขั้นตอนการคัดกรองด้วย มีการตรวจสอบการการคัดลอกผลงานผ่านโปรแกรม Turnitin กระบวนการคัดกรองนี้ใช้เวลา 1–2 สัปดาห์

บทความที่ส่งอาจถูกปฏิเสธในระหว่างขั้นตอนการคัดกรองเนื่องจากเหตุผลข้อใดข้อหนึ่งต่อไปนี้

     1.1 เนื้อหาของบทความไม่อยู่ในขอบเขตของวารสาร

     1.2 มีความคล้ายคลึงกันของเนื้อหามากกว่า 30% ในกระบวนการตรวจสอบการคัดลอกผลงาน

     1.3 ไม่มีข้อมูลทางวิชาการที่สำคัญหรือเป็นประโยชน์

     1.4 ไม่มีความเป็นไปได้ในการนำผลการศึกษาหรือวิจัยไปใช้ หรือ

     1.5 รูปแบบของต้นฉบับไม่เป็นไปตามที่วารสารกำหนด การนำเสนอข้อมูลที่ไม่ชัดเจน หรือการใช้ภาษาที่ไม่ถูกต้องตามหลักวิชาการ

2. พิชญพิจารณ์ (Peer review)

กองบรรณาธิการคัดเลือกผู้ทรงคุณวุฒิ (peer reviewer) 2-3 ท่าน ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญในสาขาของบทความนั้นๆ ผู้ทรงคุณวุฒิจะต้องมาจากสถาบันที่แตกต่างกันและต่างจากผู้เขียน วารสารใช้รูปแบบการทบทวนแบบปกปิดสองทาง (Double-blind peer review) กล่าวคือผู้ทรงคุณวุฒิและผู้เขียนจะไม่ทราบข้อมูลของกันและกัน

3. การแจ้งผลการทบทวน

การตัดสินใจขั้นสุดท้ายจะทำโดยกองบรรณาธิการ โดยมีผลลัพธ์ที่เป็นไปได้ 5 รายการ ดังต่อไปนี้

     3.1 รับตีพิมพ์โดยไม่มีการแก้ไข      

     3.2 รับตีพิมพ์เมื่อแก้ไขตามข้อเสนอแนะ 

     3.3 แก้ไขบทความในส่วนสำคัญ และส่งบทความเพื่อพิจารณาใหม่อีกครั้งโดยกองบรรณาธิการ

     3.4 แก้ไขบทความในส่วนสำคัญ และส่งบทความเพื่อพิจารณาใหม่อีกครั้งโดยผู้ทรงคุณวุฒิ

     3.5 ไม่รับตีพิมพ์

4. การแก้ไข

ผู้เขียนต้องทำการเปลี่ยนแปลงและปรับปรุงบทความตามเสนอแนะของผู้ทรงคุณวุฒิ หากมีจุดที่ผู้เขียนไม่ต้องการแก้ไขต้องมีการอธิบายเหตุผลอย่างชัดเจน จากนั้นกองบรรณาธิการจะประเมินบทความที่แก้ไข เว้นแต่ผู้ทรงคุณวุฒิ (peer reviewer) จะขอประเมินอีกครั้งด้วยตนเอง และต้องมีใบรับรองการแก้ไขภาษาอย่างมืออาชีพ หากเป็นบทความภาษาอังกฤษ