การพัฒนารูปแบบและมาตรฐานการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพเพื่อปรับพฤติกรรมการเสพติดในประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • ชุรีภรณ์ เสียงล้ำ นักวิชาการสาธารณสุขปฏิบัติการ กองสถานพยาบาลและการประกอบโรคศิลปะ กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข
  • งามเนตร เอี่ยมนาคะ นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการพิเศษ กองสถานพยาบาลและการประกอบโรคศิลปะ กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข
  • จิโรจ สินธวานนท์ ผู้อำนวยการสำนักวิชาการ สถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข

DOI:

https://doi.org/10.55766/sjhsci-2024-02-e01213

คำสำคัญ:

การปรับพฤติกรรม, การเสพติด, การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ, ศูนย์กลางบริการสุขภาพในระดับนานาชาติ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพและเชิงปฏิบัติการ มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์สถานการณ์และโอกาสของการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพเพื่อปรับพฤติกรรมการเสพติดให้เป็นการประกอบกิจการสนับสนุน การขับเคลื่อนเศรษฐกิจสุขภาพของประเทศ และเป็นข้อเสนอแนะเชิงนโยบายด้านการจัดการเชิงระบบ สนับสนุนการขับเคลื่อนประเทศไทยให้เป็นศูนย์กลางบริการสุขภาพในระดับนานาชาติ วิธีการวิจัยประกอบด้วยการวิเคราะห์เอกสาร ทฤษฎีที่เกี่ยวกับการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพเพื่อการปรับพฤติกรรม พัฒนาเครื่องมือการวิจัยและแนวทาง การวิจัยเชิงปฏิบัติการโดยระดมสมองผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในกิจการเพื่อสุขภาพในพื้นที่การศึกษา ร่วมกับการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการสนทนากลุ่มและการสัมภาษณ์เชิงลึก ผลการวิจัยให้ข้อมูลสำคัญเกี่ยวกับแนวคิดทฤษฎีที่นำมาประยุกต์ใช้เพื่อการปรับพฤติกรรมการเสพติด รูปแบบและแนวทางกำหนดมาตรฐานการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพเพื่อปรับพฤติกรรมในประเทศไทย ปัจจัยเสริมแรงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเสพติด กระบวนการและเทคนิคปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ความสัมพันธ์ของการรับรู้เกี่ยวกับการบำบัดการเสพติดกับความต้องการในการเข้ารับบริการของประชาชนทั่วไป กระบวนการดูแลต่อเนื่อง การพัฒนาผู้ให้บริการและส่งเสริมผู้ประกอบการคนไทย รวมทั้งข้อเสนอแนะเชิงนโยบายต่อการจัดการเชิงระบบ กรมสนับสนุนบริการสุขภาพควรกำหนดแนวทางส่งเสริม
การประกอบกิจการการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพเพื่อปรับพฤติกรรมการเสพติด การพัฒนาความรู้และทักษะผู้ให้บริการ เพื่อนำไปสู่การออกแบบธุรกิจใหม่ (Business Model) ที่ส่งเสริมให้ภาคเอกชนมีความร่วมมือเพื่อการพัฒนา
อย่างยั่งยืน

References

Ajzen, I. (1985). From intentions to actions: A theory of planned behavior. In J. Kuhl & J. Beckmann (Eds.), Action-control: From cognition to behavior (pp. 11-39). Springer.

Andreu, M. G. N. L., Font-Barnet, A., & Roca, M. E. (2021). Wellness tourism-New challenges and opportunities for tourism in Salou. Sustainability, 13(15), 8246. https://doi.org/10.3390/su13158246

Backman, S. J., Huang, Y. C., Chen, C. C., Lee, H. Y., & Cheng, J. S. (2023). Engaging with restorative environments in wellness tourism. Current Issues in Tourism, 26(5), 789-806. https://doi.org/10.1080/13683500.2022.2076834

Bandura, A. (2004). Health promotion by social cognitive means. Health Education & Behavior, 31(2), 143-164. https://doi.org/10.1177/1090198104263660

Bandura, A. (Ed.). (1995). Self-efficacy in changing societies. Cambridge University Press.

Boonchaiyanichwatana, S., Utwichai, K., & Kongpaserapan, C. (2020). The situation of drug rehabilitation in the luxury rehabilitation group. Paper presented at the Meeting of the Working Group on Developing Guidelines for Promoting Standards and Advanced Medical Services, Medical Innovations, and Drug Rehabilitation, Department of Health Service Support.

Csirmaz, É., & Pető, K. (2015). International trends in recreational and wellness tourism. Procedia Economics and Finance, 32, 755-762. https://doi.org/10.1016/S2212-5671(15)01458-6

Goodarzi, M., Haghtalab, N., & Shamshiry, E. (2016). Wellness tourism in Sareyn, Iran: Resources, planning, and development. Current Issues in Tourism, 19(11), 1071-1076. https://doi.org/10.1080/13683500.2015.1092947

Lim, Y. J., Kim, H. K., & Lee, T. J. (2016). Visitor motivational factors and level of satisfaction in wellness tourism: Comparison between first-time visitors and repeat visitors. Asia Pacific Journal of Tourism Research, 21(2), 137-156. https://doi.org/10.1080/10941665.2015.1029952

Rehab Path Luxury. (2022, November 8). Luxury rehab centers in Thailand. Luxury Rehab Centers. https://www.luxuryrehabs.com

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-25

How to Cite

เสียงล้ำ ช., เอี่ยมนาคะ ง., & สินธวานนท์ จ. (2024). การพัฒนารูปแบบและมาตรฐานการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพเพื่อปรับพฤติกรรมการเสพติดในประเทศไทย. วารสารวิทยาศาสตร์สุขภาพสุรนารี, 2(2), e01213(1–14). https://doi.org/10.55766/sjhsci-2024-02-e01213

ฉบับ

บท

บทความวิจัย

หมวดหมู่