การพัฒนารูปแบบการดูแลแบบบูรณาการสำหรับผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ควบคุมไม่ดี เครือข่ายสุขภาพอำเภอยางตลาด จังหวัดกาฬสินธุ์

ผู้แต่ง

  • จิราภรณ์ ฉัตรศุภกุล Yangtalat hospital , Kalasin Province
  • ปนัดดา ภูบรรทัด

คำสำคัญ:

รูปแบบการดูแล, ผู้ป่วยเบาหวานควบคุมไม่ดี, วิจัยเชิงปฏิบัติการ

บทคัดย่อ

     การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์ พัฒนารูปแบบ และ ผลของรูปแบบการดูแลแบบบูรณาการ สำหรับผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมไม่ดี ของเครือข่ายสุขภาพอำเภอ ยางตลาด จังหวัดกาฬสินธุ์ ผู้ร่วมวิจัยคือ ทีมสหวิชาชีพในโรงพยาบาลและเครือข่ายสุขภาพอำเภอยางตลาด จำนวน 31 คน กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่มีน้ำตาลเฉลี่ยสะสมมากกว่าเท่ากับ 7 ที่มา รับบริการที่คลินิกเบาหวานโรงพยาบาลยางตลาด และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ตั้งแต่ ตุลาคม 2563 ถึง กันยายน 2565 จำนวน 2,482 คน เครื่องมือในการดำเนินการวิจัย ได้จากการปรับใช้นโยบายปิงปองจราจรชีวิตสู่การปฏิบัติ ร่วมกับการทบทวนเอกสาร งานวิจัย และการประชุมระดมสมองร่วมกับทีมสหวิชาชีพ พัฒนารูปแบบการดูแลโดยใช้กระบวนการ PAOR ของเคมมิสและแมกทากาด เครื่องมือในการเก็บรวบรวม ข้อมูล ประกอบด้วย แบบบันทึกข้อมูลผู้ป่วยรายบุคคล และแบบบันทึกผลการตรวจน้ำตาลเฉลี่ยสะสม เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการการสัมภาษณ์ การประชุมระดมสมอง และการตรวจน้ำตาลเฉลี่ยสะสม วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ paired t test

     ผลการวิจัยพบว่า สถานการณ์การดูแลผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมไม่ดี พบว่า ร้อยละ 79 ของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 มีน้ำตาลเฉลี่ยสะสมมากกว่าเท่ากับ 7 ภายหลังรูปแบบการดูแลแบบบูรณาการสำหรับผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมไม่ดี ร้อยละผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมไม่ดีลดลงจาก 79 เป็น 61 ค่าเฉลี่ยน้ำตาลสะสมลดลงจาก 10.14% เป็น 8.96% และลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p - value < .000) เมื่อเปรียบเทียบกับก่อนดำเนินการ

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-04-30