การประยุกต์แบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพและแรงสนับสนุนทางสังคมเพื่อส่งเสริมพฤติกรรม การป้องกันการแพร่กระจายเชื้อของผู้ป่วยวัณโรคปอด โรงพยาบาลอุตรดิตถ์

ผู้แต่ง

  • อภิญญา ตันเจริญ -

คำสำคัญ:

การประยุกต์แบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพ การแพร่กระจายเชื้อวัณโรค ผู้ป่วยวัณโรค

บทคัดย่อ

การวิจัยกึ่งทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการประยุกต์แบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพและแรงสนับสนุนทางสังคมเพื่อส่งเสริมพฤติกรรมการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อของผู้ป่วยวัณโรคปอด โรงพยาบาลอุตรดิตถ์ จำนวน 25 คน โดยกลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมเป็นระยะเวลา 8 สัปดาห์ เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถาม 2 ครั้ง ก่อนและหลังการทดลอง ระหว่าง 1 มกราคม - 20 เมษายน 2566 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ paired t-test กำหนดระดับนัยสำคัญ .05 ผลการศึกษาพบว่า ความรู้เรื่องวัณโรค การรับรู้โอกาสเสี่ยงของการแพร่กระจายเชื้อวัณโรค การรับรู้ความรุนแรงของการแพร่กระจายเชื้อวัณโรค การรับรู้ประโยชน์ของการปฏิบัติเพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อวัณโรคโรค การรับรู้อุปสรรคของการปฏิบัติเพื่อควบคุมการแพร่กระจายเชื้อวัณโรคโรค และพฤติกรรมการป้องกันการแพร่เชื้อวัณโรคของผู้ป่วยวัณโรคสูงกว่าก่อนได้รับโปรแกรมการประยุกต์แบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพและแรงสนับสนุนทางสังคมเพื่อส่งเสริมพฤติกรรมการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อของผู้ป่วยวัณโรคปอดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .05) ความสม่ำเสมอในการรับประทานยารักษาวัณโรคเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 84.0 เป็นร้อยละ 100.0

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-04-30

How to Cite

ตันเจริญ อ. . (2023). การประยุกต์แบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพและแรงสนับสนุนทางสังคมเพื่อส่งเสริมพฤติกรรม การป้องกันการแพร่กระจายเชื้อของผู้ป่วยวัณโรคปอด โรงพยาบาลอุตรดิตถ์. วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพชุมชน, 8(1), 259–268. สืบค้น จาก https://he03.tci-thaijo.org/index.php/ech/article/view/1297