การพัฒนากระบวนการดูแลผู้ป่วยจิตเวชใช้สารเสพติดและญาติผู้ดูแล อำเภอนามน จังหวัดกาฬสินธุ์

ผู้แต่ง

  • วชิราภรณ์ สอระสัน

คำสำคัญ:

กระบวนการดูแลผู้ป่วยจิตเวชใช้สารเสพติด, ญาติ, ผู้ดูแล

บทคัดย่อ

     การวิจัยนี้การวิจัยและพัฒนา (Research and Development)นี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์ ผู้ป่วยจิตเวชใช้สารเสพติด และญาติผู้ดูแล อำเภอนามน จังหวัดกาฬสินธุ์ และผลของการพัฒนากระบวนการดูแลผู้ป่วยจิตเวชใช้สารเสพติดและญาติผู้ดูแล อำเภอนามน จังหวัดกาฬสินธุ์ เป็นการวิจัยและพัฒนา (Research and Development)  มีระยะเวลาในการศึกษา ระหว่าง เดือน มีนาคม 2565 – มิถุนายน 2565 รวม 4 เดือน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ กลุ่มผู้ป่วยจิตเวชใช้สารเสพติด และ กลุ่มญาติผู้ดูแล กลุ่มละ 47 คน รวม 94 คน โดยการสุ่มแบบเจาะจง เก็บข้อมูลจากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ กระบวนการกลุ่ม และแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน Dependent t – test และ Independent t – test

     ผลการศึกษา พบว่า 1) ความแตกต่างของระดับภาวะซึมเศร้าก่อนพัฒนารูปแบบ (มีนาคม 2565) และภายหลังการพัฒนารูปแบบอย่างต่อเนื่อง (มิถุนายน 2565) หลังพัฒนารูปแบบการดูแล ภาวะซึมเศร้าในระดับน้อย ลดลง เป็นไม่มีภาวะซึมเศร้า คะแนนเฉลี่ยลดลงจาก 8.9 คะแนน เป็น 4.1 คะแนน ตามลำดับ เมื่อทดสอบความแตกต่างของคะแนนเฉลี่ย พบว่ามีความแตกต่างก่อนและหลังดำเนินมาตรการอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05, t = 4.0)

     2) ความแตกต่างของระดับภาวะฆ่าตัวตายก่อนพัฒนารูปแบบ (มีนาคม 2565) และภายหลังการพัฒนารูปแบบอย่างต่อเนื่อง (มิถุนายน 2565) หลังดำเนินมาตรการภาวะฆ่าตัวตายลดลง จากระดับน้อยเป็นไม่มีภาวะฆ่าตัวตาย คะแนนเฉลี่ยลดลงจาก 1.8 คะแนน เป็น 0.04 คะแนน ตามลำดับ เมื่อทดสอบความแตกต่างของคะแนนเฉลี่ย มีความแตกต่างก่อนและหลังดำเนินมาตรการอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05, t = 4.2)

     3) ความแตกต่างของระดับภาวะซึมเศร้าและการฆ่าตัวตายภายหลังการพัฒนารูปแบบ (มิถุนายน 2565) ระหว่างกลุ่มผู้ป่วยจิตเวชใช้สารเสพติดและญาติผู้ดูแลผู้ป่วย ระดับภาวะซึมเศร้า มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05, t = 2.9)  ในขณะที่ ระดับภาวะฆ่าตัวตายไม่แตกต่างกัน

References

สำนักงานว่าด้วยยาเสพติดและอาชญากรรมแห่งสหประชาชาติ (UNODC) พ.ศ.2561เอกสารรายงานการใช้ยาเสพติดโลก (world drug report) ปี พ.ศ.2561 [อินเตอร์เน็ต].2561 [เข้าถึงเมื่อ 17 เมษายน 2564]. เข้าถึงได้จาก :https://wdr.unodc.org/wdr2019

สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด. รายงานผลการดำเนินงานป้องกันและปราบปราม ปี 2564.กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด เลขที่ 5 แขวงสามเสนในเขตพญาไท กรุงเทพ; 2564.

กองบริหารระบบบริการสุขภาพจิต กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางการติดตามดูแลต่อเนื่อง ผู้ป่วยจิตเวชสุรา ยา สารเสพติด โรงพิมพ์บริษัท พรอสเพอรัสพลัส จำกัด กรุงเทพมหานคร; 2563.

งานจิตเวชโรงพยาบาลนามน. เอกสารรายงานประจำเดือน เมษายน 2565 หัวข้อรายงานผลการวิเคราะห์ข้อมูลผู้ป่วยจิตเวชใช้สารเสพติดและการฆ่าตัวตาย. คลินิกจิตเวช โรงพยาบาลนามน อำเภอนามน จังหวัดกาฬสินธุ์ ; 2565.

ธิดารัตน์ ห้วยทราย และคณะ. ความคิดอัตโนมัติด้านลบ และความเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตายของผู้ป่วยจิตเวช.วารสาร โรงพยาบาลสกลนคร ปีที่ 24 ฉบับที่ 2 พฤษภาคม – สิงหาคม 2564 หน้า 49-58.

สมพร รุ่งเรืองกลกิจ และ พันธุ์นภา กิตติรัตนไพบูลย์. ผลกระทบของเพศภาวะต่อสุขภาพจิตและแนวคิดเพศภาวะกำหนดนโยบายสุขภาพจิต. วารสารสุขภาพจิตแห่งประเทศไทย ปีที่ 29 ฉบับที่ 3 กรกฎาคม - กันยายน 2564 หน้าที่ 259-273.

วิภาวี เผ่ากันทรากร และ นภา จิรัฐจินตนา. ผลของโปรแกรมสติบาบัดต่อภาวะซึมเศร้าและคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคซึมเศร้า.วารสารสุขภาพจิตแห่งประเทศไทย ปีที่ 29 ฉบับที่ 4 พ.ศ.2564 เดือน ตุลาคม - ธันวาคม 2564 หน้า 286-297.

สมจิตร์ มณีกานนท์ และ คณะ.ความชุกของการใช้สารเสพติด ในกลุ่มผู้ป่วยจิตเวทที่แผนกผ้ปู่วยนอกโรงพยาบาลศรีนครินทร์.วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย ปีที่ 29 ฉบับที่ 6 กรกฎาคม-กันยายน 2561 หน้าที่ 371-380.

อรรถพล ยิ้มยรรยง และ เพ็ญนภา แดงด้อมยุทธ. ผลของการบำบัดทางความคิดและพฤติกรรมอย่างย่อโดยครอบครัวมีส่วนร่วมต่อการเสพแอมเฟตามีนของวัยรุ่นเสพติดแอมเฟตามีนระยะฟื้นฟู.วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ ปที่ 13 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2564 หน้า 71-83.

สยาภรณ์ เดชดี และ อรวรรณ หนูแก้ว. การพัฒนาและผลของโปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองในผู้ป่วยโรคจิตจากสารเสพติด. วารสารการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต ปีที่ 35 ฉบับที่ 1 (2021):มกราคม - เมษายน 2564 หน้า 91-111.

ณฐพร ผลงาม. การพัฒนารูปแบบการบำบัดฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยยาเสพติดโดยการมีส่วนร่วมของชุมชนจังหวัดระยอง. วารสารศาสตรสาธารณสุขนวตกรรม ปีที่ 1 ฉบับที่ 2 พ.ศ.2564 เดือน พฤษภาคม – สิงหาคม 2564 หน้า 49-72.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-05-01

How to Cite

สอระสัน ว. . (2023). การพัฒนากระบวนการดูแลผู้ป่วยจิตเวชใช้สารเสพติดและญาติผู้ดูแล อำเภอนามน จังหวัดกาฬสินธุ์. วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพชุมชน, 8(1), 346–359. สืบค้น จาก https://he03.tci-thaijo.org/index.php/ech/article/view/1306