การสร้างแรงจูงใจและการมีส่วนร่วมของครอบครัวต่อพฤติกรรมการป้องกันการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง ในผู้ป่วยความดันโลหิตสูง

ผู้แต่ง

  • แสงจันทร์ พลลาภ -
  • ประภัสสร ดลวาส

คำสำคัญ:

การสร้างแรงจูงใจ, การมีส่วนร่วมของครอบครัว, การป้องโรคหลอดเลือดสมอง, ผู้ป่วยความดันโลหิตสูง

บทคัดย่อ

     การวิจัยนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi-Experimental Research) ใช้แบบแผนการวิจัยแบบสองกลุ่มวัดก่อนและหลังการทดลอง (Two-group Pretest-Posttest Design) เพื่อศึกษาผลของการสร้างแรงจูงใจและการมีส่วนร่วมของครอบครัวต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองในการป้องกันโรคหลอดเลือดสมองในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่ได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์ ที่เข้ารับบริการในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหนองบัวโดน อำเภอสมเด็จ จังหวัดกาฬสินธุ์ ระหว่างเดือนตุลาคม 2565 ถึงเดือน เมษายน 2566 จำนวน 60 คน แบ่งกลุ่มตัวอย่างเป็นกลุ่มทดลอง 30 คน ซึ่งเข้าร่วมกิจกรรมการสร้างแรงจูงใจและการมีส่วนร่วมของครอบครัวต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองในการป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง กลุ่มควบคุม 30 คน เป็นกลุ่มที่ได้รับการรักษาแบบปกติ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบร่วมข้อมูล คือแบบสอบถาม มี 2 ส่วน ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป วิเคราะห์ข้อมูลโดยความถี่ ร้อยละ ส่วนที่ 2 พฤติกรรมการป้องกันการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง ด้านการรับประทานอาหาร   การจัดการความเครียด การออกกำลังกาย การรับประทานยาและการมาพบแพทย์ รวมคำถามทั้งหมด 21 ข้อ เปรียบเทียบค่าคะแนนเฉลี่ยก่อนและหลังการทดลอง เปรียบเทียบค่าคะแนนเฉลี่ยหลังการทดลองระหว่างกลุ่มควบคุมกับกลุ่มทดลอง

     ผลการศึกษาพบว่า คะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการดูแลตนเองในการป้องกันโรคหลอดเลือดสมองในผู้ป่วยความดันโลหิตสูงกลุ่มทดลองในระยะหลังการทดลองมากกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และค่าคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการดูแลตนเองในการป้องกันโรคหลอดเลือดสมองในผู้ป่วยความดันโลหิตสูงในระยะหลังการทดลองของกลุ่มทดลองสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 จากการศึกษานี้ ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่ได้รับการสร้างแรงสูงใจและการมีส่วนร่วมของครอบครัวในการรักษาส่งผลให้พฤติกรรมการป้องกันตนเองต่อโรคหลอดเลือดสมองดีขึ้น

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-08-31