การปรับตัวระยะหลังการระบาดของ COVID - 19 ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน อำเภอกระสัง จังหวัดบุรีรัมย์

ผู้แต่ง

  • พินัย สายเชื้อ ๊Ubon Ratchathani public health officer
  • ณัฏฐ์ชานันท์ กมลฤกษ์

คำสำคัญ:

การปรับตัว, ระยะหลังการระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19), อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน

บทคัดย่อ

     การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาปัจจัยด้านบุคคล พฤติกรรมการป้องกันโรคและการปรับตัว และวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านบุคคลกับพฤติกรรมการป้องกันโรค COVID - 19 ในระยะหลังการระบาดใหญ่ ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ในเขตพื้นที่อำเภอกระสัง จังหวัดบุรีรัมย์ กลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้นจำนวน 336 คน ใช้การคัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจง คือ เป็นอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ในเขตพื้นที่อำเภอกระสัง จังหวัดบุรีรัมย์ ที่ผ่านการอบรมหลักสูตร อสม. หมอประจำบ้าน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา และและวิเคราะห์หาความสัมพันธ์โดยใช้สถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน

     ผลการศึกษา พบว่า อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 88.1 อายุ 40 - 54 ปี ร้อยละ 62.8 ระดับการศึกษาสูงสุด คือ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ร้อยละ 30.7  มีประสบการณ์การทำงานในบทบาทของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน เป็นเวลา 3 9 ปี ร้อยละ 48.8 มีระดับพฤติกรรมเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ด้านการปรับตัวอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ส่วนใหญ่รู้สึกกังวลในเรื่องการว่างงาน ขาดรายได้ ร้อยละ 35 ส่วนใหญ่รับวัคซีนครบ 3 เข็มแล้วและจะไม่ฉีดกระตุ้นอีก ร้อยละ 76.2 มีความเชื่อมั่นต่อแนวทางของกระทรวงสาธารณสุขเกี่ยวกับการปฏิบัติตัวเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรค COVID -19 ร้อยละ 64.9 ปัจจัยที่สัมพันธ์กับระดับพฤติกรรมการป้องกันโรค COVID - 19 ในระยะหลังการระบาดใหญ่ ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน คือ อายุ สถานภาพการสมรส จำนวนบุตร ระยะเวลาการเป็น อสม. รายได้ก่อนหักค่าใช้จ่ายประจำต่อเดือน และระดับการศึกษา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-08-31