การพัฒนาแนวทางการดูแลผู้ป่วยวัณโรคปอดโดยการมีส่วนร่วมของครอบครัวและชุมชน

ผู้แต่ง

  • กำทร ดานา -
  • แจ่มจันทร์ เทศสิงห์

คำสำคัญ:

ผู้ป่วยวัณโรคปอด, แนวทางการดูแล, การมีส่วนร่วมของครอบครัวและชุมชน

บทคัดย่อ

     การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาแนวทางการดูแลและศึกษาผลการพัฒนาแนวทางการดูแลผู้ป่วยวัณโรคโดยการมีส่วนร่วมของครอบครัวและชุมชน มี 4 ระยะ คือ 1) การศึกษาสถานการณ์การดูแลผู้ป่วยวัณโรคปอดในชุมชน 2) การพัฒนาแนวทางการดูแล 3) การนำแนวทางการดูแลไปใช้เพื่อตรวจสอบประสิทธิผล และ 4) การประเมิน ปรับปรุงแก้ไขและยืนยันคุณภาพของแนวทางการดูแลผู้ป่วยวัณโรค ดำเนินการระหว่าง พฤษภาคม 2565 – เมษายน 2566 เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้การสัมภาษณ์เชิงลึก การสนทนากลุ่มและใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา สถิติเชิงพรรณนาและ สถิติ McNemar test

     ผลการศึกษาพบว่า ผู้ป่วยวัณโรคในชุมชนมีความเครียด วิตกกังวล เบื่ออาหาร ใช้ยาไม่ต่อเนื่อง ผู้ดูแลในครอบครัวคิดว่าวัณโรคเป็นโรคที่น่ารังเกียจถูกตีตราจากสังคม อสม. มีความกังวลเกี่ยวกับการติดตามดูแลและกังวลเกี่ยวกับการระบาดในหมู่บ้าน ทีมสหวิชาชีพเยี่ยมบ้านและติดตามไม่ต่อเนื่อง แนวทางการดูแลผู้ป่วยวัณโรคปอด คือ 1) พยาบาลและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องแสดงบทบาทในการดูแลผู้ป่วยและครอบครัว 2) จัดทำแผนการติดตามดูแลผู้ป่วยที่บ้าน หลังดำเนินการดูแลตามแนวทาง ผู้ป่วยมีความวิตกกังวลและภาวะซึมเศร้าลดลง และผู้ดูแลในครอบครัวมีความรู้เกี่ยวกับโรคและปฏิบัติทักษะการดูแลดีขึ้น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (p<0.001)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-08-31