การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยจิตเวชที่มีความเสี่ยงสูงต่อการก่อความรุนแรง โดยการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่าย อำเภอดอนตาล จังหวัดมุกดาหาร กรณีศึกษา บ้านนาทาม - ห้วยทราย ตำบลป่าไร่ อำเภอดอนตาล จังหวัดมุกดาหาร

ผู้แต่ง

  • โกศล เจริญศรี โรงพยาบาลดอนตาล อ.ดอนตาล จ.มุกดาหาร

คำสำคัญ:

ผู้ป่วยจิตเวช, มีความเสี่ยงสูงต่อการก่อความรุนแรง, การมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่าย

บทคัดย่อ

     งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research: AR) มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยจิตเวชที่มีความเสี่ยงต่อการก่อความรุนแรงโดยการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่าย อำเภอดอนตาล จังหวัดมุกดาหาร และศึกษาผลลัพธ์ของการใช้รูปแบบการดูแลผู้ป่วยจิตเวชที่มีความเสี่ยงต่อการก่อความรุนแรงโดยการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่าย อำเภอดอนตาล จังหวัดมุกดาหาร กลุ่มตัวอย่างคือ 1) ผู้มีส่วนได้เสียในการดูแลผู้ป่วยจิตเวชที่มีความเสี่ยงสูงต่อการก่อความรุนแรง (Serious Mental with High Risk to Violence: SMI-V) รวม  52 คน  2) ผู้ดูแลหรือญาติผู้ป่วยจิตเวชที่เสี่ยงต่อการก่อความรุนแรง จำนวน 26 คน 3) ผู้ป่วยจิตเวชที่มีความเสี่ยงสูงต่อการก่อความรุนแรง 26 คน เครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูลได้แก่แบบเก็บข้อมูลส่วนบุคคล แบบติดตามผู้ป่วย SMI-Vในชุมชน 10 ด้าน แบบประเมินอาการทางจิต (Brief Psychotic Rating Scale: BPRS) แบบสอบถามการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายในการดูแลผู้ป่วย SMI-V แบบทดสอบดัชนีชี้วัดสุขภาพจิตคนไทยฉบับสั้น แบบบันทึกการจัดการรายกรณี

     ผลการศึกษาพบว่าผู้ป่วยเกือบทั้งหมดคะแนนอาการทางจิตลดลง จำนวน 23 คน คิดเป็นร้อยละ 88.40  ญาติส่วนใหญ่มีความสุขเพิ่มขึ้นจากระดับความสุขต่ำกว่าคนทั่วไปเป็นมีความสุขเท่ากับหรือมากกว่าคนทั่วไป จำนวน 19 คน คิดเป็น ร้อยละ 73.00 และเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยคะแนนดัชนีชี้วัดความสุขญาติผู้ป่วยก่อนและหลังการพัฒนาด้วยสถิติทดสอบ Wilcoxon Signed ranks test เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญที่ .001 (Z=4.511, p=.000) และเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยอาการทางจิตก่อนและหลังได้รับการดูแลด้วยรูปแบบที่พัฒนาขึ้นพบว่า ลดลงอย่างมีนัยสำคัญที่ .001 (Z= -4.903, p=.000)และข้อมูลเชิงคุณภาพได้ แก่นสาระ คือ การจัดการดูแลผู้ป่วยจิตเวชที่มีประวัติก่อความรุนแรงเป็นสิ่งที่ยาก การสนับสนุนของชุมชนยังไม่ดี นั้นบุคลากรสุขภาพควรออกแบบรูปแบบการดูแลผู้ป่วยจิตเวชที่มีความเสี่ยงสูงต่อการก่อความรุนแรง โดยคำนึงถึงการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายในชุมชน และการจัดการรายกรณีควรถูกนำมาใช้ดูแลผู้ป่วยรายคน

References

กรมสุขภาพจิต. (2566) มาตรฐานการปฏิบัติงานการดูแลผู้ป่วยจิตเวชและยาเสพติดที่มีความเสี่ยงสูงต่อการ ก่อความรุนแรง. กรุงเทพฯ:บริษัท บียอนด์ พับลิสชิ่ง จำกัด.

กรมสุขภาพจิต. (2561) คู่มือการดูแลผู้ป่วยจิตเวชที่มีความเสี่ยงสูงต่อการก่อความรุนแรงสาหรับสถาบัน/โรงพยาบาล สังกัดกรมสุขภาพจิต. กรุงเทพฯ: พรอสเพอรัสพลัส.

Kemmis S, Mc Taggart R. The action research planner. 3rd ed. Victoria: Deakin University; 1998.

นิภาวรรณ ตติยนันทพร. (2565).การมีส่วนร่วมของครอบครัวและชุมชนในการป้องกันและบำบัดยาเสพติดอำเภอคอนสวรรค์ จังหวัดชัยภูมิ. วารสารศูนย์อนามัยที่ 9 . 16(2): 581-596.

กีรติยา อุ่นเจริญ. (2560). การมีส่วนร่วมของชุมชนในการดูแลผู้ป่วยโรคร่วมจิตเวชสารเสพติดในเขตโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านห้อม อำเภอเมือง จังหวัดนครพนม.สารนิพนธ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ศักดิ์ หมู่ธิมา และบูญเอื้อ บุญฤทธิ์. (2562). การจัดการแบบมีส่วนร่วมของชุมชนในการป้องกันปัญหายาเสพติดในกรุงเทพมหานคร : กรณีศึกษาเขตสวนหลวง.วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี, 13(2), 13-24.

Hair,F. J., Black, C.W., Babin, J.B. & Anderson, E.R. (2010). Multivariate Data Analysis. (7th ed). New Jersey:

พิณณรัฐ ศรีหารักษา. (2566) การดูแลผู้ป่วยจิตเภทที่เสี่ยงต่อการก่อความรุนแรง โดยการใช้การจัดการรายกรณีแบบมีส่วนร่วมในชุมชน อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร : กรณีศึกษาตำบลขมิ้น อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร. วารสารสุขภาพและสิ่งแวดล้อมศึกษา. 8(1): 430-447.

พรทิพย วชิรดิลก, ธีระ ศิริสมุด, อนุรัตน์ สมตน. (2561). ผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤตสุขภาพจิตที่เขาถึงระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินในประเทศไทย. วารสารการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต. 32(2):69-83.

Liberman. (2008). Recovery From Disability Manual of Psychiatric Rehabilitation.Washington, D. C.: American Psychiatric Pub.Hair,F. J., Black, C.W., Babin, J.B. & Anderson, E.R. (2010). Multivariate Data Analysis. (7th ed). New Jersey:

รัศมี ชุดพิมาย. (2565). การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยจิตเวชเรื้อรังกลุ่มเสี่ยงในชุมชน ด้วยกระบวนการมี ส่วนร่วมของภาคีเครือข่าย อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์. วารสารศูนย์อนามัยที่ 9. 16(3): 851-867.

หทัยกาญจน์ เสียงเพราะ. (2564). การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยจิตเวชที่กลับมารักษาซ้ำโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน. วารสารการแพทย์โรงพยาบาลศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์. 36(2): 413-426.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-08-31