ผลของโปรแกรมการรับรู้สมรรถนะแห่งตนต่อระดับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพและการควบคุม ระดับน้ำตาลในเลือดในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ในศูนย์สุขภาพชุมชนเมืองโรงพยาบาลตรัง จังหวัดตรัง

ผู้แต่ง

  • อัญชิสา ช่วยมี -
  • นันทยา เสนีย์

คำสำคัญ:

การรับรู้สมรรถนะแห่งตน, พฤติกรรมการดูแลสุขภาพ

บทคัดย่อ

     การศึกษาครั้งนี้ เป็นการศึกษาแบบกึ่งทดลอง ชนิดศึกษาสองกลุ่มวัดผลก่อนและหลังการทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบการรับรู้สมรรถนะแห่งตนต่อระดับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพ และ การรับรู้สมรรถนะแห่งตนต่อการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่เข้ารับการรักษาพยาบาลในศูนย์บริการสุขภาพ โรงพยาบาลตรัง ที่สมัครใจเป็นกลุ่มตัวอย่าง ระหว่างกลุ่มตัวอย่างที่เป็นกลุ่มทดลอง กับกลุ่มตัวอย่างที่เป็นกลุ่มควบคุม โดยคัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจง จำนวน 50 คน ให้กลุ่มตัวอย่าง 25 คนแรกเป็นกลุ่มควบคุม กลุ่มตัวอย่าง 25 คนถัดมาเป็นกลุ่มทดลอง เครื่องมือที่ใช้ในการทดลองได้แก่ โปรแกรมการรับรู้สมรรถนะแห่งตนต่อระดับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพและการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ซึ่งนำแนวคิดการรับรู้สมรรถนะแห่งตนของ Bandura (1997) มาประยุกต์ใช้ในการจัดกิจกรรมจำนวน 4 ครั้งโดยใช้เวลาในการทดลองทั้งหมด 12 สัปดาห์ เครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถามพฤติกรรมการดูแลสุขภาพ ซึ่งมีความตรงตามเนื้อหา และมีค่าความเที่ยงสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค เท่ากับ 0.88 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย (gif.latex?\bar{x}) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD.) และทดสอบนัยสำคัญทางสถิติโดยค่าที (paired sample test)

     ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างที่เป็นกลุ่มทดลองมีการรับรู้สมรรถนะแห่งตนต่อระดับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพ สูงกว่ากลุ่มตัวอย่างที่เป็นกลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และมีการรับรู้สมรรถนะแห่งตนต่อการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด สูงกว่ากลุ่มตัวอย่างที่เป็นกลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และมีค่าระดับน้ำตาลในเลือดต่ำกว่ากลุ่มตัวอย่างที่เป็นกลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-08-31