การพัฒนาโปรแกรมส่งเสริมพฤติกรรมดูแลตนเองโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน เพื่อควบคุมน้ำตาลผู้ป่วยเบาหวานโรงพยาบาลหนองหาน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสะแบง อำเภอหนองหาน จ.อุดรธานี

ผู้แต่ง

  • วลัยพร รุ่งเรือง พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ โรงพยาบาลหนองหาน อำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี
  • รศนา วรวิทย์ศรางกูร พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ (ด้านการสอน) Coresponding author
  • อรอุมา จันธานี พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสะแบง

คำสำคัญ:

โปรแกรมส่งเสริมพฤติกรรมดูแลตนเอง, การมีส่วนร่วมของชุมชน, ผู้ป่วยเบาหวาน

บทคัดย่อ

     การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม เพื่อศึกษาสถานการณ์และสภาพปัญหาการจัดการตนเองของผู้ป่วยเบาหวาน เพื่อพัฒนาและประเมินประสิทธิผลของรูปแบบการจัดการตนเองในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้ป่วยเบาหวานควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยเบาหวาน ผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้ จำนวน 35 ราย จากการคำนวนขนาดตัวอย่าง ประเมินผลโดยใช้แบบสอบถามพฤติกรรม ค่าระดับน้ำตาลสะสมในเลือด วิเคราะห์ข้อมูลด้วย สถิติเชิงพรรณนา สถิติเชิงอนุมาน paired t-test

     ผลการศึกษา  พบว่าโปรแกรมส่งเสริมพฤติกรรมดูแลตนเองโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน เพื่อควบคุมน้ำตาลผู้ป่วยเบาหวานโรงพยาบาลหนองหาน อำเภอหนองหาน จ.อุดรธานี ซึ่งประกอบด้วย 1) participation: สร้างการมีส่วนร่วมของชุมชน 2) Information: สนับสนุนข้อมูลความรู้ และ 3) Nonghan self-management: รูปแบบการจัดการตนเอง ผลการประเมินรูปแบบการจัดการตนเอง (Nonghan self-management) พบว่า พฤติกรรม 5 ด้าน คือ การจัดการตนเองด้านอาหาร ด้านการออกกำลังกาย ด้านอารมณ์ด้านการรับประทานยา ด้านการสูบบุหรี่ และดื่มสุราอยู่ระดับดี-สูงทั้งหมด และพบว่าการจัดการตนเองด้านอาหาร ด้านการออกกำลังกาย ด้านอารมณ์ และระดับน้ำตาลสะสมในเลือด แตกต่างกันจากก่อนการพัฒนารูปแบบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับนัยสำคัญ 0.05

References

Wattanayingcharoen S. Mohanamai Diabetic Patients. Mohanamai. 2000; 9(4):17-32. 2.

WDD 2013-DIABETES: PROTECT OUR FUTER. [online].[Cited 2013 Sep 22] ; Available from : URL: https://www.idf.org/ouractivities/advocacy-awareness/diabeteson-the-global-agenda.html.

Non-communicable diseases data [Internet]. Nonthaburi: Beareau of NonCommunicable Disease; 2010. [cited 2022 Mar 1]. Available from: http://www.thaincd.com/informationstatistic/non-communicable-diseasedata.php.

International Diabetes Federation. Diabetes atlas. Eighth edition. (online) 2020 (cited 2022)

ฐานข้อมูล HDC สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุรธานี เข้าถึงเมื่อวันที่ 16 พ.ค. 2566 เวลา 11.05 น. https://udn.hdc.moph.go.th/hdc/reports/report.php?cat_id=e71a73a77b1474e63b71bccf727009ce&id=186c06d932b112d342a5c133fbb4ef75

เอกสารอิเลกทรอนิคส์ . รายงานตัดนิ้วเท้า ตัดเท้า ตัดขารายใหม่ในปีงบประมาณ 2566 (ตุลาคม 2565 – พฤษภาคม 2566). สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุดรธานี เมื่อ 12 พฤษภาคม 2566.

ฐานข้อมูล HosXp version 4. โรงพยาบาลหนองหาน ณ.วันที่ 23 พฤษภาคม 2566

ธีรศักดิ์ พาจันทร์, กฤชกันทร สุวรรณพันธุ์, บุญสัน อนารัตน์, นิรันดร์ ถาละคร. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 อําเภอท่าบ่อ จังหวัดหนองคาย. วารสารศูนย์อนามัยที่ 9 ปีที่ 16 ฉบับที่ 1 มกราคม-เมษายน2565. หน้า 285-298.

Nutbeam D. Health literacy as a public health goal: a challenge for contemporary health education and communication strategies into the 21st century. Health promotion international. 2000;15: (3), 259-67.

Piliwan Yodprasit. Health Behaviors Modification Program for Self-caring of Non-insulin Dependent Diabetes Mellitus Patients. Diabetic Clinic; Chiang Rai Prachanucroa Hospital Mueang District, Chiang Rai Province: [dissertation]. Changmai:, Changmai University Of Thailand;2002.

Lampamg Provincial Health Office. Noncommunicable diseases data [Internet]. [cited 2019 Mar 1]. Available from: https://lpg.hdc.moph.go.th/hdc/main/inde x.php

Best, John. (1977).Research in Education. New Jersey:Prentice Hall, Inc.1977.

Namphathai S. The effects of a diabetes self-management program on glycemic control behaviors and hemoglobin A1c of uncontrolled type 2 diabetic patients. [dissertation]. Nakhon Pathom: Christian University of Thailand;2018.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-04-30