การพัฒนารูปแบบการปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยที่มีภาวะติดเชื้อกระแสเลือด ในหอผู้ป่วย โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชเลิงนกทา

ผู้แต่ง

  • รัตนา มั่นคง -
  • อุไรรักษ์ ผาชา
  • อินทิรา ภูสง่า

คำสำคัญ:

การปฏิบัติทางการพยาบาล, ผู้ป่วยที่มีภาวะติดเชื้อกระแสเลือด

บทคัดย่อ

     การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ มีวัตถุประสงค์ศึกษาผลของรูปแบบการพยาบาลผู้ป่วยติดเชื้อกระแสเลือดในหอผู้ป่วยที่พัฒนาขึ้น ศึกษา ระหว่างเดือนมิถุนายน 2564  - ธันวาคม 2564 กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยติดเชื้อกระแสเลือด ทั้งชายและหญิง เลือกแบบเฉพาะเจาะจงตามคุณสมบัติที่กำหนดไว้ จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล ได้แก่ แบบประเมินภาวะติดเชื้อกระแสเลือด แบบประเมินติดตามอาการต่อเนื่อง แบบประเมินการปฏิบัติกิจกรรมทางการพยาบาลตามเงื่อนไขค่าคะแนน SOS Score แบบบันทึกการปฏิบัติตามชุดการรักษา (Sepsis Bundles) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ร้อยละ และการทดสอบแมนวิทนี ยู

     ผลการศึกษา ระยะที่ 1 ปัจจัยที่มีผลต่อการดูแลผู้ป่วยติดเชื้อกระแสเลือด ได้แก่ ระยะเวลาในการวินิจฉัยภาวะติดเชื้อกระแสเลือด การเผยแพร่แนวทางการดูแลแก่พยาบาลอย่างทั่วถึง การสื่อสาร และการกำกับติดตามการปฏิบัติตามรูปแบบฯ ระยะที่ 2 รูปแบบการปฏิบัติการพยาบาล ได้แก่ 1) การใช้เครื่องมือเพื่อช่วยให้คัดกรองผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงได้รวดเร็ว 2) การอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อเสริมความรู้ที่ทันสมัยเกี่ยวกับแนวปฏิบัติของพยาบาลผู้ป่วยติดเชื้อกระแสเลือดแก่พยาบาล 4) การจัดทำคู่มือเพื่อใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติการพยาบาล และ 5) การกำหนดให้มีระบบติดตามกำกับการปฏิบัติตามรูปแบบฯ ระยะที่ 3 หลังการใช้รูปแบบ 3 เดือน พบว่า จำนวนผู้ป่วยได้รับการวินิจฉัยภาวะติดเชื้อและได้รับการพยาบาลก่อนเกิดภาวะช็อกเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (X2=13.017, p<0.05 ) จำนวนผู้ป่วยที่เกิดภาวะช็อกและเสียชีวิตจากการติดเชื้อในกระแสเลือดลดลงอยางมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (X2=10.80, X2=1.92 , p<0.05)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-08-31