การพัฒนารูปแบบการดูแลสำหรับผู้ป่วยสูงอายุที่อยู่ในภาวะพึ่งพิงด้วยกระบวนการดูแลต่อเนื่องโรงพยาบาลอุบลรัตน์

ผู้แต่ง

  • พวงเพชร จันทร์บุตร พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ โรงพยาบาลอุบลรัตน์
  • คณรัตน์ เดโฟเซซ์ พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ โรงพยาบาลอุบลรัตน์

คำสำคัญ:

รูปแบบการดูแลสำหรับผู้ป่วยสูงอายุ, ภาวะพึ่งพิง, กระบวนการดูแลต่อเนื่อง

บทคัดย่อ

     การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ โดยการพัฒนารูปแบบการดูแลสำหรับผู้ป่วยสูงอายุที่อยู่ในาวะพึ่งพิงด้วยกระบวนการดูแลต่อเนื่อง โรงพยาบาลอุบลรัตน์ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์เพื่อศึกษารูปแบบการดูแลต่อเนื่องสำหรับผู้ป่วยสูงอายุที่อยู่ในภาวะพึ่งพิง และประเมินผลลัพธ์การศึกษา กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยสูงอายุที่อยู่ในภาวะพึ่งพิงและผู้ดูแล จำนวน 30 คู่ ดำเนินการวิจัยตั้งแต่กุมภาพันธ์ 2564 -ธันวาคม 2564 เครื่องมือในการเก็บข้อมูล ได้แก่แบบสอบถามกึ่งโครงสร้าง แบบประเมินความพึงพอใจของทีมต่อการพัฒนารูปแบบ แบบประเมินกิจวัตรประจาวัน (Activity Daily Living, ADL) และแบบประเมินพฤติกรรมการดูแลสุขภาพที่บ้าน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติอนุมานได้แก่ สถิติ paired t-test

     ผลการวิจัยพบว่ารูปแบบการพัฒนา 5 ประเด็นดังนี้ 1) พัฒนารูปแบบการวางแผนจำหน่ายด้วย โมเดล UBR (U= Universal hygiiene care for dependent elderly patients/D-Method) (B=Believe in Team work) (R=Respect and customer Focus) 2) พัฒนาสมุดคู่มือการดูแลตนเองบ้าน 3) เพิ่มช่องทางการเข้าถึงและเข้ารับบริการในโรงพยาบาล 4) ติดตามโทรศัพท์ 5) มีแนวปฏิบัติบูรณาการดูแลต่อเนื่องทีมสหสาขาวิชาชีพ เมื่อทดลองใช้รูปแบบทีมพัฒนารูปแบบมีความพึงพอใจ mean =3.5 คะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการดูสุขภาพที่บ้านของผู้ป่วยสูงอายุที่อยู่ในภาวะพึ่งพิงอยู่ในระดับสูง mean=2.57 และประเมินผลการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน (ADL) โดยวัดก่อนและหลัง พบว่า ผู้สูงอายุที่อยู่ในภาวะพึ่งพิง ช่วงอายุ 60-69 ปี และ 70-79 ปี มีคะแนน ADL เพิ่มมากขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.05) ส่วนอายุ 80-89 ปี พบว่า คะแนน ADL ปกติ และ อายุ 90 ปีขึ้นไป คะแนน ADL ถดทอย ทีมพัฒนารูปแบบมีความพึงพอใจ mean=3.5 คะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการดูสุขภาพที่บ้านอยู่ในระดับสูง mean=2.57 และประเมินผลการปฏิบัติกิจวัตรประจาวัน (ADL) โดยวัดก่อนและหลังพบว่าผู้สูงอายุที่อยู่ในภาวะพึ่งพิง ช่วงอายุ 60-69 ปี และ 70-79 ปี มีคะแนน ADL เพิ่มมากขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.05) ส่วนอายุ 80-89 ปี พบว่า คะแนน ADL ปกติ และ อายุ 90 ปีขึ้นไป คะแนน ADL ถดทอย

References

มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย (มส.ผส.). สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ. 2561 [ออนไลน์]. เข้าถึงข้อมูลวันที่ 10 ธันวาคม 2565.จาก http://thai.org/? p=38670.

มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย (มส.ผส.). สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ. 2564. [ออนไลน์]. เข้าถึงข้อมูลวันที่ 10 ธันวาคม 2565.จาก http://thai.org/? p=40101.สำนักงานวิจัยและพัฒนากำลังคนด้านสุขภาพ. แผนปฏิรูปสุขภาพใหม่. [อินเตอร์เน็ต]. 2563. [ออนไลน์]. เข้าถึงข้อมูลวันที่ 10 ธันวาคม 2565.จาก: https://hrdo.org

สถาบันเวชศาสตร์สมเด็จพระสังฆราชญาณสังวรเพื่อผู้สูงอายุ. คู่มือ แนวทางการจัดบริการสุขภาพ ผู้สูงอายุในสถานบริการสุขภาพ [อินเตอร์เน็ต]. 2557.[ออนไลน์]. เข้าถึงข้อมูลวันที่ 10 ธันวาคม 2565.จาก: http://agingthai.dms.go.th/agingthai/wp-content/uploads/2021/01/book_5.pdf วารสารศูนย์อนามัยที่ 9 ปีที่ 17 ฉบับที่ 1 มกราคม-เมษายน 2566 Regional Health Promotion Center 9 Journal Vol. 17 No. 1 January-April 2023 270

สำนักงานวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพชุมชน. การพัฒนาระบบดูแลผู้สูงอายุ. [อินเตอร์เน็ต]. 2557. [ออนไลน์]. เข้าถึงข้อมูลวันที่ 10 ธันวาคม 2565.จาก:https://kb.hsri.or.th/dspace/bitstream/handle/ 11228/2903/hs1670.pdf?sequence=3&isAllowed=y

กองการพยาบาล (2563). แนวทางการจัดเก็บตัวชี้วัดการพัฒนาคุณภาพบริการพยาบาล ประจำปีงบประมาณ 2563. (พิมพ์ครั้งที่ 1) ปทุมธานี: สำนักพิมพ์ สื่อตะวันจำกัด.

ณิสาชล นาคกุล. (2018). การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยการดูแลผู้ป่วยเรื้อรังกลุ่มติดบ้าน ติดเตียง ในเขตเทศบาลนครสุราษฎ์ธานี. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข, 1(7), 36-50.

พิศสมัย บุญเลิศ, เทิดศักดิ์ พรหมอารักษ์, และศุภดี แถวเพีย. (2559). การพัฒนารูปแบบการดูแลสุขภาพอย่างต่อเนื่องสำหรับผู้สูงอายุกลุ่มติดบ้าน ติดเตียงในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านดงมัน ตำบลสิงห์โคก อำเภอเกษตรวิสัย จังหวัดร้อยเอ็ด. สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 จังหวัดขอนแก่น, 23(2), 79-87.

ระบบรายงาน [อินเทอร์เน็ต]. รพ: สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด.........; 2564 [ออนไลน์]. เข้าถึงข้อมูลวันที่ 10 ธันวาคม 2565.จาก: https://kkn.hdc.moph.go.th/hdc/main/.

ตัวชี้วัดงานเยี่ยมโรงพยาบาลอุบลรัตน์, 2563.

ธนาฒย์, ชูศักดิ์ และ อุดมศักดิ์. (2559)

อารีรัตน์ คมสว..(2557, ผลของโปรแกรมการส่งเสริมสมรรถะแห่งตนและการสนับสนุนทางสังคมต่อพฤติกรรมการควบคุมอาหารและระดับความดันโลหิตในผู้ป่วยโรคจวามดันโลหิตสูงที่ควบคุมระดับความดันโลหิตไม่ได้ วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการพยาบาลผู้ใหญ่ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัย สงขลานครินทร์, สงขลา.

บุญชม ศรีสะอาด ,2553)

นันทกาญจน์ และคณะ (20 16)

ขนิษฐา พิศฉลาด, และเกศมณี มูลปานันท์. (2559). การพัฒนารูปแบบการดูแลต่อเนื่องสำหรับผู้ป่วยเด็กโรคธาลัส ซีเมีย. พยาบาลสาร, 40(3), 96-108.

วรรณรา และกัญญา

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-04-30