การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยสูงอายุโรคหลอดเลือดสมองและผู้ดูแลระยะเปลี่ยนผ่านจากโรงพยาบาลสู่บ้าน

ผู้แต่ง

  • อินทิรา ภูสง่า -
  • รัตนา มั่นคง
  • อุไรรักษ์ ผาชา

คำสำคัญ:

การดูแลผู้ป่วยสูงอายุ, โรคหลอดเลือดสมอง, ผู้ดูแล, ระยะเปลี่ยนผ่านจากโรงพยาบาลสู่บ้าน

บทคัดย่อ

     การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและประเมินผลลัพธ์ของรูปแบบการดูแลผู้ป่วยสูงอายุโรคหลอดเลือดสมองและผู้ดูแลระยะเปลี่ยนผ่านจากโรงพยาบาลสู่บ้านที่พัฒนาขึ้น กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยสูงอายุโรคหลอดเลือดสมองที่เข้ารับการรักษาใน Stroke Unit โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช เลิงนกทา จำนวน 30 คน และผู้ดูแล จำนวน 30 คน แบบเฉพาะเจาะจงตามคุณสมบัติที่กำหนดไว้ เก็บข้อมูลจากแบบบันทึกข้อมูลทั่วไปของผู้ป่วยและผู้ดูแล แบบประเมินความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจ้าวันของผู้ป่วยสูงอายุโรคหลอดเลือดสมอง แบบบันทึกการกลับมารักษาซ้ำ และแบบประเมินความสามารถของผู้ดูแล ซึ่งเครื่องมือทั้งหมดผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่าน ตรวจสอบความเที่ยงโดยการค้านวณหาสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาคของแบบประเมินความสามารถของผู้ดูแลได้เท่ากับ .81 วิเคราะห์ข้อมูลสถิติบรรยายและใช้สถิติที

     ผลการศึกษา รูปแบบฯ ที่พัฒนาขึ้น ประกอบด้วยการดูแล 2 ระยะ คือ (1) ระยะที่ผู้ป่วยเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล โดยประเมินความต้องการของผู้ป่วยสูงอายุโรคหลอดเลือดสมองและผู้ดูแล วางแผนการดูแลระยะเปลี่ยนผ่านจากโรงพยาบาลสู่บ้าน สอนเรื่องการดูแลระยะเปลี่ยนผ่านจากโรงพยาบาลสู่บ้าน (2) ระยะการติดตามเยี่ยมที่บ้าน และการอำนวยความสะดวกทางโทรศัพท์ พบว่า คะแนนเฉลี่ยความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันของผู้ป่วยสูงอายุโรคหลอดเลือดสมองภายหลังได้รับการดูแลตามรูปแบบสูงกว่าก่อนได้รับดูแลตามรูปแบบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t = -6.45, p < .05) การกลับมารักษาซ้ำก่อนและหลังได้รับดูแลตามรูปแบบไม่มีความแตกต่างกัน และคะแนนเฉลี่ยความสามารถในการดูแลผู้ป่วยของผู้ดูแลสูงกว่าก่อนได้รับดูแลตามรูปแบบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t = -9.09, p < .05)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-08-31