การพัฒนารูปแบบการพยาบาลผู้ป่วยบาดเจ็บไขสันหลัง โรงพยาบาลพระนารายณ์มหาราช
คำสำคัญ:
รูปแบบการพยาบาล, ผู้ป่วยบาดเจ็บไขสันหลัง, ความสามารถในการดูแลตนเองบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการพยาบาลและศึกษาผลลัพธ์ของการใช้รูปแบบ การพยาบาลผู้ป่วยบาดเจ็บไขสันหลัง กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยและผู้ดูแลผู้ป่วยบาดเจ็บไขสันหลัง จำนวนกลุ่มละ 20 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลได้แก่ แบบวัดความรู้ตามรูปแบบการพยาบาล แบบวัดความสามารถของพยาบาล แบบสอบถามความพึงพอใจของพยาบาลวิชาชีพ แบบวัดความรู้ของผู้ดูแลผู้ป่วย แบบประเมินความสามารถของผู้ดูแลผู้ป่วย แบบสอบถามความพึงพอใจของผู้ดูแลผู้ป่วย และแบบบันทึกผลลัพธ์ทางคลินิก วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ การวิเคราะห์เนื้อหา สถิติเชิงพรรณนา และสถิติทดสอบค่าทีแบบคู่
ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบการพยาบาลผู้ป่วยบาดเจ็บไขสันหลังที่พัฒนาขึ้นเป็นรูปแบบตามความต้องการการดูแลตนเอง ประกอบด้วย การรับผู้ป่วย การพยาบาลระยะวิกฤต การพยาบาลระยะก่อนผ่าตัด การพยาบาลระยะหลังผ่าตัด และการฟื้นฟูสภาพ ผลลัพธ์หลังการใช้รูปแบบการพยาบาล ประกอบด้วย 1) ความรู้ของพยาบาลวิชาชีพหลังการใช้รูปแบบการพยาบาลเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05) 2) ความสามารถของพยาบาลอยู่ในระดับดีมาก 3) ความพึงพอใจของพยาบาลวิชาชีพต่อการใช้รูปแบบการพยาบาลอยู่ในระดับมากที่สุด (mean=4.28, S.D.=0.36) 4)ความรู้ของผู้ดูแลผู้ป่วยเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสาคัญทาง สถิติ (p<0.05) 5) ผู้ดูแลผู้ป่วยมีความสามารถในการดูแลผู้ป่วยได้อย่างถูกต้อง 6) ความพึงพอใจของผู้ดูแลผู้ป่วยจากการใช้รูปแบบการพยาบาลอยู่ในระดับมากที่สุด (mean=4.30 S.D.=0.28) 7) ผู้ป่วยมีความสามารถในการดูแลตนเองเพิ่มขึ้น 8) ผลลัพธ์ทางคลินิกที่สำคัญ การเกิดแผลกดทับระดับ 1 จำนวน 1 คน ไม่พบการกลับมารักษาซ้ำใน 28 วัน