การพัฒนารูปแบบการมีส่วนร่วมของครู ผู้ปกครอง ในการปรับทัศนคติของวัยรุ่นหญิง เพื่อป้องกันการตั้งครรภ์ก่อนวันอันควร อำเภอโพนสวรรค์ จังหวัดนครพนม

ผู้แต่ง

  • พัชราพร ควรรณสุ -

คำสำคัญ:

การตั้งครรภ์ก่อนวันอันควร, การป้องกันการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร, การมีส่วนร่วม

บทคัดย่อ

     การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษา ความรู้ ทัศนคติและการป้องกันการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร และประเมินผลการใช้รูปแบบการมีส่วนร่วมของครู ผู้ปกครองต่อการปรับทัศนคติของวัยรุ่นหญิง กลุ่มตัวอย่างคือ นักเรียนหญิงที่เป็นกลุ่มเสี่ยงต่อการตั้งครรภ์ คัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจง จำนวน 60 คน ดำเนินการตั้งแต่ กุมภาพันธ์ ถึง สิงหาคม 2566 ใช้ระยะเวลารวม 7 เดือน คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสถิติโดยใช้ Pair t-test กำหนดค่านัยสำคัญทางสถิติที่ P<0.05

     ผลการศึกษาพบว่า 1) ความรู้ ทัศนคติและการป้องกันการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร พบว่า ความรู้เกี่ยวกับการป้องกันการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควรโดยภาพรวม อยู่ในระดับกลาง (gif.latex?\bar{x}= 8.80, S.D. = 1.88) ทัศนคติเกี่ยวกับการป้องกันการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควรโดยภาพรวม อยู่ในระดับสูง (gif.latex?\bar{x}= 30.17, S.D. = 1.04) การป้องกันการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควรโดยภาพรวม อยู่ในระดับปานกลาง (gif.latex?\bar{x}= 70.93, S.D. = 3.63) 2) รูปแบบการมีส่วนร่วมของครู ผู้ปกครอง ในการปรับทัศนคติของวัยรุ่นเพื่อป้องกันการตั้งครรภ์ก่อนวันอันควร ประกอบด้วย 7 กิจกรรม คือ (1) การประเมิน ความรู้ ทัศนคติ และการป้องกันการตั้งครรภ์ การคืนข้อมูล และ MOU (2) การสนทนากลุ่ม ระดมความคิดเห็น (3) การให้ความรู้ ประเด็น เพศวิถีรอบด้าน (4) การให้ความรู้ ประเด็น การป้องกันการตั้งครรภ์ (5) การฝึกเชิงปฏิบัติการ ฐานเรียนรู้การป้องกันการตั้งครรภ์ (6) การติดตามเยี่ยมบ้าน (7) การประเมินผล และ 3) ผลการใช้รูปแบบการมีส่วนร่วมของครู ผู้ปกครอง ต่อการปรับทัศนคติของวัยรุ่น พบว่า ด้านความรู้เกี่ยวกับการป้องกันการตั้งครรภ์หลังการทดลองมีค่าเฉลี่ยเพิ่มขึ้นมากกว่าก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 (gif.latex?\bar{x}= 18.87, S.D. = 1.07; gif.latex?\bar{x} = 8.80, S.D. =1.88) ด้านทัศนคติเกี่ยวกับการป้องกันการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควรหลังการทดลองมีค่าเฉลี่ยเพิ่มขึ้นกว่าก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 (gif.latex?\bar{x}= 41.81, S.D. = 1.39;  gif.latex?\bar{x}= 28.65, S.D.= 1.19) และด้านการป้องกันการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควรหลังการทดลองเพิ่มขึ้นกว่าก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 (gif.latex?\bar{x}= 92.13, S.D. = 1.70 ; gif.latex?\bar{x}= 84.30, S.D. = 17.46)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-08-31