การพัฒนารูปแบบการจัดการตนเองของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 เพื่อป้องกันการเกิดโรคไตจากเบาหวาน จังหวัดนครพนม
คำสำคัญ:
โรคไตเรื้อรัง, โรคไตจากเบาหวาน, การป้องกันการเกิดโรคไตจากเบาหวาน, การพัฒนารูปแบบบทคัดย่อ
การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการตนเองของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 เพื่อป้องกันการเกิดโรคไตจากเบาหวาน และศึกษาผลของการพัฒนารูปฯ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ ทีมสุขภาพ จำนวน 30 คน ร่วมกันวิเคราะห์ สังเคราะห์ พัฒนารูปแบบฯ และกลุ่มผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ที่มารับบริการในคลินิกโรคเบาหวาน โรงพยาบาลโพนสวรรค์ จำนวน 40 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป แบบทดสอบความรู้เกี่ยวกับโรคไตจากเบาหวาน และแบบสอบถามพฤติกรรมการป้องกันการเกิดโรคไตจากเบาหวาน เครื่องมือที่ใช้ในการทดลองคือ คู่มือการจัดการตนเองเพื่อป้องกันการเกิดโรคไตจากเบาหวาน ประเมินผลก่อนและหลัง ทำการศึกษาในระหว่างเดือนมกราคม – มีนาคม 2562 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาหาความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และ dependent t-test
ผลการศึกษาพบว่า หลังการทดลองมีค่าคะแนนเฉลี่ยความรู้เกี่ยวกับโรคไตของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 มากกว่าก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (=18.57, S.D.=0.59; =14.70, S.D.=3.59) ด้านพฤติกรรมการป้องกันการเกิดโรคไตจากเบาหวานของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ของกลุ่มตัวอย่างพบว่า หลังการทดลองมีค่าคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการป้องกันการเกิดโรคไตจากเบาหวานของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 มากกว่าก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (= 94.42, S.D.=4.59; = 72.37, S.D.=6.49) และค่าเฉลี่ยดัชนีมวลกาย ระดับน้ำตาลสะสมในเลือด ความดันโลหิต ระดับไขมันในเลือด และ eGFRs พบว่า หลังการทดลองดีกว่ากว่าก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (= 21.35, S.D.=1.30, = 23.05, S.D.=1.67, = 6.82, S.D.=0.41, = 7.65, S.D.=0.60, = 123/77 ,S.D.=8.84/4.33, = 138/86, S.D.=13.44/4.03, = 130.60, S.D.=21.57, = 165.87, S.D.=24.31 และ = 90.50, S.D.=6.85, = 73.77, S.D.=9.27 ตามลำดับ)