การดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่มีภาวะแทรกซ้อนต่อเนื่องที่บ้าน : กรณ๊ศึกษา 2 ราย
คำสำคัญ:
การดูแล, ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง, ภาวะแทรกซ้อนต่อเนื่องที่บ้านบทคัดย่อ
การศึกษานี้เป็นกรณ๊ศึกษา 2 ราย มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่มีภาวะแทรกซ้อนต่อเนื่องที่บ้าน( 2 กรณีเปรียบเทียบ) ผลการศึกษาพบว่า กรณีศึกษาที่ 1 ผู้ป่วยชายไทย อายุ 58 ปี สถานภาพสมรส คู่ อาชีพรับราชการครู การศึกษาปริญญา วันที่ 25 ธันวาคม 2564 ผู้ป่วยมีอาการชักเกร็งขึ้นมาทันที ที่ลำตัวซีกขวา ไม่มีอาการกระตุก ผู้ป่วยไม่หมดสติ ไม่มีอุจจาระหรือปัสสาวะราด ตาเหลือกมองบน ชักเกร็งนาน 5 นาที ไม่มีไข้ ไม่คลื่นไส้อาเจียน ไม่มีประวัติอุบัติเหตุ ไม่เคยชักมาก่อน หลังหยุดชักมีอาการร่างกายซีกขวาอ่อนแรง อาการไม่ดีขึ้นจึงนำส่งโรงพยาบาลกาฬสินธุ์ แพทย์วินิจฉัย pontine hemorrhagic stroke ( ข้อมูลจากเวชระเบียนผู้ป่วยโรงพยาบาลกาฬสินธุ์ ) นอนโรงพยาบาลระหว่างวันที่ 25 ธันวาคม 2564 – 6 มีนาคม 2565 ระยะเวลา 71 วัน กรณีศึกษาที่ 2 ผู้ป่วยชายไทย อายุ 59 ปี สถานภาพสมรส คู่ อาชีพงานบ้าน การศึกษาประถมศึกษาปีที่ 4 ที่ สิทธิการรักษาบัตรประกันสุขภาพถ้วนหน้า 2565 ปวดศีรษะ อาเจียน 6ครั้ง ภรรยามาปลุกผู้ป่วยในห้องนอนตอนเช้า พบว่าผู้ป่วยมีอาการปวดศีรษะ ถามตอบได้ช้าลง ขยับแขนขาด้านซ้ายไม่ได้ ไม่มีปากเบี้ยว พูดชัดเจนดี จึงเรียกรถพยาบาลมารับที่บ้านผู้ป่วยนอนโรงพยาบาลวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2565 – 5 เมษายน 2565 ระยะเวลา 42 วัน แพทย์วินิจฉัย Right Thalamic Hemorrhage with Left hemiparesis (Totally dependence)