การพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยที่มีภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดอย่างรุนแรง โดย Sepsis Alert Team ในโรงพยาบาลระดับทุติยภูมิ จังหวัดมหาสารคาม

ผู้แต่ง

  • ศิริมา วิริยะ -
  • กาญจนา จันทะนุย
  • พชรวรรณ คูสกุลรัตน์

คำสำคัญ:

การติดเชื้อในกระแสเลือด, การพัฒนาระบบบริการ, การดูแลผู้ป่วย

บทคัดย่อ

     การวิจัยเชิงปฏิบัติการ( Action research) มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาระบบบริการดูแลผู้ป่วยที่มีภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดอย่างรุนแรงโดย Sepsis Alert Team และศึกษาผลลัพธ์การพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือดอย่างรุนแรงในโรงพยาบาลระดับทุติยภูมิ ดำเนินการพัฒนาระบบบริการร่วมกันโดยทีมสหวิชาชีพที่เกี่ยวข้อง ตามแนวทางขององค์การอนามัยโลก คือ “6 เสาหลักของระบบสุขภาพ( 6 Building Blocks of A health System)ดำเนินการศึกษาในเดือนตุลาคม 2563 - เดือนกันยายน 2565 ประเมินผลการพัฒนาระบบบริการจากผลลัพธ์การดูแลรักษาผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยว่ามีภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดอย่างรุนแรง ที่มารับบริการรักษาในหอผู้ป่วยใน และหอผู้ป่วยอุบัติเหตุฉุกเฉิน รวม 1,119 ราย สถิติที่ใช้ในวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ จำนวน ร้อยละ และ Chi-square ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้วิเคราะห์เนื้อหา

     ผลการศึกษา พบว่า ผลจากการดำเนินงาน ครั้งที่ 1และ 2 ปี 2564,2565 พบว่ามีการวินิจฉัยแรกรับเป็นผู้ป่วยที่มีการติดเชื้อในกระแสเลือด ร้อยละ 97.20,95.37ของผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือดทั้งหมด มีการให้สารน้ำทดแทน อย่างเพียงพอ ร้อยละ97.76,99.66 และมีการส่งเพาะเชื้อก่อนให้ยาปฏิชีวนะ ร้อยละ 96.27,98.97 และ การได้รับยาปฏิชีวนะใน 1 ชั่วโมง หลังการวินิจฉัย ร้อยละ 97.57,99.66 ซี่งผลลัพธ์เพิ่มขึ้น และมีอัตราการเสียชีวิต ร้อยละ 9.39,9.26 และอัตราผู้ป่วยได้รับการดูแลแบบภาวะวิกฤติ (ระดับ 2-3 )ได้รับการดูแลผู้ป่วยในหอผู้ป่วยวิกฤติภายใน 3 ชม คือร้อยละ 50.00,80.00 การเปรียบเทียบผลลัพธ์การพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยที่มีภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด ตาม แนวทางปฏิบัติที่พัฒนาขึ้น พบว่า ผู้ป่วยได้รับการวินิจฉัย Severe Sepsis ที่ได้รับการให้สารน้ำทดแทนอย่างเพียงพอ การส่งเพาะเชื้อก่อนให้ยาปฏิชีวนะและ การได้รับยาปฏิชีวนะใน 1 ชั่วโมง หลังการวินิจฉัยและผู้ป่วยได้รับการดูแลแบบภาวะวิกฤติ (ระดับ ๒-๓) ได้รับการดูแลผู้ป่วยในหอผู้ป่วยวิกฤติภายใน 3 ชั่วโมง มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติ (p-value < 0.05) ผลการศึกษาแสดงถึงการนำ 6 Building Blocks of A health System มาเป็นแนวทางดำเนินงาน ทำให้การเกิดการจัดบริการที่มีประสิทธิภาพ ผู้ป่วยได้เข้าถึงบริการที่รวดเร็ว ได้รับการรักษาที่มีคุณภาพ

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-08-31