ปัจจัยทำนายการปวดกล้ามเนื้อสะโพกหนีบเส้นประสาท กรณีศึกษา โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชธาตุพนม

ผู้แต่ง

  • หาญชัย อังคนาวราพันธุ์ แพทย์ชำนาญการ โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชธาตุพนม จังหวัดนครพนม
  • อรอุมา แก้วเกิด อาจารย์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีนครพนมธาตุพนม จังหวัดนครพนม
  • กรรธิมา ฝาระมี พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชธาตุพนม จังหวัดนครพนม

คำสำคัญ:

ปัจจัยทำนาย, ปวดกล้ามเนื้อ, สะโพกหนีบเส้นประสาท

บทคัดย่อ

     งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจแบบภาคตัดขวาง (Survey research by Cross-sectional study) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการเจ็บปวดกล้ามเนื้อสะโพกหนีบเส้นประสาท โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชธาตุพนม  อำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็น โรคปวดกล้ามเนื้อสะโพกหนีบเส้นประสาท (Piriformis  syndrome)  อายุ 15-59 ปี จำนวน 95 คน  เก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างเดือน 2 กุมภาพันธ์ 2566  ถึง 30 กันยายน  พ. ศ. 2566  รวมระยะเวลา 8 เดือน  เครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบเก็บข้อมูลส่วนบุคคล แบบสอบถามความเครียด แบบสอบถามคุณภาพชีวิต มาตรวัดความเจ็บปวดตารางตัวเลข 11 ระดับคะแนน  มีค่าความเชื่อมั่นสัมประสิทธิ์แอลฟาครอนบาคเท่ากับ .71, .77ตามลำดับ  ผลการศึกษาพบว่าส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 80.00 (จำนวน76 คน) และ อายุเฉลี่ย 50.91 ปี (SD=10.03) สถานภาพสมรส คู่ ร้อยละ 75.80 (จำนวน 72 คน) ระดับการศึกษาส่วนใหญ่ประถมศึกษา ร้อยละ 50.50  (จำนวน48คน)ใช้แรงงาน/ทำไร่/ทำนา/ทำสวน/รับจ้าง/รับจ้างทั่วไป ร้อยละ 49.50 (จำนวน47 คน) ส่วนใหญ่ไม่ออกกำลังกายร้อยละ 44.20 (จำนวน 42 คน )โดยคุณภาพชีวิตด้านสิ่งแวดล้อมหากเพิ่มขึ้น มีผลทำให้เกิดอาการเจ็บปวดกล้ามเนื้อสะโพก 0.86 หน่วย (95% CI: 0.77, 0.97, p=.012) แปลว่าหากผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตด้านสิ่งแวดล้อมเพิ่มขึ้นทุก 1 คะแนน จะมีผลทำให้อาการเจ็บปวดกล้ามเนื้อสะโพกลดลงประมาณ 1.16 เท่า (odds ratiorecipocal = 1.16; 95% CI: 1.03, 1.31, p=.012) และหากนำไปใช้สถานการณ์อื่นที่มีลักษณะประชากรใกล้เคียงกัน จะพบว่าอาการเจ็บปวดดังกล่าว จะลดลงราว 1.03 ถึง 1.31 เท่า ควรส่งเสริมกิจกรรมส่งเสริมคุณภาพชีวิตทั้ง 4 ด้าน ร่างกาย จิตใจ สังคมและสิ่งแวดล้อม ในผู้ป่วยที่มีความปวดกล้ามเนื้อสะโพกหนีบเส้นประสาท

References

กรมควบคุมโรค. สำนักระบาดวิทยา. รายงานผลการเฝ้าระวังโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม (เชิงรับ) พ.ศ. 2546-2552 [อินเตอร์เน็ต]. 2554 [เข้าถึงเมื่อ 5 กุมภาพันธ์ 2556]. เข้าถึงได้จาก: http://www.boe.moph.go.th/files/report/20110406_26449313pdf.

กรดา ผึ่งผาย และวริษฐา กังธีรวัฒน์ (2562) การรักษาทางกายภาพบำบัดในผู้ป่วยที่มีภาวะกล้ามเนื้อสะโพกหนีบเส้นประสาท (Piriformis syndrome) เวชบันทึกศิริราช 12(1); 39-44

Miranda, H., Viikari-juntura, E., Martikainen, R., Takala, E., and Riihimaki, H. (2002). Individual factors, occupational loading, and physical exercise as predictors of sciatic pain. Spine, 27(10), 1102-1108.

Riihimaki, H., Viikari-Juntura, E., Moneta, G., Kuha, J., Videman, T., and Tola, S. (1994). Incidence of sciatic pain among men in machine operating, dynamic physical work, and sedentary work: A three-year follow-up. Spine, 19(2), 138-142.

Warner, S., Munawar, A., Ahmad, A., Fatima, M., and Waqas, M. (2018). Prevalence of piriformis syndrome among university of Lahore male students. Rawal Medical Journal, 43(2), 306-308.

Faul, F., Erdfelder, E., Lang, A.-G. & Buchner, A. (2007). G*Power 3: A flexible sta- tistical power analysis

Othman, I.K., Mohamad, N., Sidek, S., Bhaskar, R.N., & Kuan, C.S. (2020) Risk factors associated with piriformis syndrome:A systematic reviewEngineering and Health Studies, 14(3), 215-233

กรมสุขภาพจิต. (2542). รายงานการวิจัยการพัฒนาแบบประเมินและวิเคราะห์ ความเครียดด้วยตนเองสำหรับ ประชาชนไทยด้วยคอมพิวเตอร์.พิมพ์ครั้งที่ 2. สมุทรปราการ: ทีคอม.

สุวัฒน์ มหัตนิรันดร์กุลและคณะ .(2540). เปรียบเทียบแบบวัดคุณภาพชีวิตขององค์การอนามัยโลกทุก 100 ตัวชี้วัด และ 26 ตัวชี้วัด, โรงพยาบาลสวนปรุง จังหวัดเชียงใหม่

Jensen, Chen and Brugger. (2002). 11- point box scale. Retrieved from file:///C:/Users/CCS/Downloads/Fulltext%236_300388%20(1).pdf.Bram

Hair,F. J., Black, C.W., Babin, J.B. & Anderson, E.R. (2010). Multivariate Data Analysis. (7th ed). New Jersey:

Bovenzi, M., Schust, M., Menzel, G., Hofmann, J., and Hinz, B. (2015). A cohort study of sciatic pain and measures of internal spinal load in professional drivers. Ergonomics, 58(7), 1088-1102.

กฤตพัทธ์ ฝึกฝน อภิชาต ใจใหม และสิริสุดา เตชะวิเศษ .(2022). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับระดับความปวดในผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงในชุมชนวารสารพยาบาลสงขลานครินทร์,42 (1 ), 49-60

Prasertsri N. .(2019). Pain management in the elderly. JHBCNSP.2019; 1: 1-19. Thai.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-31