การประเมินระดับแสงสว่างภายในอาคารศูนย์ฝึกอบรม
คำสำคัญ:
การประเมิน, แสงสว่าง, อาคารฝึกอบรมบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินระดับความเข้มของแสงสว่าง ภายในอาคารศูนย์ฝึกอบรม เพื่อเปรียบเทียบกับมาตรฐานตามประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานเรื่อง มาตรฐานความเข้มของแสงสว่าง และหาแนวทางในการปรับปรุงแสงสว่างภายในอาคารศูนย์ฝึกอบรม โดยใช้เครื่อง lux meter tenmars model TM-720 Serial no. 140900406 ทำการตรวจวัด ในช่วงเวลากลางวัน
จากผลการศึกษา พบว่าพื้นที่อาคารศูนย์ฝึกอบรมทั้ง 4 ชั้น ส่วนใหญ่ มีระดับความเข้มของ แสงสว่างอยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน ร้อยละ 88 ในขณะที่พบความเข้มของแสงสว่างต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน ร้อยละ 12 บริเวณพื้นที่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานสูงสุดคือ บริเวณพื้นที่ชั้น 4 ร้อยละ 100 รองลงมาบริเวณพื้นที่ ชั้น 3 ร้อยละ 93 และบริเวณพื้นที่ ชั้น 2 ร้อยละ 80 บริเวณที่มีความความเข้มของแสงภายในอาคารศูนย์ฝึกอบรมผ่านเกณฑ์มาตรฐานต่ำที่สุด คือบริเวณพื้นที่ชั้นที่ 1 คิดเป็นร้อยละ 79
References
การไฟฟ้านครหลวง. แสงสว่าง กับการใช้งานที่เหมาะสม [อินเตอร์เน็ต]. 2560 [สืบค้นเมื่อ 1 ก.ค. 2566]. เข้าถึงได้จาก : https://meaenergysavingbuilding.net/index.php
ศรุดา จิรัฐกุลธนา. แสงสว่างและพฤติกรรมของมนุษย์. PSRU Journal of Science and Technology 2563;5(1):13- 22.
วัชราภรณ์ วงศ์สกุลกาญจน์ บุษยา จูงาม และพชรกมล กลั่นบุศย์. การจัดการปัญหาแสงสว่างในสถานที่ทำงาน. วารสารความปลอดภัยและสุขภาพ 2564; 14(1): 1-12.
ขนิษฐกุล คูณเมือง นุชจรี นะรินยาและพรพรรณ สกุลคู. ประเมินความเข้มแสงสว่างเฉพาะจุดในห้องเรียน คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. วารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 2560;10(2):70-76.
กระทรวงแรงงาน. ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานเรื่อง มาตรฐานความเข้มของแสงสว่าง.
ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ 135 ตอนพิเศษ 39 ง (ลงวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2561)
บริษัทโคเน่ จำกัด(มหาชน) [อินเตอร์เน็ต]. 2560 [สืบค้นเมื่อ 1 ก.ค. 2566]. เข้าถึงได้จาก : https://www.kone.co.th
กระทรวงแรงงาน. ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานเรื่อง หลักเกณฑ์วิธีการตรวจวัดและการวเคราะห์สภาวะการทำงานเกี่ยวกับระดับความร้อน แสงสว่างหรือเสียงรวมทั้งระยะเวลาและประเภทกิจการทต้องดำเนินการ. ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 135 ตอนพิเศษ 57 ง (ลงวันที่ 12 มีนาคม 2561)