การพยาบาลผู้ป่วยที่มีภาวะทางเดินหายใจส่วนบนอุดกั้นจากฝีในช่องว่างใต้ขากรรไกรล่าง

ผู้แต่ง

  • ณัฐชญา กษิณศรี พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ หอผู้ป่วยโสต ศอ นาสิก จักษุ โรงพยาบาลเทพรัตน์นครราชสีมา

คำสำคัญ:

ภาวะทางเดินหายใจส่วนบนอุดกั้น, ภาวะใส่ท่อช่วยหายใจยาก, ติดเชื้อฝีในช่องว่างใต้ขากรรไกรล่าง

บทคัดย่อ

     การศึกษานี้เป็นกรณีศึกษามีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการพยาบาลผู้ป่วยที่มีภาวะทางเดินหายใจส่วนบนอุดกั้นจากการติดเชื้อฝีในช่องว่างใต้ขากรรไกรล่าง และเพื่อเป็นแนวทางสำหรับบุคลากรด้านการพยาบาลในการประเมิน เฝ้าระวังการ และให้การพยาบาลอย่างเหมาะสม และถูกต้อง ศึกษาโดยการคัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจงผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์ว่ามีภาวะ Upper airway obstruction จากการติดเชื้อฝีในช่องว่างใต้ขากรรไกรล่าง ในหอผู้ป่วยโสต ศอ นาสิก จักษุ โรงพยาบาลเทพรัตน์นครราชสีมา

     ผลการศึกษา พบว่า ผู้ป่วยหญิงไทย อายุ 32 ปี รับส่งต่อจากโรงพยาบาลชุมชน มาด้วยอาการสำคัญ ไข้ คางบวมมา 1 สัปดาห์ก่อนมาโรงพยาบาล ร่วมกับ มีไข้ ไอแห้งๆ กลืนน้ำลายแล้วเจ็บคอ มีฟันผุ ใต้คางซ้ายบวมแดงร้อน เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล วันที่ 5 พฤษภาคม 2566 Dx. Lt.Submandibular abcess ผู้ป่วยปฏิเสธโรคประจำตัว ขณะผู้ป่วยอยู่ในความดูแลได้รับยาปฏิชีวนะทางหลอดเลือดดำ ถอนฟัน และการผ่าตัดระบายหนอง หลังผ่าตัดพบปัญหาทางการพยาบาลที่สำคัญ คือ ภาวะพร่องออกซิเจน เนื่องจากภาวะ upper airway obstruction, มีภาวะใส่ท่อช่วยหายใจยากเนื่องจากเนื้อเยื่อบริเวณทางเดินหายใจส่วนต้นบวมและอ้าปากได้น้อย, มีภาวะน้ำตาลในเลือดสูง ,เสี่ยงหย่าเครื่องช่วยหายใจไม่สำเร็จ และมีภาวะเครียดและวิตกกังวลจากการเจ็บป่วย และได้รับการ Re-intubation ย้ายไปหอผู้ป่วย ICU ใช้เครื่องช่วยหายใจ จำนวน 6 วัน ผู้ป่วยปลอดภัยผ่านพ้นระยะวิกฤต อาการดีขึ้นตามลำดับ และย้ายกลับหอผู้ป่วยศัลยกรรมหญิง แพทย์อนุญาตให้กลับบ้านได้ รวมนอนพักรักษาที่ในโรงพยาบาล 11 วัน นัดติดตามอาการที่แผนกทันตกรรม และแผนกอายุรกรรม วันที่ 29 พฤษภาคม 2566

References

กิตติ จันทรพัฒนา. (2561). ก้อนที่ลำคอ Neck mass. สงขลา. สหมิตรพัฒนาการพิมพ์.

ขวัญฤทัย พันธุ. (2564). การดูแลผู้ป่วยที่ใช้เครื่องช่วยหายใจ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

จิราพร ตระการจันทร์สิริ. (2566). การติดเชื้อในช่องเยื่อหุ้มคอชั้นลึกและปัจจัยที่ทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนในโรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร. บูรพาเวชสาร, 10(1), 38-53.

จีระสุข จงกลวัฒนา และ โชคชัย เมธีไตรรัตน์. (2564). โรค หู คอ จมูก : สำหรับนักศึกษาแพทย์และแพทย์เวชปฏิบัติทั่วไป เล่ม 1. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ศิริราช คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล.

ชลธิชา ศรีวานิชภูมิ. (2564). ทางเดินหายใจส่วนต้นอุดกั้นเฉียบพลัน Acute upper airway obstruction. พะเยา. พิมพ์ดี เซ็นเตอร์ พลัส.

ปานดวงใจ ไทยดํารงค์เดช. (2565). การพยาบาลผู้ป่วยที่มีความผิดปกติระบบหายใจ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พิมวิชญา ซื่อทรงธรรม, สุพจน์ เจริญสมบัติอมร, จิรพงษ์ อังอะรา. การอักเสบติดเชื้อในช่องคอชั้นลึกในคณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช. วชิรเวชสารและวารสารเวชศาสตร์ เขตเมือง. 2561; 62: 365-74.

รัชดาพร รุ้งแก้ว. การศึกษาย้อนหลังการอักเสบติดเชื้อบริเวณช่องเยื้อหุ้มคอชั้นลึกของผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษา แผนกผู้ป่วยใน กลุ่มงานโสต ศอ นาสิก โรงพยาบาลศรีษะเกษ ระหว่างปี พ.ศ. 2560-2562. วารสารสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น. 2563; 2: 213-28.

สุมล มันทะกะ,จิตสุภา นิธิอุทัย.การจัดการทางหายใจในผู้ป่วย หู คอ จมูก ที่มีภาวะทางหายใจอุดกั้นฉียบพลัน.กลุ่มงานการพยาบาลวิสัญญี กลุ่มการกิจค้านการพยาบาล โรงพยาบาลราชบุรี ราชบุรี ประเทศไทย. วสัญญีสาร.2564;47(3)271-9.

สุมิตรา ประเทพ. (2565). การจัดการทางเดินหายใจแบบฉุกเฉิน Emergency airway management. สงขลา. คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

อรัญ คำภาอินทร์. ลักษณะการติดเชื้อในช่องคอชั้นลึกระหว่างผู้ป่วยโรคเบาหวานและไม่เป็นเบาหวาน ในโรงพยาบาลเพชรบูรณ์. วารสารวิทยาศาสตร์สุขภาพและวิจัยทางการแพทย์. 2021; 36: 41-51.

Arne J, Descoins P, Fusciardi J, et al. Preoperative assessment for difficult intubation in general and ENT surgery : predictive value of a clinical multivariate risk index. Br J Anaesth 1998;80:140-6.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-31

How to Cite

กษิณศรี ณ. (2023). การพยาบาลผู้ป่วยที่มีภาวะทางเดินหายใจส่วนบนอุดกั้นจากฝีในช่องว่างใต้ขากรรไกรล่าง. วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพชุมชน, 8(3), 228–237. สืบค้น จาก https://he03.tci-thaijo.org/index.php/ech/article/view/1759