การปนเปื้อนของฟอร์มาลินและบอแรกซ์ในอาหาร เขตตำบลอู่ทอง อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี
คำสำคัญ:
การปนเปื้อน, ฟอร์มาลิน, บอแรกซ์, ความปลอดภัยด้านอาหารบทคัดย่อ
การศึกษานี้เป็นการศึกษาวิจัยเชิงสำรวจมีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจการปนเปื้อนของฟอร์มาลินและบอแรกซ์ในอาหารและวัตถุดิบประกอบอาหารซึ่งจำหน่ายในตำบลอู่ทอง อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี เก็บตัวอย่างด้วยวิธีสุ่มอย่างง่ายโดยวิธีจับสลากจากแผงค้าในตลาดสด ตลาดนัดและร้านรถเข็นเร่ จำนวน 10 ร้าน ร้านละ 1 ตัวอย่าง การปนเปื้อนสารฟอร์มาลินทดสอบในตัวอย่าง 6 ชนิดประกอบด้วยกุ้งสด ปลาหมึกสด ปลาหมึกกรอบ เห็ดออรินจิ เห็ดหอมแห้ง และเห็ดหูหนูขาวแห้ง อย่างละ 10 ตัวอย่าง ส่วนการปนเปื้อนสารบอแรกซ์ทดสอบในตัวอย่าง 7 ชนิด ประกอบด้วยเนื้อหมูสด เนื้อหมูบด ลูกชิ้นหมู ลูกชิ้นปลา มะม่วงดอง องุ่นดอง และมะดันดอง อย่างละ 10 ตัวอย่าง จากนั้นคำนวณร้อยละของการปนเปื้อนของตัวอย่างแต่ละชนิด การตรวจหาฟอร์มาลินเชิงคุณภาพจาก 60 ตัวอย่าง พบการปนเปื้อนฟอร์มาลินหรือฟอร์มาลดีไฮด์ 15 ตัวอย่าง (ร้อยละ 25) โดยพบมากที่สุดในเห็ดหอมแห้ง 8 ตัวอย่าง (ร้อยละ 80) ปลาหมึกสด 4 ตัวอย่าง (ร้อยละ 40) ปลาหมึกกรอบ 2 ตัวอย่าง (ร้อยละ 20) และเห็ดหูหนูขาวแห้ง 1 ตัวอย่าง (ร้อยละ 10) ส่วนตัวอย่างที่ตรวจหาบอแรกซ์เชิงคุณภาพ รวม 70 ตัวอย่าง ไม่พบการปนเปื้อนบอแรกซ์
References
กองสุขาภิบาลอาหาร. สถานการณ์ความปลอดภัยอาหาร [อินเทอร์เนต]. 2565 [เข้าถึงเมื่อ 13 พ.ย. 2566]. เข้าถึงได้จาก: http://foodsanitation.bangkok.go.th/content/index/year_report_food
กระทรวงสาธารณสุข. ประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 151) พ.ศ. 2536 เรื่องกำหนดวัตถุห้ามใช้ในอาหาร. ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่111, ตอนพิเศษ 9 ง (ลงวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2537).
The National Institute for Occupational Safety and Health (NIOSH). Formaldehyde [internet]. 2019; [cited 2023
Nov 13]. Available from URL: https://www.cdc.gov/niosh/topics/formaldehyde/default.html#:~:text=It%20is%20used%20in%20the,throat%2C%20lungs%2C%20and%20eyes.
อดุลย์ บุญเฉลิมชัย, กวิสรา กันปี, ธนัชชา ดายัง, นาฎนภา ตันกายา, วารี ทวีปัญญาศาสน์, สวรรยา พงศ์ปริตร, และคณะ. กรณีศึกษาการตรวจหาปริมาณสารฟอร์มาลินที่ปนเปื้อนในอาหารทะเลสดจากตลาดสดในจังหวัดที่ห่างไกลจากพื้นที่ชายฝั่งทะเล. วารสารวิทยาศาสตร์บูรพา 2562;24(3):1111-9.
OECD SIDS. Formaldehyde. UNEP Publications, 2002. [cited 2023 Nov 13]; [395 screens]. Available from: URL:
https://hpvchemicals.oecd.org/ui/handler.axd?id=5525377e-1442-43d0-8c76 f8cacfadf8bb#:~:text=Formaldehyde%20had%20acute%20effects%20in,%2Fm3%20(480%20ppm)
United States Environmental Protection Agency. Formaldehyde. Technology transfer network – Air toxic web site [internet]. 2000; [cited 2023 Nov 13]; [3 screens]. Available from URL: https://www.epa.gov/sites/default/files/2016-09/documents/formaldehyde.pdf
มาลินี ฉินนานนท์. การวิเคราะห์ปริมาณบอแรกซ์ในเนื้อสัตว์และลูกชิ้นที่จำหน่ายในจังหวัดตรัง. วารสารวิจัยราชมงคลกรุงเทพ 2560;11(1):55-61.
ภูมภัสส์ พุทธ์ผดุงวิพล, สุนิสา ชุ่มชื่น, ฐิติมา โทนอ่อน, วิริยา พูประเสริฐผล, พรนภัส ปันทะนะ, ณัฐชยากร เนตรวงศ์, และคณะ.การตรวจการปนเปื้อนสารฟอร์มาลินในปลาหมึกสดและกุ้งสดในพื้นที่ชุมชนเมืองเอก จังหวัดปทุมธานี. ใน: การประชุมวิชาการระดับชาติ มหาวิทยาลัยรังสิต ประจําปี 2559 ครั้งที่ 6; 29 เมษายน 2559; ปทุมธานี. ปทุมธานี: สถาบันวิจัยมหาวิทยาลัยรังสิต; 2559. หน้า 41-8.
กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์. คู่มือการใช้ชุดทดสอบอาหาร [อินเทอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 28 พ.ย. 2566]. เข้าถึงได้จาก: http://bqsf.dmsc.moph.go.th/bqsfWeb/index.php/food-testkit-book/
รัฐพงษ์ กันสุทธิ. การวิเคราะห์หาปริมาณสารฟอร์มาลดีไฮด์ในอาหารทะเลที่จำหน่ายในตลาดเมืองใหม่ จังหวัดเชียงใหม่.[วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต]. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2553.
มาลี เจริญวิทย์วรกุล. การวิเคราะห์ปริมาณกรดบอริคในอาหาร. วารสารกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ 2543;42(1):72-81.
อัมพร สัจจวีรวรรณ และกล้าณรงค์ อินต๊ะวงค์. พฤติกรรมการบริโภคของนิสิตมุสลิมและการปนเปื้อนฟอร์มาลินในอาหารทะเลจากตลาดนัดในพื้นที่รอบ ๆ มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น จังหวัดกาญจนบุรี. วารสารคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา 2564;29(1):56-66.
ธินกร ไฝเพชร. การตรวจสารฟอร์มาลินในอาหารทะเลบริเวณพื้นที่ตลาด อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี. วารสารสภาการสาธารณสุขชุมชน 2563;2(2):26-36.
Centre for Food Safety. Foods Known to Contain Naturally Occurring Formaldehyde. [cited 2023 Nov 13]; [2 screens]. Available from: https://www.cfs.gov.hk/english/whatsnew/whatsnew_fa/files/formaldehyde.pdf
Yeh TS, Lin TC, Chen CC, and Wen HM. Analysis of free and bound formaldehyde in squid and squid products by gas chromatography-mass spectrometry. J Food Drug Anal 2013;21:190-7.
Zhang X, Shen X, Wang Y, Cai Y, and Huang D. The research progress of detection method of formaldehyde in food. Proceeding of the 2017 2nd International conference on civil transportation and environmental engineering (ICCTE 2017) [cited 2023 Nov 13]; 135: [5 screens]. Available from URL: https://www.atlantis-press.com/article/25878899.pdf
ชวัลรัตน์ สมนึก. การปนเปื้อนสารบอแรกซ์ในตัวอย่างอาหารบริเวณเขตชุมชนเมืองจันทบุรี. วารสารวิจัยรำไพพรรณี 2554;5(3):106-110.
ฮูดา ดีเยาะ, การีสมะห์ มะแซ, ประยูร ดำรงรักษ์, และอิมรอน มีชัย. การตรวจหาบอแร็กซ์ในผลไม้ดองและของหวานในเขตเทศบาลนครยะลาด้วย ยูวี-วิซิเบิล สเปกโทรโฟโตมิเตอร์. ใน: ประชุมวิชาการระดับชาติ มหาวิทยาลัยฟาฎอนี ครั้งที่ 6 ประจำปี 2560 เรื่อง “สร้างสรรค์งานวิจัยเพื่อขับเคลื่อนประเทศสู่ความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืนในยุค Thailand 4.0”; 18 ตุลาคม 2560; ยะลา. ยะลา: มหาวิทยาลัยฟาฏอนี; 2560. หน้า 1200-1214.