ผลของการใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลการให้ยาระงับความรู้สึกด้วยการฉีดยาชาเข้าช่องไขสันหลังในผู้ป่วยผ่าตัดคลอดทางหน้าท้อง โรงพยาบาลร้อยเอ็ด

ผู้แต่ง

  • นภัทร พรทินผล โรงพยาบาลร้อยเอ็ด จังหวัดร้อยเอ็ด
  • ละอองดาว สุขโต โรงพยาบาลร้อยเอ็ด จังหวัดร้อยเอ็ด

คำสำคัญ:

แนวปฏิบัติการพยาบาล, บล็อกกระดูกสันหลัง, ผ่าตัดหน้าท้อง

บทคัดย่อ

     บทนำ: การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลการให้ยาระงับความรู้สึกด้วยการฉีดยาชาเข้าช่องไขสันหลังในผู้ป่วยผ่าตัดคลอดทางหน้าท้อง โรงพยาบาลร้อยเอ็ด

     วิธีการศึกษา: มีกลุ่มตัวอย่างแบ่งเป็นกลุ่มละทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบ จำนวน 30 คนต่อกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือแบบบันทึกและและแบบสอบถาม การวิเคราะห์เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยผลของการใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลในการระงับความรู้สึกด้วยการฉีดยาชาเข้าช่องไขสันหลัง ก่อนและหลังการใช้แนวทางปฏิบัติ โดยใช้สถิติ Paired sample t–test กำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05

          ผลการศึกษา: เปรียบเทียบความแตกต่างเฉลี่ยของกลุ่มทดลอง พบว่า หลังการทดลองเพิ่มขึ้นมากกว่าก่อนทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 ประกอบด้วย 1) ความพึงพอใจของของผู้ป่วยหลังการทดลอง มีค่าเฉลี่ย 4.63 (S.D.= 0.23) และก่อนการทดลอง มีค่าเฉลี่ย 4.10 (S.D.= 0.37) 2) การปฏิบัติก่อนให้ยารยะงับความรู้สึก หลังการทดลอง มีค่าเฉลี่ย 0.87 (S.D.= 0.88) และก่อนการทดลอง 0.83 (S.D.= 0.13) 3) การปฏิบัติหลังให้ยารยะงับความรู้สึก หลังการทดลอง มีค่าเฉลี่ย 0.77 (S.D.= 0.21) และก่อนการทดลอง มีค่าเฉลี่ย 0.69 (S.D.= 0.31) 4) ผลลัพธ์ก่อนให้ยารยะงับความรู้สึก หลังการทดลอง มีค่าเฉลี่ย 0.86 (S.D.= 0.31) และก่อนการทดลอง มีค่าเฉลี่ย 0.83 (S.D.=0.10) และ 5) ผลลัพธ์หลังให้ยาระงับความรู้สึก หลังการทดลอง มีค่าเฉลี่ย 0.79 (S.D.= 0.13) และก่อนการทดลอง มีค่าเฉลี่ย 0.63 (S.D.= 0.18)

References

สมนพร บุญยะรัตเวช, สุพจน์ ศรีมหาโชตะ และเทวัญ สุวานิช. การเปรียบเทียบประสิทธิภาพของเครื่องมือถ่างลิ้นหัวใจโลหะกับบอลลูนของอิโนอุเอะในการรักษาโรคลิ้นหัวใจไมตรัลตีบในด้านสมรรถภาพการออกกำลังกายและคุณภาพชีวิต วารสารโรคหัวใจ; 2548:18(4), 65-70.

บุณฑริกา อาจนาเสียว, ลัดดา อุ่นศรี, วนิดา ผลุงเวียง และชาญ กุศลเลิศจริยา. (2565). ภาวะความดันโลหิตต่ำ หลังการระงับความรู้สึกโดยวิธีฉีดยาชาเข้าช่องน้ำไขสันหลังส่วนล่าง ด้วยการให้สารน้ำคอลลอยด์ชนิดเจลาตินในช่วงก่อนระงับความรู้สึกร่วมกับยาฟีนิลเอฟรินขณะทำการระงับความรู้สึก เปรียบเทียบกับการให้สารน้ำคอลลอยด์ชนิดเจลาตินอย่างเดียว ในผู้ป่วยที่มารับการผ่าตัดคลอดบุตรทางหน้าท้อง. ชัยภูมิเวชสาร. 2565;42(2): 12-21 [เข้าถึงเมื่อ 11 พ.ค. 2566]. เข้าถึงได้จาก:https://thaidj.org/index.php/CMJ/ article/view/ 12717/10785

สราวุฒิ สีถาน. ผลของโปรแกรมการเตรียมความพร้อมก่อนผ่าตัดต่อการฟื้นตัวในผู้ป่วยผ่าตัดช่องท้อง. วารสาร มฉก. วิชาการ. 2560; 20(40): 101-113

ชนิดา อนุวัธนวิทย. การศึกษาผลการให้ยาระงับความรู้สึกทางช่องไขสันหลังในหญิงตั้งครรภ์ที่เข้ารับการผ่าตัดคลอดใน โรงพยาบาลตราด. วารสารศูนย์การศึกษาแพทยศาสตร์คลินิก โรงพยาบาลพระปกเกล้า, 2555;29: 123-132

ศูนย์ข้อมูลโรงพยาบาลร้อยเอ็ด. สถิติหญิงตั้งครรภ์ที่มาผ่าตัดคลอด ระหว่างปี พ.ศ. 2562 - พ.ศ. 2566. โรงพยาบาลร้อยเอ็ด; 2566.

วิลาวรรณ อัศวสุดสาคร, มณฑิชา เจนพานิชทรัพย์ สุภวรรณ แก้วอำไพ และเชาวน์วัศ พิมพ์รัตน์ การพัฒนารูปแบบการจัดบริการพยาบาลผู้ป่วยที่ได้รับการระงับความรู้สึก ในการผ่าตัดแบบวันเดียวกลับ โรงพยาบาลบุรีรัมย์. วารสารกรมการแพทย์, 2564; 46(3): 8-25 [เข้าถึงเมื่อ 5 ก.ค. 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/JDMS/article/download/253720/173382/927991

ปริยชาต์ สธนเสาวภาคย์. ภาวะความดันเลือดต่ำภายหลังได้รับการฉีดยาชาเข้าช่องน้ำไขสันหลังของผู้ป่วยในโรงพยาบาลพระจอมเกล้า. วิสัญญีสาร, 2554; 37(2): 18-25.

วัชริน สินธวานนท์. การประเมินและเตรียมผู้ป่วยก่อนให้ยาระงับความรู้สึก. ในวิสัญญีวิทยาขั้นต้น. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550.

อัจฉรา มโนชมภู. ผลของการใช้โปรแกรมการเตรียมผู้ป่วยต่อการลดภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยที่ได้รับยาระงับความรู้สึกทางไขสันหลัง โรงพยาบาลป่าซาง จังหวัดลำพูน. วารสารวิจัยการพยาบาลและการสาธารณสุข, 2566; (3)2: 63-77. [เข้าถึงเมื่อ 20 ก.ค. 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/jnphr/issue/download/18019/5382

ไมตรี ยอดแกว้ และคณะ. การทบทวนวรรณกรรม : แนวทางปฏิบัติการพยาบาลเพื่อลดความวิตกกังวลขณะผ่าตัด และระงับความรู้สึกทางช่องน้ำไขสันหลัง. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์, 2553; (2)2:50-70.

ลัดดาวัลย์ พรรณสมัย, จันศรี อุจันทึก, วราภรณ์ จีนเจนกิจ, นุชนาฎ บุโฮม, ปานทิพย์ ปูรณานนท์ และอัจฉรา มีนาสันติรักษ์. (2560). รูปแบบการเตรียมความพร้อมผู้ป่วยสูงอายุก่อนให้การระงับความรู้สึก เพื่อผ่าตัด ของวิสัญญีพยาบาล. วารสารโรงพยาบาลมหาสารคาม, 2560;14(3): 76-89. [เข้าถึงเมื่อ 23 ก.ค. 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/MKHJ/article/view/199338/139095

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-31