การพยาบาลผู้ป่วยเนื้องอกเยื่อหุ้มสมองที่ได้รับยาระงับความรู้สึกแบบทั่วร่างกาย เพื่อผ่าตัดเปิดกะโหลกศีรษะในโรงพยาบาลกาฬสินธุ์: กรณีศึกษา 2 ราย
คำสำคัญ:
เนื้องอกเยื่อหุ้มสมอง, การผ่าตัดเปิดกะโหลกศีรษะ, การระงับความรู้สึกแบบทั่วร่างกาย, การพยาบาลบทคัดย่อ
การศึกษาผู้ป่วยจำนวน 2 รายที่มารับการผ่าตัดเปิดกะโหลกศีรษะในโรงพยาบาลกาฬสินธุ์เดือนพฤษภาคม – เดือนสิงหาคม พ.ศ.2566 โดยทำการศึกษาจากเวชระเบียน การสัมภาษณ์ผู้ป่วยและญาติ รวมทั้งการสังเกตแบบมีส่วนร่วม รวบรวมข้อมูลวิเคราะห์ถึงปัญหา ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาลและการให้ยาระงับความรู้สึก ผู้ป่วยรายที่ 1 เพศหญิงเป็นผู้สูงอายุ มีโรคประจำตัวเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ตรวจพบเป็น Meningioma at Right frontal ทำผ่าตัด Craniectomy with removal tumor ในระหว่างการผ่าตัดมีการสูญเสียเลือดน้อย สัญญาณชีพคงที่ สามารถถอดท่อช่วยหายใจได้ ย้ายกลับหอผู้ป่วยสามัญได้ ผู้ป่วยรายที่ 2 เพศหญิงเป็นผู้ป่วยอายุน้อย ไม่มีโรคประจำตัว ตรวจพบเป็น Right frontal meningioma with brain herniation ทำผ่าตัด Right Craniectomy with tumor removal with cranioplasty ใช้เวลาผ่าตัดนาน ระหว่างการผ่าตัดมีการเสียเลือดปริมาณมาก สัญญาณชีพไม่คงที่ หลังผ่าตัดสำเร็จคาท่อช่วยหายใจนำส่งผู้ป่วยไปหอผู้ป่วยหนักศัลยกรรม หลังผ่าตัดพบว่าผู้ป่วยทั้ง 2 รายสามารถพักฟื้นและจำหน่ายกลับบ้านได้ โดยไม่พบภาวะแทรกซ้อนจากการผ่าตัดและการให้ยาระงับความรู้สึก
ผลการศึกษาพบว่าผู้ป่วยทั้ง 2 รายเข้ารับการผ่าตัด โดยวิสัญญีแพทย์วางแผนการให้ยาระงับความรู้สึกแบบทั่วร่างกายเหมือนกันทั้ง 2 ราย แต่ผู้ป่วยมีพยาธิสภาพของโรค ความรุนแรง โรคประจำตัว อายุ ที่แตกต่างกัน วิสัญญีพยาบาลจึงมีบทบาทสำคัญในการช่วยให้ยาระงับความรู้สึกและวางแผนให้การพยาบาลที่เหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละรายทั้งก่อน ขณะและหลังการให้ยาระงับความรู้สึก เพื่อลดความเสี่ยงและการเกิดอุบัติการณ์ที่ไม่พึงประสงค์จากการให้ยาระงับความรู้สึก
References
นลินี พสุคันธภัค, วันเพ็ญ ภิญโญภาสกุล. แนวทางการพยาบาลผู้ป่วยผ่าตัดเนื้องอกสมองสำหรับพยาบาลทั่วไป. กรุงเทพมหานคร : ธนาเพรส; 2557.
พิมพญาภรณ์ ทรัพย์มีชัย. ปัจจัยทำนายสภาวะส่วนบุคคล ความทุกข์ทรมานจากอาการและพฤติกรรมการจัดการต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยเนื้องอกสมอง.[อินเตอร์เนต]. 2561 [เข้าถึงเมื่อ 10 ธ.ค. 2562]. เข้าถึงได้จาก:http//etesisarchive.library.tu.ac.th/thesis/2018/ TU_2018_5814032040_10679_11254.pdf
รุ่งศักดิ์ ศิวานุวัฒน์. Central Nervous System tumor. ใน : สิทธิพร จิตตมิตร, พัฒน์พงศ์ นาวีเจริญ, บรรณาธิการ. ตำราศัลยศาสตร์ ภาค 2. พิมพ์ครั้งที่ 13. กรุงเทพมหานคร : ไพลินบุ๊คเน็ต; 2558. หน้า 501-2.
Kaye AH. Brain tumor.2nd ed. New york: Churchill Livingstone, 2002.
Armstrong TS, Cron SG, Bolanos EV, Gilbert MR, Kag D-H. Risk factors for fatigue severity in primary brain tumor patients. Cancer 2010;1:2707-15.
สถาบันประสาทวิทยา กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางการพยาบาลผู้ป่วยผ่าตัดเนื้องอกสมองสำหรับพยาบาลทั่วไป.นนทบุรี: สถาบันประสามวิทยา; 2557
สุจิตรา ลิ้มอำนวย, ชวนพิศ ทำนอง. การพยาบาลผู้ป่วยที่วิกฤติ.พิมพ์ครั้งที่ 7 ขอนแก่น: คลังนานาวิทยา; 2556
อังคณา เหลืองนทีเทพ. การให้ยาระงับความรู้สึกสำหรับศัลยกรรมออร์โธปิดิก. ใน: อังกาบปราการรัตน์, วิมลลักษณ์ สนั่นศิลป์, ศิริลักษณ์ สุขสมปอง, ปฏิภาณ ตุ่มทอง, บรรณาธิการ. ตำราวิสัญญีวิทยา คณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล.พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ: เอพลัสพริ้นท์; 2556.หน้า 418-22.
อัตถพร บุญเกิด. โรคเนื้องอกสมอง (Brain tumor) [อินเตอร์เนต]. 2559 [เข้าถึงเมื่อ 5 ก.ค. 2562]. เข้าถึงได้จาก http://med.mahidol.ac.th/surgery/site/default/files/pupbic/pdf/PDFneuro/4.pdf
longo DL. 369 Seizures and Epilepsy. Harrison’s principles of internal medicine. 18th ed. New York: McGraw-Hill; 2021. P.3258.