กรณีศึกษา: การพยาบาลผู้ป่วยโรคนิ่วในท่อไตที่ได้รับการสลายนิ่วด้วยการส่องกล้อง และมีภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด

ผู้แต่ง

  • พานี ชื่นชมภู พยาบาลวิชาชีพ กลุ่มการพยาบาล โรงพยาบาลสมเด็จพระพุทธเลิศหล้า

คำสำคัญ:

โรคนิ่วในท่อไต, การสลายนิ่วด้วยการส่องกล้อง, ภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด

บทคัดย่อ

     การศึกษานี้เป็น กรณีศึกษา มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาปัญหาและการวางแผนพยาบาลผู้ป่วยโรคนิ่วในท่อไตที่ได้รับการสลายนิ่วด้วยการส่องกล้องและมีภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด โดยศึกษาในผู้ป่วยหญิง อายุ 52 ปี มีโรคประจำตัว คือ โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง 5 สัปดาห์ก่อนมาโรงพยาบาล มีอาการปวดท้อง มีไข้ หนาวสั่น แพทย์ส่งตรวจ CT KUB

     ผลการศึกษา พบว่า วินิจฉัยโรคครั้งแรกเป็นนิ่วในไตข้างขวา และวินิจฉัยโรคครั้งสุดท้ายเป็นนิ่วในท่อไตข้างขวา ให้รักษาด้วยวิธีทำผ่าตัดสลายนิ่วโดยการส่องกล้องเข้าไปในท่อไต โดยมีแผนการพยาบาลที่สำคัญในระยะก่อนผ่าตัด ได้แก่ การลดการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ ลดความปวดจากก้อนนิ่ว การเตรียมความพร้อมด้านร่างกายและจิตใจก่อนการผ่าตัด  ระยะหลังผ่าตัด 1 ชั่วโมง ได้แก่ การเฝ้าระวังอันตรายจากฤทธิ์ยาระงับความรู้สึกตกค้าง ลดความปวดจากการสลายก้อนนิ่ว การเฝ้าระวังภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดจากการสลายนิ่วโดยการส่องกล้อง  การดูแลให้ผู้ป่วยปลอดภัยจากการติดเชื้อในกระแสเลือดทั้งขณะอยู่ในความดูแลและระหว่างการเคลื่อนย้ายไปหอผู้ป่วยหนัก ระยะจำหน่าย ได้แก่ การดูแลฟื้นฟูสภาพร่างกาย และแก้ไขกับปัญหาที่เหลืออยู่ ได้แก่ โลหิตจาง  ท้องผูก ขาดความรู้ในการป้องกันกลับเป็นนิ่วในทางเดินปัสสาวะซ้ำ ซึ่งทุกปัญหาได้รับการแก้ไขจนหมดไป แพทย์จึงจำหน่ายผู้ป่วยกลับบ้าน

References

เชษฐา ฐานคร. ผลการรักษาผู้ป่วยนิ่วในท่อไตด้วยวิธีส่องกล้องท่อไตและวิธีการสลายนิ่วด้วยคลื่นความถี่ต่ำที่มีพลังงานสูงในโรงพยาบาลชัยภูมิ. ชัยภูมิเวชสาร 2564; 30-41.

Rashid AO.Largest ureteric stone in Iraq. [internet]. 2020 [cited 2023 January 13]. Available from: https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC7573823/pdf/main.pdf

พลอยรัตน์ อุทัยพัฒนะศักดิ์ และสมพร กิจนุกูล. คู่มือการพยาบาล การป้องกันการกลับเป็นซ้ำของผู้ป่วยโรคนิ่วในทางเดินปัสสาวะหลังผ่าตัด งานการพยาบาลตรวจรักษาผู้ป่วยนอก ฝ่ายการพยาบาลโรงพยาบาลศิริราช คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล. 2560.

มนิต สงกันหา. การพยาบาลผู้ป่วยโรคนิ่วในท่อ ไตที่มีภาวะแทรกซ้อนจากการรักษาด้วยวิธีการผ่าตัด: กรณีศึกษา วารสารสุขภาพและสื่งแวดล้อมศึกษา 2564; 6(4); 75-82.

ศูนย์ข้อมูลและสารสนเทศ โรงพยาบาลสมเด็จพระพุทธเลิศหล้า. รายงานผู้ป่วยรายโรคปี พ.ศ 2562- 2564 [อินทราเน็ต]. 2565 [สืบค้นเมื่อ 10 ธันวาคม 2565]. เข้าถึงจาก: http://somdetdata.moph.go.th/data_sys/report_/

ฝ่ายการพยาบาล โรงพยาบาลศิริราช. คู่มือการปฏิบัติตัวสำหรับผู้ป่วยโรคนิ่ว. [อินเตอร์เน็ต]. 2564 [สืบค้นเมื่อ 10 ธันวาคม 2565]. เข้าถึงจาก: https://www.si.mahidol.ac.th/th/division/HpH/admin/download_files/135_49_1e0Vk9X.pdf

นัทธมน วุทธานนท์. การป้องกันการกลับเป็นนิ่วในไตซ้ำ : คำแนะนำการพยาบาลตามสมัย. พยาบาลสาร 2560; 44(2): 192-199.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-31

How to Cite

ชื่นชมภู พ. (2023). กรณีศึกษา: การพยาบาลผู้ป่วยโรคนิ่วในท่อไตที่ได้รับการสลายนิ่วด้วยการส่องกล้อง และมีภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด . วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพชุมชน, 8(3), 728–737. สืบค้น จาก https://he03.tci-thaijo.org/index.php/ech/article/view/1800