ผลของโปรแกรมการจัดการตนเองต่อความรู้ พฤติกรรม และระดับความดันโลหิตของผู้ป่วย โรคความดันโลหิตสูงที่ควบคุมความดันโลหิตไม่ได้ เขตพื้นที่โรงพยาบาลสทิงพระ อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา
คำสำคัญ:
โปรแกรมการจัดการตนเอง, โรคความดันโลหิตสูงที่ควบคุมไม่ได้, พฤติกรรมการบริโภคอาหาร, พฤติกรรมการออกกำลังกายบทคัดย่อ
การศึกษานี้ เป็นวิจัยกึ่งทดลอง เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการจัดการตนเองต่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่ควบคุมความดันโลหิตไม่ได้ กลุ่มตัวอย่างเป็นกลุ่มอายุ 40 ปีขึ้นไปทั้งเพศชายและเพศหญิง 40 คน มีค่าความดันโลหิตมากกว่า 140/90 มิลลิเมตรปรอท โดยแบ่งเป็นกลุ่มทดลอง และกลุ่มเปรียบเทียบ กลุ่มละ 20 คน เปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยความรู้เรื่องโรคความดันโลหิตสูง พฤติกรรมการบริโภคอาหารและการออกกำลังกาย ค่าระดับความดันโลหิตก่อน – หลังเข้าร่วมโปรแกรมระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบ โดยกลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการจัดการตนเอง 6 สัปดาห์ เก็บรวบรวมโดยใช้แบบสอบถาม แบบบันทึกพฤติกรรมการบริโภคอาหารและการออกกำลังกาย และวัดความดันโลหิตก่อนและหลัง และระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติ Paired sample t-test, Independent t-test, Wilcoxon Sing Rank test และ Man – Whitney U test
ผลการศึกษาพบว่า 1) หลังเข้าร่วมโปรแกรม กลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยความรู้เรื่องโรคความดันโลหิตสูง พฤติกรรมการบริโภคอาหารและออกกำลังกาย สูงกกว่าก่อนการเข้าร่วมโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ p<0.05 2) หลังเข้าร่วมโปรแกรม กลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยความรู้เรื่องโรคความดันโลหิตสูง พฤติกรรมการบริโภคอาหารและการออกกำลังกายสูงกว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ p<0.05 3) หลังการเข้าร่วมโปรแกรม กลุ่มทดลองมีระดับค่าความดันโลหิตต่ำกว่าก่อนเข้าร่วมโปรแกรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ p<0.05 4) หลังการเข้าร่วมโปรแกรมกลุ่มทดลองมีระดับค่าความดันโลหิตต่ำกว่ากลุ่มเปรียบเทียบ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ p<0.05
References
กรมควบคุมโรค. สำนักสื่อสารความเสี่ยงและพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพ. [อินเตอร์เน็ต]. 2565[สืบค้นเมื่อ 20 กรกฎาคม 2565] เข้าถึงได้จาก: https://ddc.moph.go.th/brc/news.php?news=25290&dept code=brc
พักตรวิภา สุวรรณพรหม สุกัญญา ลิ้มรังสรรค์. แบบจาลองการอธิบายเรื่องโรคความดันโลหิตและการใช้ยาลดความดันโลหิตของผู้ป่วยโรงพยาบาลหางดง จังหวัดเชียงใหม่. ไทยเภสัชศาสตร์และวิทยาการสุขภาพ 2556;8:66-77.
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสงขลา. Health Data Center. [อินเตอร์เน็ต]. 2566[สืบค้นเมื่อ 25 มกราคม 2566] เข้าถึงได้จาก:เข้าถึงได้จาก: https://ska.hdc.moph.go.th/hdc/reports/
Kanfer, F.H., & Gaelick-Bays, L. Self management method. In F.H. Kanfer, & A. Goldstein (Eds.). Helping people change: A textbook of methods (305-360). New York: Pergamon press.1991.
อรุณ จิรวัฒน์กุล. สถิติทางวิทยาศาสตร์สุขภาพเพื่อการวิจัย.กรุงเทพฯ: วิทยพัมน์;2552.
Bloom, B.S, Hastings, T. J, Madaus, G. F. Hand Book on Formative and Summative Evaluation of Student Learning. New York, McGraw – Hill Book Company Inc. 1971.
กุลนิดา สายนุ้ย. พฤติกรรมการบริโภคอาหารของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาในเขตอำเภอเมือง จังหวัดยะลา. [วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต]. สงขลา:มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์;2553.
Kuder Frederic G, Richardson M.W, The Theory of the Estimation of Test Reliability. Psychometrika:1937;151-160.
Cronbach L.J, Coefficient Alpha and the Internal Structure of Tests. Psychometrika:1951;297-334.
ดุษนฤภา ภาคปิยว์ชร์. ผลของโปรแกรมการจัดการตนเองด้านการใช้ยาอย่างเคร่งครัดในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่ควบคุมไม่ได้ที่คลินิกเอกชนแห่งหนึ่งในจังหวัดปทุมธานี. [วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต].กรุงเทพมหานคร:มหาวิทยาลัยคริสเตียน.2560.
นพาภรณ์ จันทร์ศรี, กนกพร นทีธนสมบัติ และทวีศักดิ์ กสิผล. ผลของโปรแกรมการจัดการตนเองในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่ควบคุมความดันโลหิตไม่ได้. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ.2563;6:58-68.
สุพัตรา สิทธิวัง, ศิวพร อึ้งวัฒนา, เดชา ทำดี. ผลของโปรแกรมส่งเสริมการจัดการตนเองต่อพฤติกรรมสุขภาพและระดับความดันโลหิตของผู้ที่เป็นโรคความดันโลหิตสูงที่ควบคุมไม่ได้. พยาบาลสาร.2563;47:85-97.
บุษยา เพชรมณี, ขวัญใจ อำนาจสัตย์ซื่อ, พัชราพร เกิดมงคล, กมลรัตน์ กิตติพิมพ์พานน์. ผลของโปรแกรมสนับสนุนการจัดการตนเองต่อพฤติกรรมการจัดการตนเองและความดันโลหิตในผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตสูงที่ควบคุมไม่ได้. วารสารพยาบาลสาธารณสุข.2565;36:85-101.