ประสิทธิผลการติดตามดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง ผ่านแอปพลิเคชั่น LTC Sakhrai Hosplus ศูนย์สุขภาพชุมชนโรงพยาบาลสระใคร จังหวัดหนองคาย
คำสำคัญ:
ผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง, ประสิทธิผล, แอปพลิเคชันบทคัดย่อ
การวิจัยกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลการติดตามดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงผ่านแอปพลิเคชั่น LTC Sakhrai Hosplus กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วยผู้ดูแลผู้สูงอายุ อาสาสมัครประจำหมู่บ้านจำนวน 50 คน และผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงจำนวน 60 คน เครื่องมือประกอบด้วย 1)แอปพลิเคชัน LTC Sakhrai Hosplus 2) แบบประเมินความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน 2) แบบสอบถามความพึงพอใจของผู้สูงอายุและบุคคลที่มีภาวะพึ่งพิง 3) แบบสอบถามความพึงพอใจของผู้ใช้แอปพลิเคชัน เป็นแบบประมาณค่า 5 ระดับเครื่องมือมีค่าความเชื่อมั่นของอัลฟ่าครอนบารคที่ 0.85 และ 0.87 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการศึกษาพบว่าผู้สูงอายุมีภาวะพึ่งพิงที่ได้รับการดูแล ผ่านแอปพลิเคชัน LTC Sakhrai Hosplus มีคะแนน Barthel ADL ก่อนและหลังการติดตามดูแลแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ( p-value = 0.001) ความพึงพอใจผู้สูงอายุโดยรวมในระดับมากที่สุด (= 4.47, =0.57 ) มิติทางจิตใจ (= 4.55, =0.52 ) มิติทางสิ่งแวดล้อม ( =4.51, =0.52 ) มิติทางสังคมระบบบริการ (=4.48, =0.58 ) มิติทางกาย (= 4.39, =0.62 ) กลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้นำแอปลิชันไปใช้ในการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงมีความพึงพอใจต่อแอปลิเคชันภาพรวมอยู่ในระดับมาก (=4.34, =0.60 ) และมากที่สุดคือคุณลักษณะของแอปพลิเคชั่น Sakhrai Hosplus มีข้อมูลครบถ้วน ถูกต้อง มีความสอดคล้องกับความรู้ในการปฏิบัติงานการดูแลผู้สูงอายุ มีระดับความพึงพอใจมากที่สุด (=4.64, =0.60 )
References
อธิวัฒน์ อุต้น. สังคมสูงอายุ: เมื่อคนเกิดน้อยกว่าคนแก่ ปี 2030 ไทยจะเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุระดับสุดยอด.เข้าถึงจาก https://urbancreature.co/aged-society/ January 27, 2023.
ศิราณี ศรีมหาภาค, โกมาตร จึงเสถียรทรัพย์และนางสาวคณิศร เต็งรัง. ผลกระทบและภาระการดูแล ผู้สูงอายุระยะยาวภายใต้วัฒนธรรมไทย. สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.). มูลนิธิสถาบันวิจัยและ พัฒนาผู้สูงอายุไทย (มส.ผส.). สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ กระทรวงสาธารณสุข. 2556
สถาบันวิจัยประชากรและสังคม,มหาวิทยาลัยมหิดล.(2558).รายงานผลการดำเนินงานประจำปี งบประมาณ 2557.
เอกสารรับการตรวจราชการและนิเทศงาน จังหวัดหนองคาย รอบที่ 1/2566 วันที่ 16 - 17 กุมภาพันธ์ 2566 สำนักงานสาธาณรสุขจังหวัดหนองคาย: หนองคาย
กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. โปรแกรม Long Term Care กรมอนามัย (3C) เข้าถึงได้จาก https://ltc.anamai.moph.go.th/ ข้อมูล ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2565.
Soar, J., Swindell, R. and Tsang, P. (2011). Intelligent technologies for bridging the grey digital divide. PA: Information Science Reference
Albaina, I. M., Visser, T., Van der Mast, C. A. P. G. and Vastenburg, M. H. (2009). Flowie:A persuasive virtual coach to motivate elderly individuals to walk. Pervasive Computing Technologies for Healthcare. (pp. 1-7).
Oliveira, R., Cherubini, M. and Oliver, N. (2010). MoviPill: improving medication compliance for elders using a mobile persuasive social game. Proceedings of the 12th ACM international conference on Ubiquitous computing. (pp. 251-260)
Kratzke, C. and Cox, C. Smartphone Technology and Apps: Rapidly Changing Health Promotion. International Electronic Journa l of Health Education 2012
Telenor. The Socio-Economic Impact of Mobile Health, 2012.
ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร. ระบบงานโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลและศูนย์สุขภาพชุมชน 2556 เข้าถึงจาก http://neo.moph.go.th/jhcis/index.php
บุษยารัตน์ ศิลปวิทยาทร ,บุญพิชชา จิตต์ภักดี.การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศด้านสุขภาพในการพยาบาลเพื่อความปลอดภัยของผู้ป่วย,วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ. 2563,38(2) 6-14.
ถนอมรัตน์ประสิทธิเมตต์, เพชรา ชวนะพันธุ์. ประสิทธิผลของผู้ดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงในระบบการดูแลผู้สูงอายุระยะยาวในเขตสุขภาพที่ 4 ศูนย์อนามัยที่ 4 กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข(เอกสารอัดสำเนา); 2559
จุฬาวลี มณีเลิศ.การพัฒนาแอปพลิเคชันส่งเสริมการดูแลผู้สูงอายุกลุ่มติดเตียงด้วยเทคโนโลยี ความเป็นจริงเสริม,วารสารวิชาการการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ. 2564; 7(2 ): 84-95.
ชลการ ทรงศรี ภัณฑิรชา เฟื่องทอง และทรงสุดา หมื่นไธสงค์. ผู้สูงอายุในสังคมสารสนเทศ.วารสารการแพทย์โรงพยาบาลอุดรธานี . 2561; 26( 3): 116-227.
ขนิษฐา แก้วกัลยา ติ๋ว เถื่อนแก้ว และ ชลการ ทรงศรี. การพัฒนาแนวทางการดูแลต่อเนื่องผู้ป่วยที่มีภาวะพึ่งพิงจากโรงพยาบาลถึงบ้านโรงพยาบาลค่ายประจักษ์ศิลปาคม. วารสารการพยาบาล สุขภาพและการศึกษา . 2566; 6(1): 55-64.