ผลของโปรแกรมการส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชของเกษตรกรผู้ปลูกหอมแบ่ง

ผู้แต่ง

  • นาตยา พรมศรีธรรม โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านบัว
  • สมศักดิ์ อินทมาต โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชธาตุพนม Corresponding author

คำสำคัญ:

ความรอบรู้ด้านสุขภาพ, สารเคมีกำจัดศัตรูพืช, โปรแกรมการส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพ

บทคัดย่อ

     การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบกึ่งทดลองเพื่อศึกษาผลของโปรแกรมสุขศึกษาเพื่อการเสริมสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชของผู้ปลูกหอมแบ่ง กลุ่มตัวอย่างคือเกษตรกรที่ปลูกหอมแบ่งที่อาศัยอยู่ในบ้านบัว ตำบลดงขวาง อำเภอเมือง จังหวัดนครพนม คัดเลือกแบบเจาะจง จำนวน 30 คน เครื่องมือการทดลองที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ โปรแกรมสุขศึกษาเพื่อการเสริมสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพและการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเสี่ยงจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช ใช้เวลาดำเนินการทดลองทั้งสิ้น 8 สัปดาห์ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ Paired-t test ผลการศึกษาพบว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศชาย ร้อยละ 73.30 มีอายุระหว่าง 51-60 ปี ร้อยละ 60.00 สถานภาพสมรส คู่ ร้อยละ 86.70 สำเร็จการศึกษาระดับประถมศึกษา ร้อยละ 76.70 ผลการเปรียบเทียบค่าคะแนนความรอบรู้ด้านสุขภาพด้านการเข้าถึงข้อมูลและบริการสุขภาพ ด้านความเข้าใจข้อมูลและบริการสุขภาพที่เพียงพอต่อการปฏิบัติ ด้านการโต้ตอบซักถามเพื่อเพิ่มความรู้ความเข้าใจ ด้านการตัดสินใจเลือกปฏิบัติที่ถูกต้องในการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช ด้านการบอกต่อและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ข้อมูลสุขภาพ ความรอบรู้ด้านสุขภาพโดยรวมและพฤติกรรมการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชที่ถูกต้องของเกษตรกร ก่อนและหลังทดลองพบว่าค่าคะแนนหลังการทดลองเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05)

References

ดวงพร คำนูณวัฒน์. บทสังเคราะห์รายงานวิจัยการสื่อสารเพื่อการเปลี่ยนแปลงสังคม. นครปฐม :สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเพื่อพัฒนาชนบท มหาวิทยาลัยมหิดล. 2550.

จุฬาลักษณ์ ทิวกระโทก.ปัญหาและความต้องการพัฒนาการประกอบอาชีพปลูกผักของเกษตรกร ตำบลบึงบอน อำเภอหนองเสือ จังหวัดปทุมธานี. วารสาร Veridian E Journal สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์และศิลปะ 2558; 8(1) :770-788.

สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. ปริมาณและมูลค่าการนำเข้าวัตถุอันตรายทางการเกษตร ปี 2560-2564 อินเตอร์เน็ต]. 2565 [สืบค้นเมื่อ 20 มีนาคม 2566]. เข้าถึงจาก https://www.oae.go.th/view/1/%E0%B8%9B%E0%B8%B1%E0%B8%88%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%A2%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%9C%E0%B8%A5%E0%B8%B4%E0%B8%95/TH-TH#

อิสราภรณ์ หงส์ทอง และอุไรวรรณ อินทร์ม่วง. ผลกระทบของสารเคมีกำจัดศัตรูพืชต่อสุขภาพเกษตรกรกลุ่มปลูกหอมแดงตำบลบึงบอน อำเภอยางชุมน้อย จังหวัดศรีษะเกษ. วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 2552; 2(2): 63-70.

สำนักโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม.คู่มือการจัดบริการอาชีวอนามัยสำหรับเจ้าหน้าที่สาธารณสุขคลินิกสุขภาพเกษตรกร. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย. 2558.

สุณีรัตน์ สีมะเดื่อ. คู่มือโรคผัก. พิมพ์ครั้งที่ 2. โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย. โดยกลุ่มวิจัยโรคพืช, สำนักวิจัยและพัฒนาการอารักขาพืช, กรมวิชาการเกษตร. 2554.

กระทรวงสาธารณสุข. รายงานการตรวจคัดกรองเพื่อหาความเสี่ยงจากสารกำจัดศัตรูพืช ในประชากรไทย อายุ 15 ปีขึ้นไป เขตสุขภาพที่ 8 จังหวัดนครพนม [อินเตอร์เน็ต]. 2564 [สืบค้นเมื่อ 20 มีนาคม 2566]. เข้าถึงจากhttps://hdcservice.moph.go.th/hdc/reports/report.php?source=pformated/format1envocc.php&cat_id=f16421e617aed29602f9f09d951cce68&id=dd45886fb33ececf637145b7561ec244.

นุสรา หูไธสง นาฎนภา หีบแก้ว ปัดชาสุวรรณ์. ประสิทธิภาพของโปรแกรมการประยุกต์ใช้แบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพและความรอบรู้ด้านสุขภาพเพื่อส่งเสริมพฤติกรรมการป้องกันอันตรายจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชในเกษตรกรสวนยางพารา อำเภอเมืองบึงกาฬ จังหวัดบึงกาฬ. วารสารวิจัยและพัฒนาด้านสุขภาพ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา 2564;7(2):116-131.

DeWalt, D.A., Davis, T.C., Wallace, A.S., Seligman, H.K., Bryant-Shilliday, B., Arnold, C.L., Schillinger, D. Goal setting in diabetes self-management: taking the baby steps to success. Patient Education and Counseling 2009; 77(2): 218–223.

ธวัชชัย เอกสันติ นิภา มหารัชพงศ์ ยุวดี รอดจากภัย และอนามัย เทศกะทึก. การพัฒนาโปรแกรมและผลของโปรแกรมสุขศึกษาและการส่งเสริมความรอบรู้สุขภาพเพื่อลดความเสี่ยงทางสุขภาพของเกษตรกรที่ใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชในแปลงนาข้าว. วารสารวิจัยและพัฒนาด้านสุขภาพ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา 2565; 8(2): 29-42.

พรทิวา ทบคลัง และพรรณี บัญชรหัตถกิจ. ผลของโปรแกรมการส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพต่อการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชในเกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลัง อำเภอเสิงสาง จังหวัดนครราชสีมา. วารสารสุขศึกษา 2562; 42(1): 80-92.

ธณกร ปัญญาใสโสภณ สราวุธ สายจันมา จงรัก สุวรรณรัตน์ นิชาภา เหมือนภาค และเอกอำนาจ เรืองศรี. ความสัมพันธ์ระหว่างความรอบรู้ด้านสุขภาพกับพฤติกรรมการป้องกันสารเคมีกำจัดศัตรูพืชในเกษตรกร อำเภอหนองบุญมาก จังหวัดนครราชสีมา. วารสารวิทยาศาสตร์สุขภาพ วิทยาลัยนครราชสีมา 2565; 1(1):1-

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-31