การพยาบาลผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูกที่กลับเป็นซ้ำให้การรักษาด้วยยาเคมีบำบัด: กรณีศึกษา 2 ราย
คำสำคัญ:
การพยาบาล, โรคมะเร็งปากมดลูกที่กลับเป็นซ้ำ, ยาเคมีบำบัดบทคัดย่อ
การศึกษานี้วัตถุประสงค์การศึกษาเพื่อเปรียบเทียบผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูกที่กลับเป็นซ้ำให้การรักษาด้วยยาเคมีบำบัดกรณีศึกษา 2 ราย เลือกแบบเฉพาะเจาะจงที่เข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยพิเศษรังสีรักษาและเคมีบำบัด โรงพยาบาลขอนแก่น โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากประวัติการเจ็บป่วย การรักษา เวชระเบียน สัมภาษณ์ และประเมินภาวะสุขภาพการกำหนดข้อวินิจฉัยทางการพยาบาลโดยใช้แนวคิดแบบประเมินผู้ป่วยตามแบบแผนทางด้านสุขภาพ 11 แบบแผนของกอร์ดอน วางแผนปฏิบัติการพยาบาลตามข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล สรุปและประเมินผลลัพธ์
ผลการศึกษา: กรณีศึกษาผู้ป่วยรายที่ 1 ผู้ป่วยหญิงไทย อายุ 50 ปี มาด้วยอาการซีด เหนื่อยเพลีย ปัสสาวะไม่สุด ปวดบั้นเอวด้านซ้ายร้าวลงขาหนีบและหน้าขาร่วมกับขาบวม มารับยาเคมีบำบัดตามแผนการรักษาครั้งที่ 2 สูตร paclitaxelและ Carbopatine ผู้ป่วยรายที่ 2 หญิงไทย อายุ 64 ปี มีไอแห้งๆก่อนมา 2 เดือน มารับยาเคมีบำบัดตามแพทย์นัด ครั้งที่ 1 ผู้ป่วยทั้ง 2 ราย ได้รับการวินิจฉัยเป็นมะเร็งปากมดลูกกลับเป็นซ้ำให้การรักษาด้วยยาเคมีบำบัด สูตร paclitaxelและ Carbopatine ทั้ง 2 ราย ขณะให้ยาเกิดภาวะแทรกซ้อน ภาวะภูมิไวเกิน ระดับ 2 คือผื่นขึ้น หน้าแดง แน่นหน้าอก หายใจลำบาก โดยผู้ป่วยรายที่ 1 เกิดภาวะภูมิไวเกินจากยาเคมีบำบัด paclitaxel ส่วนผู้ป่วยรายที่ 2 เกิดภาวะภูมิไวเกินจากยาเคมีบำบัด Carbopatine ได้รับการประเมินและแก้ไขภาวะภูมิไวเกินตามแนวปฏิบัติผู้ป่วยที่เกิด hypersensitivity จากยาเคมีบำบัดอย่างรวดเร็ว จนผู้ป่วยปลอดภัย และสามารถให้ยาเคมีบำบัดตามแผนการรักษาในเวลาต่อมา ทำให้ผู้ป่วยไม่เกิดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงถึงเสียชีวิต
References
จตุพล ศรีสมบูรณ์. (2550) . มะเร็งงปากมดลูก การวินิจฉัย และการรักษา.กรุงเทพา: พี.ปี.ฟอเรนบุ๊คส์เซนเตอร์
จตุพล ศรีสมบูรณ์, และชำนาญ เกียรติพีรกุล. (บรรณาธิการ), มะเร็งนรีเวชวิทยา (หน้า60-76). กรุงเทพฯ: พิมพ์ดี.
จตุพล ศรีสมบูรณ์, ธีระพร วุฒยวนิช, ประภาพร สู่ประเสริฐ และสานพิณ พงษธา(2551). นรีเวชวิทยา (ฉบับสอบบอร์ด). (พิมพ์ครั้งที่ 3 ). กรุงเทพฯ: พี บี ฟอเรน บุ๊คส์เซนเตอร์.
ฉลาด แสงอาทิตย์. (2546) ความเข้มแข็งอดทนและคุณภาพชีวิต ในผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูกที่ได้รับรังสีรักษาร่วมกับเคมีบำบัด. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่/เชียงใหม่.
งานจัดการสารสนเทศ กลุ่มงานสารสนเทศทางการแพทย์โรงพยาบาลขอนแก่น : (เข้าถึงเมื่อ12 สิงหาคม 2566)
นภชาญ เอื้อประเสริฐ. Chulalongkorn hematology handbook. กรุงเทพฯ:โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย ; 2555. 82 – 87.
วีราภรณ์ วงศ์สวัสดิ์, นภพร มีนากุล, ธัชชัย ปัญญา. (2566) การพยาบาลและการดูแลผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูกที่ได้รับรังสีและเคมีบำบัดในโรงพยาบาลชลบุรี.วารสารการพยาบาลและสุขศาสตร์, 42(1), 45-58
สุชาวดี รุ่งแจ้ง, และรัชนี นามจันทรา. (2559). การจัดการอาการในผู้ป่วยมะเร็งระยะลุกลาม.วารสารพยาบาลโรคหัวใจและทรวงอก, 27(2), 43-57.
สุริยา ชานวนิตย์, วิรัชน์ กิจเพ็ชร, นันทวัล จันทนะ (2565) การรักษามะเร็งปากมดลูกด้วยรังสีและเคมีบำบัด: ผลการรักษาและปัจจัยที่มีผล. วารสารกายภาพบำบัดและสุขศึกษา, 28(2), 97-108
Vinay Prasad, Kartik Viswanathan, Gini Fleming.( 2018) Cervical cancer: A Comprehensive Approach Towards Managemen. Cancer Research, Oncology, and Clinical Medicine Journal, Volume 2, Issue 4