การพยาบาลผู้คลอดที่มีภาวะช็อกจากการตกเลือดหลังคลอดระดับรุนแรง : กรณีศึกษา

ผู้แต่ง

  • อภิรดา ถาบุญแก้ว พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ โรงพยาบาลโกสุมพิสัย

คำสำคัญ:

ภาวะตกเลือดหลังคลอดระดับรุนแรง, การพยาบาลภาวะช็อกจากการตกเลือด, ภาวะลิ่มเลือดแพร่กระจายในหลอดเลือด

บทคัดย่อ

     การศึกษานี้เป็นกรณีศึกษา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการพยาบาลผู้คลอดที่มีภาวะช็อกจากการตกเลือดหลังคลอดระยะแรกระดับรุนแรงโดยเปรียบเทียบกรณีศึกษา 2 ราย ในผู้คลอดที่มารับบริการคลอดที่โรงพยาบาลโกสุมพิสัยและผลการติดตามผู้คลอดหลังการส่งต่อโรงพยาบาลแม่ข่าย โดยรวบรวมข้อมูลจากเวชระเบียน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการ เปรียบเทียบประวัติการตั้งครรภ์ ปัจจัยเสี่ยง พยาธิวิทยา การรักษา  อาการ อาการแสดง  ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล และผลลัพธ์ทางการพยาบาล

     ผลการศึกษา:ผู้คลอดทั้ง 2 รายมีสาเหตุที่แตกต่างกันแต่มีปัญหาทางการพยาบาลที่เหมือนกันคือภาวะช็อกจากการตกเลือดหลังคลอด ผู้คลอดรายที่ 1หญิงไทยตั้งครรภ์ครั้งที่ 2 ในระยะที่1ของการคลอดทารกในครรภ์เกิดภาวะเครียดสูติแพทย์เตรียมผ่าตัดคลอดฉุกเฉิน ระหว่างรอผ่าตัด ถุงน้ำคร่ำแตก หลังจากนั้นประมาณ1นาที ผู้คลอดมีอาการชักเกร็งทั้งตัว หมดสติ หลังชัก ผู้คลอดรู้สึกตัวดี และตรวจภายในพบว่าปากมดลูกเปิดหมดสูติแพทย์ช่วยคลอดปกติ  ทารกคลอดน้ำหนัก 2,795 กรัม APGAR Score0,4,5 หลังรกคลอดมดลูกหดรัดตัวไม่ดี ประมาณการสูญเสียเลือด รวม1,300มิลลิลิตร ร่วมกับเกิดภาวะช็อก สูติแพทย์ใส่บอลลูนเพื่อหยุดเลือดและ ส่งต่อ โรงพยาบาลแม่ข่ายได้รับการรักษาหยุดเลือดโดยการตัดมดลูก พบภาวะแทรกซ้อนคือภาวะลิ่มเลือดแพร่กระจายในหลอดเลือดผู้คลอดเสียชีวิต รายที่ 2 หญิงไทยตั้งครรภ์ครั้งที่ 4 มีภาวะเสี่ยง คือเบาหวานขณะตั้งครรภ์และภาวะอ้วน แรกรับการขยายของปากมดลูกเปิดหมดคลอดปกติทารกน้ำหนัก3,555กรัม APGAR Score 9-10-10หลังทารกคลอดรกไม่ลอกตัว แพทย์ได้ทำการล้วงรกในห้องผ่าตัด สูญเสียเลือดทั้งหมด 1,100 มิลลิลิตรร่วมกับเกิดภาวะช็อก ได้รับยากระตุ้นการบีบตัวของหลอดเลือด ผู้คลอดปลอดภัย ขอทำหมันและจำหน่ายกลับบ้าน โดยผู้คลอดทั้ง2รายได้รับการรักษาหลักที่เหมือนกันคือได้รับสารน้ำ เลือด ยา ร่วมกับการคลึงมดลูกและเฝ้าระวังสัญญาณชีพอย่างใกล้ชิด.และมีความแตกต่างกันคือในรายแรกแพทย์ใส่บอลลูนช่วยในการหยุดเลือดรายที่2 โดยการล้วงรก

References

ลัดดาวัลย์ ปลอดฤทธิ์ สุชาตา วิภวกานต์ และอารี กิ่งเล็ก. (2559) การพัฒนาแนวปฏิบัติการ ป้องกันการตกเลือดหลังคลอดระยะแรกใน ห้องคลอดโรงพยาบาลกระบี่. วารสารเครือ ข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุข ภาคใต้. 3(3):127-141.

ศิริภรณ์ ปิ่นโพธิ์, สมพร วัฒนนุกูลเกียรติ(2564).การพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาล เพื่อป้องกันและแก้ไขภาวะตกเลือดในระยะ2-24ชั่วโมงแผนกสูติกรรมโรงพยาบาลศูนย์ขอนแก่น .การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษาแห่งชาติ app.gs.KKU.ac.th

ทิพวรรณ์ เอี่ยมเจริญ. (2560). การตกเลือดหลังคลอด: บทบาทสำคัญของพยาบาลในการป้องกัน. วารสารสมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทยในพระราชูปถัมภ์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี, 6(2), 146-157.

พิรุฬห์ สิทธิพล .(2563)การพยาบาลผู้คลอดที่มีภาวะช็อกจากการตกเลือดหลังคลอด.วารสารวิชาการสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดมหาสารคาม.

สำนักส่งเสริมสุขภาพ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. (2565)วิเคราะห์สถานการณ์แม่ตาย.https://hp.anamai.moph.go.th

Satapornteera,P.

word health Organization(2014).Trands in Maternal mortality 1990 to 2013 : Estimatesby WHO, UNICEF, UNFPA. The World Bank and the United Nations Population Division Geneva: World Health Organization.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-31

How to Cite

ถาบุญแก้ว อ. (2023). การพยาบาลผู้คลอดที่มีภาวะช็อกจากการตกเลือดหลังคลอดระดับรุนแรง : กรณีศึกษา. วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพชุมชน, 8(3), 50–59. สืบค้น จาก https://he03.tci-thaijo.org/index.php/ech/article/view/1839