ผลการดำเนินงานควบคุมป้องกันโรคโควิด-19 ที่มีผลต่อการรับรู้ของประชาชนที่มาร่วมกิจกรรมการออกปฏิบัติงานหน่วยแพทย์อาสาสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี จังหวัดกาฬสินธุ์
คำสำคัญ:
การรับรู้, ควบคุมป้องกันโรคโควิด-19, หน่วยแพทย์อาสาสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีบทคัดย่อ
การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการดำเนินงานควบคุมป้องกันโรคโควิด-19 ที่มีผลต่อการรับรู้ของประชาชนที่มาร่วมกิจกรรมการออกหน่วยแพทย์อาสาสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี จังหวัดกาฬสินธุ์ มีกลุ่มตัวอย่างจำนวน 360 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา นำเสนอด้วยค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสูงสุดและค่าต่ำสุด วิเคราะห์เปรียบเทียบผลต่างของคะแนนเฉลี่ยดำเนินการงานควบคุมโรคระหว่างกลุ่ม 2 กลุ่ม และมากกว่า 3 กลุ่ม โดยใช้สถิติ paired sample t-test และการวิเคราะห์แปรปรวน (Analysis of Variance: ANOVA) ตามลำดับ กำหนดระดับนัยสำคัญที่ระดับ 0.05
ผลการวิจัย พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่มีการรับรู้โอกาสเสี่ยงของการเกิดโรค อยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย 3.95 คะแนน (S.D. = 0.36), การรับรู้ความรุนแรงของโรค อยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย 4.02 คะแนน (S.D. = 0.28), การรับรู้ประโยชน์ของการรักษาและการป้องกันโรค อยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย 3.96 คะแนน (S.D. = 0.43), การรับรู้แรงจูงใจด้านสุขภาพ อยู่ในระดับมาก เฉลี่ยที่ 3.90 คะแนน (S.D. = 0.27) และการรับรู้ของประชาชนที่มาร่วมกิจกรรมหน่วยแพทย์ พอ.สว. อยู่ในระดับการรับรู้มาก มีค่าเฉลี่ย 17.52 คะแนน (S.D. = 1.93) และผลการเปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยความแปรปรวนของการรับรู้ ตัวแปรดังต่อไปนี้ 1) การรับรู้ความรุนแรงของโรค, 2) การรับรู้ประโยชน์ของการรักษาและการป้องกันโรค, 3) แรงจูงใจด้านสุขภาพ และ 4) การเปรียบเทียบการรับรู้ระดับอำเภอ ล้วนมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05
References
กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. สืบค้นเมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2565, จาก https://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/.
กมลลักษณ์ จินดาไตรรัตน์. (2565). การพัฒนามาตรการปลอดภัยสำหรับองค์กร (COVID Free Setting) ในโรงพยาบาลบางเลน จังหวัดนครปฐม. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ, 15(3).
กิตติพร เนาว์สุวรรณ และคณะ. (2563). ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ความรุนแรงของโรคต่อบทบาทการดำเนินงานควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในชุมชนของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ในประเทศไทย. วารสารสถาบันบำราศนราดูร, 14(2), 92-103.
จารุณี จันทร์เปล่ง และสุรภา เดียขุนทด. (2565). การศึกษาความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมในการป้องกันควบคุมโรคโควิด 19 ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน อำเภอบ้านนา จังหวัดนครนายก.วารสาร มจร การพัฒนาสังคม.7(1), 15-33.
จงกลณี ตุ้ยเจริญ และคณะ.(2565). การรับมือไวรัสโคโรน่า COVID-19 ในงานสาธารณสุขมูลฐาน. วารสารวิทยาศาสตร์สุขภาพวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีสรรพสิทธิประสงค์ 2563;4(3):1-20.
บงกช โมระสกุล และพรศิริ พันธสี. (2564). ความรู้และพฤติกรรมการป้องกันโรคโควิด-19 ของนักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 1 วิทยาลัยนานาชาติเซนต์เทเรซาและวิทยาลัยเซนต์หลุยส์. วารสารศูนย์อนามัยที่ 9,15(37), 179-195.
มูลนิธิแพทย์อาสาสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี.(2563). คู่มือปฏิบัติงาน พอ.สว. ประจำจังหวัด, กรุงเทพมหานคร.
โรงพยาบาลบางปะกอก. (2564). ยึดหลัก D-M-H-T-T ป้องกันโควิด-19. สืบค้นเมื่อวันที่ 10 กันยายน 2565, จาก https://www.bangpakok3.com/care_blog/view/117.
วิเชียร ซอฟีย๊ะ, สังข์ขาว อิสริยาภรณ์, และคณะ. (2565). การศึกษาพฤติกรรมเสี่ยงและพฤติกรรมการป้องกันการติดเชื้อ COVID-19 และการเตรียมพร้อมรับมือของนิสิตมหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตพัทลุง. Thaksin University Online Journal (TSU OJ), 2022 (1), EHST-010.
สุภาภรณ์ วงธิ.(2564).ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน จังหวัดสุโขทัย "วิทยานิพนธ์ ส.ม. สาขาวิชา-,มหาวิทยาลัยนเรศวร,2564
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกาฬสินธุ์. สถานการณ์การแพร่ระบาดโรคโควิด-19 จังหวัดกาฬสินธุ์. สืบค้นเมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2565, จาก http://www.kalasin.go.th/t/index.php/th/covid19-daily-all.html?start=10
Taro Yamane. (1967). Statistics: An Intro-ductory Analysis.N.Y. Harper and Row 1967 p.1088 (Mimeographed