การพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยบาดเจ็บศีรษะจากอุบัติเหตุทางถนน

ผู้แต่ง

  • ชัชวาล โภโค นายแพทย์ชำนาญการพิเศษ โรงพยาบาลสอยดาว จังหวัดจันทบุรี

คำสำคัญ:

การพัฒนาระบบ, การบาดเจ็บศีรษะ, อุบัติเหตุทางถนน

บทคัดย่อ

     การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อการพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยบาดเจ็บศีรษะจากอุบัติเหตุทางถนน เก็บรวบรวมข้อมูลแบบผสมผสาน 3 ระยะ คือ (1) ศึกษาระบาดวิทยาบาดเจ็บศีรษะจากอุบัติเหตุทางถนน (2) พัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยบาดเจ็บศีรษะจากอุบัติเหตุทางถนน (3) ประเมินผลการพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยบาดเจ็บศีรษะจากอุบัติเหตุทางถนน กลุ่มตัวอย่าง คือ บุคลากรการแพทย์ฉุกเฉินโรงพยาบาลสอยดาว และผู้ป่วยบาดเจ็บที่เกิดจากอุบัติเหตุทางถนน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบบันทึกข้อมูลจากระบบเฝ้าระวังการบาดเจ็บแห่งชาติ ปี 2560 และแบบประเมินการปฏิบัติตามแนวปฏิบัติ Traumatic Brain Injury (TBI) วิเคราะห์ข้อมูล ด้วยสถิติเชิงพรรณนา และ Multiple logistic regression Adjusted odds ratio ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05

     ผลการวิจัย พบว่า ระยะที่ 1 ปัจจัยที่มีผลต่อความรุนแรงจากอุบัติเหตุทางจราจร คือ ปัจจัยด้าน การดื่มเครื่องดื่มแอลกออล์ (AOR=3.80, 95%CI=2.79-5.16) ประวัติการสลบ (AOR=59.27, 95%CI=18.56-189.24) การดูแลการหายใจ (AOR=1.41, 95%CI=1.16-1.69) และระดับความรุนแรง (AOR=9.92, 95%CI=3.47-28.33) ระยะที่ 2 รูปแบบการพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยบาดเจ็บศีรษะจากอุบัติเหตุทางถนน อำเภอสอยดาว จังหวัดจันทบุรี PAEP Model (แป๊บ โมเดล) ประกอบด้วย 1. การกำหนดนโยบายสำหรับผู้บริหาร (Policy Setting) 2. การเข้าถึงบริการ (Access to services) 3. การประเมินการคัดกรองเพื่อรักษา (Evaluation of screening for treatment) 4. การวางแผนการดูแลและส่งต่อ (Care planning and referrals) ระยะที่ 3 การดูแลผู้บาดเจ็บระยะก่อนถึงโรงพยาบาลของเครือข่ายการแพทย์ฉุกเฉิน อำเภอสอยดาว พบว่า การดูแลทางเดินหายใจ การห้ามเลือด การดามอวัยวะ และการให้สารน้ำ ในรายที่มีความจำเป็น มีการดูแลตามแนวปฏิบัติกำหนด ร้อยละ 100 และมีการปฏิบัติตามแนวปฏิบัติเมื่อถึงโรงพยาบาลทุกราย ร้อยละ 100

References

กัญญา วังศรี. (2556). การบริการการแพทย์ฉุกเฉินในประเทศไทย The EMS system in Thailand.Srinagarind Medical Journal, 28(4), 69-73.

กัญญา วังศรี, รานี แสงจันทร์นวล, มรกต สุบิน, พนอ เตชะอธิก และ กรกฎ อภิรัตน์ วรากุล. (2562). การพัฒนาอาสาฉุกเฉินชุมชนกลุ่มเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย เพื่อการดูแลผู้ป่วยอุบัติเหตุจราจร ณ จุดเกิดเหตุในมหาวิทยาลัยขอนแก่น. Journal of Professional Routine to Research, 6, 75-86.

พงษ์นเรศ โพธิโยธิน. ผลการใช้ Care Map ในการดูแลผู้ป่วยบาดเจ็บที่ศีรษะรุนแรงกลุ่มงานศัลยกรรมโรงพยาบาลสุรินทร์.วารสารการแพทย์โรงพยาบาลศรีสะเกษสุรินทร์ บุรีรัมย์ 2552;24:189-98.

รุจีพร เพ็ญศรี. (2564). การพัฒนารูปแบบการพยาบาลผู้ป่วยบาดเจ็บที่ศีรษะจากอุบัติเหตุทางถนนโรงพยาบาล ศรีสังวรสุโขทัย. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ, 14(3), 83-96.

ศักดิ์ชัย ตั้งจิตวิทยา. การบาดเจ็บรุนแรงที่ศีรษะในโรงพยาบาลสุราษฎร์ธานี. วารสารวิชาการแพทย์เขต 15 2549; 20:73.

สำนักอำนวยความปลอดภัย กรมทางหลวง (2564). รายงานประจำปี อุบัติเหตุบนทางหลวงแผ่นดินปี 2563. http://bhs.doh.go.th/files/accident/63/report_accident_2563.pdf

Kemmis, S., & McTaggart, R. (1988). The Action Research Planner (3"ed.). Geelong, Australia: Deakin University Press

World Health Organization. Emergency and Trauma Care 2019. https://apps.who.int/gb/ebwha/pdf_files/WHA72/A72_31-en.pdf

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-31

How to Cite

โภโค ช. (2023). การพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยบาดเจ็บศีรษะจากอุบัติเหตุทางถนน. วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพชุมชน, 8(3), 936–945. สืบค้น จาก https://he03.tci-thaijo.org/index.php/ech/article/view/1854