การศึกษาผลการพัฒนารูปแบบการดูแลสตรีที่เป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์ด้วยการเสริมสร้างความสามารถในการดูแลตนเอง โรงพยาบาลกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม
คำสำคัญ:
สตรีตั้งครรภ์, โรคเบาหวาน, เบาหวานขณะตั้งครรภ์บทคัดย่อ
การวิจัยนี้เป็น การวิจัยและพัฒนา (Research and Development) มีวัตถุประสงค์เพื่อผลการพัฒนารูปแบบการดูแลสตรีที่เป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์ด้วยการเสริมสร้างความสามารถในการดูแลตนเอง โรงพยาบาลกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ กลุ่มทดลองในระยะที่ 1 ระยะวิจัย จำนวน 21 คน และกลุ่มทดลองระยะที่ 2 ระยะพัฒนา ประกอบด้วย สตรีตั้งครรภ์จำนวน 19 คน และผู้ดูแลสตรีตั้งครรภ์ 19 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือแบบสอบถาม และแบบประเมินความพึงพอใจ การวิเคราะห์เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยก่อนและหลัง โดยใช้สถิติ Paired sample t–test กำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05
ผลการศึกษา: ระดับน้ำตาลสตรีก่อนตั้งครรภ์เฉลี่ยอยู่ที่ 136.74 มก./ดล. ต่ำสุด 128 มก./ดล. และสูงสุด 148 มก./ดล. และระดับน้ำตาลสตรีหลังตั้งครรภ์เฉลี่ยอยู่ที่ 104.21 มก./ดล. ต่ำสุด 98 มก./ดล. และสูงสุด 110 มก./ดล. ตามลำดับ และผลการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ย จำนวน 5 ด้าน ดังนี้ ด้านที่ 1 การเข้าถึงข้อมูลสุขภาพ หลังทดลองมีคะแนน x̅=3.66 ,S.D.=0.19 คะแนน ก่อนทดลอง มีคะแนน x̅=3.29 ,S.D.=0.21 คะแนน ด้านที่ 2 ทักษะความรู้ ความเข้าใจ หลังทดลองมีคะแนน x̅=3.67 ,S.D.=0.26 คะแนน ก่อนทดลอง มีคะแนน x̅=3.18 ,S.D.=0.31 คะแนน ด้านที่ 3 ทักษะการสื่อสารด้านสุขภาพ หลังทดลองมีคะแนน x̅=3.70 ,S.D.=0.19 คะแนน ก่อนทดลอง มีคะแนน x̅=3.22 ,S.D.=0.29 ด้านที่ 4 ทักษะการจัดการตนเองด้านสุขภาพ หลังทดลองมีคะแนน x̅=3.69 ,S.D.=0.30 คะแนน ก่อนทดลอง มีคะแนน x̅=3.24 ,S.D.=0.28 คะแนน ด้านที่ 5 ทักษะการตัดสินใจด้านสุขภาพ หลังทดลองมีคะแนน x̅=3.62 ,S.D.=0.22 คะแนน ก่อนทดลอง มีคะแนน x̅=3.34 ,S.D.=0.21 คะแนน ซึ่งในระยะที่ 2 เมื่อเปรียบเทียบความแตกต่างเฉลี่ยของคะแนนหลังจะสูงกว่าก่อนทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ p-value <0.05
References
สถิติสาธารณสุข กองยุทธศาสตร์และแผนงาน กระทรวงสาธารณสุข. สถิติสาธารณสุขพ.ศ. 2560 กลุ่มข้อมูลข่าวสารสุขภาพ นนทบุรี.กระทรวงสาธารณสุข 2560, ม.ป.ท.; (น.36)
สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย. 2565, สืบค้นเมื่อวันที่ 13 มกราคม 2565 สืบค้นจาก https://www.dmthai.org/old/index.php/knowledge/understand-diabetes/diabetes-pregnant/622-2018-03-15-09-13-58
The International Diabetes Federation (IDF). Gestational diabetes, 2021 สืบรค้นเมื่อวันที่ 13 มกราคม 2565 สืบค้นจาก https://idf.org/about-diabetes/gestational-diabetes/
Moses, R. The recurrence rate of gestational diabetes in subsequent pregnancies. Diabetes Care;1997; 20: 1647-1650.
ประเสริฐ ศันสนีย์วิทยกุล และคณะ. แนวทางการดูแลรักษาโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ใน โรงพยาบาลศิริราช (CLINICAL PRACTICE GUIDELINE). กรุงเทพมหานคร:โรงพิมพ์ จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย; 2550.
บุญธรรม กิจปรีดาบริสุทธิ์. การวิจัยการวัดและประเมินผล. พิมพ์ครั้งที่ 2 กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ศรีอนันต์, 2543.
ทัศนีวรรณ กรุงแสนเมือง และสมพร วัฒนนุกูลเกียรติ6 ได้ศึกษาผลของโปรแกรมส่งเสริมพฤติกรรมสุขภาพต่อการเกิดเบาหวานขณะตั้งครรภ์ในสตรีตั้งครรภ์ที่มีปัจจัยเสี่ยง วารสารสุขภาพและการศึกษาพยาบาล 2564; 27(1): 106-121
Wang, S., Ma, J. M., & Yang, H. X. Lifestyle intervention for gestational diabetes mellitus prevention: A cluster-randomize controlled study. Science Direct, 2015(1), 169-174.
Koivusalo, S., Rono, K., Klemetti, M. M., Roine, R. P., Linndstrom, J., Erkkola, M., Beata, S. L. Gestational diabetes mellitus can be prevented by lifestyle intervention: The Finnish gestational diabetes prevention study (RADIEL). Diabetes Care, 2016(39), 24-30.
เกษร แก้วผุดผ่อง. ผลการใช้โปรแกรมส่งเสริมการดูแลสุขภาพตนเองต่อพฤติกรรมการดูแลตนเอง ของสตรีที่เป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์. วารสารวิชาการแพทย์ 2561; 32(1): 907-918
Pirdehghan A, Eslahchi M, Esna-Ashari F, Borzouei S. Health literacy and diabetes control in pregnant women. J Family Med Prim Care 2020;9(2):1048-52. doi: 10.4103/jfmpc.jfmpc_891_19.