การพัฒนาเครือข่ายการให้บริการของศูนย์บริการชุมชน DIC (Drop in Center) ในการดูแลผู้ติดเชื้อ HIV อำเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์
คำสำคัญ:
ศูนย์บริการชุมชน DIC, ผู้ติดเชื้อ HIVบทคัดย่อ
การศึกษานี้เป็นการวิจัยและพัฒนานี้ มีวัตถุประสงค์การวิจัยเพื่อศึกษาสถานการณ์การให้บริการของศูนย์บริการชุมชน DIC (Drop in Center) และการพัฒนาเครือข่ายการให้บริการของศูนย์บริการชุมชน DIC (Drop in Center) ในการดูแลผู้ติดเชื้อ HIV อำเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์ ใช้ระยะเวลาในการศึกษา ระหว่าง เดือนมกราคม – กันยายน 2566 รวมระยะเวลา 9 เดือน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ บุคลากรในการให้บริการในศูนย์บริการชุมชน DIC (Drop in Center) 10 แห่ง จำนวน 142 คน เก็บข้อมูลจากแบบสอบถามวิเคราะห์ข้อมูลโดย โดยใช้ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ความถี่ ร้อยละ Dependent t-test และ F – tests ด้วย
เทคนิค One way ANOVA
ผลการศึกษา พบว่า ภายหลังการพัฒนาเครือข่ายการให้บริการของศูนย์บริการชุมชน DIC (Drop in Center) ในการดูแลผู้ติดเชื้อ HIV อำเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์ ได้แก่ ความเข้าใจเกี่ยวกับมาตรฐานศูนย์บริการชุมชน (DIC) ของบุคลากรในการให้บริการในศูนย์บริการชุมชน หลังการดำเนินงาน โดยรวมและรายด้าน อยู่ในระดับ มากที่สุด การเปรียบเทียบความเข้าใจเกี่ยวกับมาตรฐานศูนย์บริการชุมชน (DIC) ระหว่าง บุคลากรในการให้บริการในศูนย์บริการชุมชน ได้แก่ อสม. ผู้นำชุมชน และ จนท.อบต.หลังการดาเนินงาน ไม่มีความแตกต่างกัน การเปรียบเทียบความเข้าใจเกี่ยวกับมาตรฐานศูนย์บริการชุมชน (DIC) ก่อนและหลังการดำเนินงาน มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยที่หลังการดำเนินงานมีค่าคะแนนเฉลี่ยมากกว่าก่อนดำเนินงาน ความพึงพอใจเกี่ยวกับการให้บริการศูนย์บริการชุมชน (DIC) หลังการดำเนินงาน โดยรวมและรายข้อ อยู่ในระดับมากที่สุด
References
กรมควบคุมโรค. (2558). มาตรฐานศูนย์บริการชุมชน (DIC : Drop in Center) สำหรับการจัดบริการเอชไอวี/เอดส์ โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ และวัณโรค. สุมทรสาคร. บริษัท บอร์น ทู บี พับลิชชิ่ง จำกัด
กรมควบคุมโรค. เอดส์ (AIDS - Acquired Immune Deficiency Syndrome) เอดส์. [ออนไลน์]. 2562[เข้าถึง 10 พฤษภาคม2565]. เข้าถึงได้จาก https://ddc.moph.go.th/disease_detail.php?d=57
กองโรคเอดส์และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์. (2563). แนวทางการจัดบริการรับยาต้านไวรัสสำหรับผู้ติดเชื้อเอชไอวีที่มีอาการคงที่ โดยมีผู้รับบริการเป็นศูนย์กลาง ตามบริบทของหน่วยบริการสุขภาพในไทย นนทบุรี: กองโรคเอดส์และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ กรมควบคุมโรค; 2563 [สืบค้นเมื่อ 6 พฤษภาคม 2566]. สืบค้นจาก: https://ddc.moph.go.th/uploads/publish/997820200403093559.pdf
จุฑามาศ มากกุญชร.(2564). ผลการจัดบริการป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีในกลุ่มผู้ใช้ยาเสพติดด้วยวิธีฉีด ภายใต้นโยบายลดอันตรายจากยาเสพติด. วารสารโรคเอดส์ 33(2) 73-90
นันทพงศ์ พงศ์สุวรรณ.(2563). ปัจจัยที่มีผลต่อการเข้ารับการรักษาด้วยยาต้านไวรัสในผู้ติดเชื้อเอชไอวี/ ผู้ป่วยเอดส์รายใหม่ โรงพยาบาลตรัง. วารสารโรคเอดส์ 32(2) 68-78
ประจักร เหิกขุนทด.(2564). การพัฒนารูปแบบการดูแลรักษาผู้ติดเชื้อเอชไอวีและผู้ป่วยเอดส์โรงพยาบาลส่องดาว วารสารโรคเอดส์ 33(3) 151-64
ภรกต สูฝน. ผลของโปรแกรมการสร้างเสริมความรอบรู้ด้านเอชไอวี เพื่อส่งเสริมพฤติกรรม การอยู่ร่วมกัน โดยไม่รังเกียจในกลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน. วารสารโรคเอดส์ 2563; 32(1) 1-14
วงการแพทย์. ราชวิทยาลัยอายุรแพทย์ฯ ร่วมกับสมาคมโรคเอดส์แห่งประเทศไทยเผย “ความก้าวหน้าการรักษา HIV ในปัจจุบัน” [ออนไลน์]. 2562 [เข้าถึง 10 พฤษภาคม2564]. เข้าถึงได้จาก http://www.wongkarnpat.com/ viewpat.php?id=2778
วาทินี บุญญรัตน์ อริสรา จันทร์ศรีสุริยวงศ์. (2566) ผลการพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยติดเชื้อเอชไอวีโดยเภสัชกร. เภสัชกรรมคลินิก: 29(2) 131-42
วิภาดา มหรัตนวิโรจน์. การดำเนินงานการจัดบริการเอชไอวี/เอดส์ โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์และวัณโรค สำหรับภาคีเครือข่ายศูนย์บริการชุมชน (DIC- Cluster) ในระดับ อำเภอ/องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ.
ศศิธร แสงเนตร.(2563). ผลการบริบาลทางเภสัชกรรมในคลินิกผู้ป่วยติดเชื้อเอชไอวีและผู้ป่วยเอดส์ในโรงพยาบาลวาปีปทุม. วารสารวิชาการสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดมหาสารคาม 4(8):1-12
ศูนย์ข้อมูลโรคติดเชื้อและพาหะนำโรค. ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับโรคเอดส์. [ออนไลน์]. 2548 [เข้าถึง 10 พฤษภาคม2564]. เข้าถึงได้จาก http://webdb.dmsc.moph.go.th/ifc_nih/a_nih_1_001c.asp?info_id=901
สถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นราชนครินทร์. เอดส์ ป้องกันได้[ออนไลน์]. 2562 [เข้าถึง 10 พฤษภาคม2564]. เข้าถึงได้จาก https://new.camri.go.th/infographic/95
สัจพงษ์ โชคคติวัฒน์ และดวงฤดี วรชิณ. การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ติดเชื้อเอชไอวี โรงพยาบาลเจริญศิลป์. วารสารโรคเอดส์ 2563; 32(1) 15-27
สำนักข่าว Hfocus เจาะลึกระบบสุขภาพ. โรคเอดส์ การระบาดที่ยังไม่มีวัคซีน. [ออนไลน์]. 2562 [เข้าถึง 10 พฤษภาคม 2564]. เข้าถึงได้จาก http://www.wongkarnpat.com/ viewpat.php?id=2778
สำนักโรคเอดส์ วัณโรค และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์. แนวทางการตรวจรักษาและป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีประเทศไทยปี 2560 [อินเตอร์เน็ต]. นนทบุรี: กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข; 2560 [สืบค้นเมื่อ 6 พฤษภาคม 2566]. สืบค้นจาก https://www.thaiaidssociety.org/wp-content/uploads/2022/02/Thailand-National-Guidelines-on-HIV-AIDS-Treatment-and-Prevention-2017.pdf
สำนักโรคเอดส์ วัณโรค และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์. มาตรฐานศูนย์บริการชุมชน (Drop in Center : DIC) สำหรับการจัดบริการเอชไอวี/เอดส์ โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ และวัณโรค. [ออนไลน์]. 2562 [เข้าถึง 10 พฤษภาคม 2564]. เข้าถึงได้จาก http://aidssti.ddc.moph.go.th/contents/download/1813
Juntaramano S.,Sawangareeruk J. Lifestyles and health behaviors of persons with HIV/AIDS with food quality of life. Thai Journal of Nursing Council 2011; 26(2): 57-69