การพยาบาลผู้ป่วยที่มีภาวะช็อกจากการติดเชื้อในกระแสเลือดโรงพยาบาลกาฬสินธุ์: กรณีศึกษา 2 ราย
คำสำคัญ:
การพยาบาลผู้ป่วย, ภาวะช็อกจากการติดเชื้อในกระแสเลือดบทคัดย่อ
การศึกษานี้เป็นกรณีศึกษามีวัตถุประสงค์ เพื่อเปรียบเทียบอาการ การรักษา ภาวะแทรกซ้อน และกระบวนการพยาบาลผู้ป่วยที่มีภาวะช็อกจากการติดเชื้อในกระแสเลือดที่มีความเสี่ยงสูงและความรุนแรงที่แตกต่างกันจำนวน 2 ราย โดยการคัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจงผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยว่ามีภาวะช็อกจากการติดเชื้อในกระแสเลือด ที่มีภาวะไตวายเฉียบพลันจำนวน 2 ราย ที่เข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยหนักอายุรกรรม 1 โรงพยาบาลกาฬสินธุ์
ผลการศึกษา พบว่า กรณีศึกษาที่ 1 หญิงไทยอายุ 65 ปีอาการสำคัญ 4 ชั่วโมง ก่อนมามีอาการเหนื่อยอ่อนเพลียหายใจไม่อิ่ม มีโรคประจำตัวโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ญาตินำส่งโรงพยาบาลชุมชนมีภาวะช็อกจากการติดเชื้อในกระแสเลือด เกิดภาวะไตวายเฉียบพลันและเลือดเป็นกรดอย่างรุนแรง ระบบไหลเวียนโลหิตล้มเหลวร่างกายไม่สามารถปรับตัวได้จนเกิดภาวะหัวใจหยุดเต้น ได้รับการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นสูง การช่วยหายใจด้วยเครื่องช่วยหายใจ การบำบัดทดแทนไตด้วยการฟอกเลือดด้วยเครื่องฟอกไตแบบต่อเนื่อง (Continuous Renal replacement therapy; CRRT) การพยาบาลตามมาตรฐานวิชาชีพ ประกอบด้วยการให้ยาปฏิชีวนะอย่างรวดเร็ว ยากระตุ้นความดันโลหิต และสารน้ำอย่างทันท่วงที การควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ในหอผู้ป่วยหนักอายุรกรรม 1 ทำให้ผู้ป่วยสามารถพ้นจากภาวะวิกฤตได้ ระบบอวัยวะต่างๆ กลับมาทำงานได้ปกติภายใน 12 ชั่วโมง และสามารถหย่าเครื่องช่วยหายใจภายใน 72 ชั่วโมง จากนั้นย้ายไปหอผู้ป่วยสามัญ แต่เนื่องจากผู้ป่วยมีโรคเบาหวานทำให้ขณะรับการรักษามีภาวะน้ำตาลในเลือดสูงต้องให้อินซูลินร่วมด้วย และใช้เวลาปรับยาลดระดับน้ำตาล รวมระยะเวลานอนโรงพยาบาล 7 วัน
กรณีศึกษาที่ 2 เพศชายอายุ 46 ปี อาการสำคัญ 1 วันก่อนมา มีอาการไข้สูง หนาวสั่น เหนื่อย หายใจไม่อิ่ม มีโรคประจำตัวต่อมลูกหมากโต ญาตินำส่งโรงพยาบาลชุมชน มีภาวะช็อกจากการติดเชื้อในกระแสเลือด เกิดภาวะไตวายเฉียบพลัน และเลือดเป็นกรด ระบบไหลเวียนโลหิตล้มเหลว ได้รับการรักษาด้วยการใช้เครื่องช่วยหายใจ การพยาบาลตามมาตรฐานวิชาชีพ ประกอบด้วย การให้ยาปฏิชีวนะ ยากระตุ้นความดันโลหิตและสารน้ำอย่างทันท่วงที ในหอผู้ป่วยหนักอายุรกรรม 1 ทำให้ผู้ป่วยสามารถพ้นจากภาวะวิกฤตได้ ระบบอวัยวะต่างๆ กลับมาทำงานได้ปกติภายใน 6 ชั่วโมงและสามารถหย่าเครื่องช่วยหายใจได้ภายใน 12 ชั่วโมง จากนั้นย้ายออกจากหอผู้ป่วยสามัญรวมระยะเวลานอนโรงพยาบาล 3 วัน
References
กระทรวงสาธารณสุข กรมควบคุมโรค. (2563). โรคติดเชื้อในกระแสเลือด. ค้นจาก กรมการแพทย์กระทรวงสาธารณสุข
แนวทางปฏิบัติในการดูแลรักษาผู้ป่วยโรคติดเชื้อ สมาคมเวศบำบัดวิกฤตแห่งประเทศไทย
เฉลิมศรี สุวรรณเจดีย์ และจุฬาภรณ์ สมรูป. (2558). คู่มือการใช้ยาและการจัดการพยาบาล เล่ม 1. กรุงเทพฯ: บพิธการพิมพ์ จำกัด.
ทัศนี รอดภัย. (2566). การพยาบาลผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือดที่มีภาวะช็อก. วารสารวิจัยและวิชาการสาธารณสุขจังหวัดพิจิตร, 4(1), 56-67.
ธนะพันธ์ พิบูลย์บรรณกิจ. (2558). ยาต้านจุลชีพที่สำคัญ. กรุงเทพฯ: สมาคมโรคติดเชื้อแห่งประเทศไทย.
นนทรัตน์ จำเริญวงศ์, สุพรรณิการ์ ปิยะรักษ์และชยธิดา ไชยวงษ์. (2566). การประเมินและการพยาบาลผู้ป่วยที่มีภาวะช็อกจากการติดเชื้อในกระแสเลือด. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยและการสาธารสุขภาคใต้, 7(1), 319-330.
นิตยา ภูริพันธุ์และคณะ. (2563). ผลลัพธ์การพัฒนาการใช้ Sepsis protocol checklist Lerdsin Hospital Outcome of development of the Lerdsin Hospital sepsis protocol checklist. Journal of Health and Nursing Research, 30(1), 12-21.
บุษยามาส ชีวสกุลยง และชัยยุทธ เจริญธรรม. (2558). ภาวะฉุกเฉินทางอายุรศาสตร์. เชียงใหม่: ทริค ธิงค์.
แบบแผนสุขภาพ. (2562). 11 แบบแผนสุขภาพของกอร์ดอน. ค้นเมื่อ 15 ตุลาคม 2566, จาก www.mindmeister.com.
ปราณี ทู้ไพเราะ. (2559). คู่มือยา. กรุงเทพฯ: N P Limited Partnership.
พระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 2558 แนวเวชปฏิบัติ การวินิจฉัย ดูแลรักษาและป้องกันการติดเชื้อใน.โรงพยาบาลกรณีโรคติดเชื้อ.
มณฑิรา มณีรัตนะพร และคณะ. (2561). อายุรศาสตร์ทันยุค2561. กรุงเทพฯ: พริ้นท์เอเบิ้ล.
เรณู สอนเครือ. (2562). แนวคิดพื้นฐานและหลักการพยาบาล เล่ม 1. นนทบุรี: ยุทธรินทร์การ พิมพ์.
วิจิตรา กุสุมภ์ และคณะ. (2565). การพยาบาลผู้ป่วยภาวะวิกฤตแบบองค์รวม. กรุงเทพฯ: พี.เค.เค.พริ้นท์ติ้ง จำกัด
วิทยา ศรีดามา. (2557). หัตถการทางการแพทย์. กรุงเทพฯ: ยูนิตี้ พับลิเคชั่น.
สมจิตร หนุเจริญกุล. (2559). การพยาบาลทางอายุรศาสตร์ เล่ม 2. กรุงเทพฯ: วี.เจ. พริ้นติ้ง.
เสาวนีย์ เนาวพาณิช และวันเพ็ญ ภัญญโญภาสกุ. (2558). การพยาบาลผู้ป่วยภาวะวิกฤตทางอายุรศาสตร์ (Critical Care Medical Nursing). นนทบุรี: ห้างหุ้นส่วนจำกัด ภาพพิมพ์.
แสงสม เพิ่มพูน (2563). การประเมินและการพยาบาลผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสโลหิตที่มีภาวะช็อก (Septic Shock). วารสารมหาวิทยลัยนครปฐม , 12(1), 1071-1081.
อนุกูล เปล่งปลั่ง. (2566). การพยาบาลผู้ป่วยภาวะช็อกจากการติดเชื้อในกระแสเลือด กรณีศึกษา 2 ราย. วารสารวิจัยและวิชาการสาธารณสุขจังหวัดพิจิตร, 4(1), 1-20.
เอกรินทร์ ภูมิพิเชฐ และไชยรัตน์ เพิ่มพิกุล. (2559). Critical Care; At Difficult Time. กรุงเทพฯ: บียอนด์ เอ็นเทอร์ไพรซ์.