ผลของโปรแกรมการบำบัดทางความคิดและพฤติกรรมต่อคุณภาพชีวิต ของผู้ป่วยยาเสพติด โรงพยาบาลจะนะ

ผู้แต่ง

  • ธัญลักษณ์ สารพร โรงพยาบาลจะนะ จังหวัดสงขลา

คำสำคัญ:

โปรแกรมการบำบัดทางความคิดและพฤติกรรม, คุณภาพชีวิต, ผู้ป่วยยาเสพติด, การบำบัดรักษาผู้ป่วยยาเสพติด

บทคัดย่อ

     งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi – experimental research) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการบำบัดทางความคิดและพฤติกรรมต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยยาเสพติด โรงพยาบาลจะนะ รูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยกึ่งทดลอง กลุ่มตัวอย่างจำนวน 40 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม จำนวนกลุ่มละ 20 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติเชิงพรรณนา คือ ร้อยละ ค่าความถี่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติอนุมาน คือ สถิติ Chi-square สถิติ t-test และสถิติ (Repeated Measure ANOVA

     ผลการวิจัย พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศชาย (ร้อยละ 90.0) มีอายุเฉลี่ย 41.83 ปี (S.D.= 10.127) เริ่มเสพยาเสพติดเมื่ออายุเฉลี่ย 24.88 ปี (S.D.=6.858) การวิเคราะห์หลังจบโครงการฯ พบว่า คะแนนเฉลี่ยคุณภาพชีวิตภายในกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมในระยะก่อนเข้าร่วม หลังเข้าร่วมทันที และหลังจบโครงการฯ 1 เดือน มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 (F=14.982) และความแปรปรวนระหว่างกลุ่มกับระยะเวลาโครงการ มีปฏิสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 (F=0.017) และคะแนนเฉลี่ยคุณภาพชีวิตของกลุ่มทดลองและผู้ป่วยกลุ่มควบคุมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 (F=259.305)  

References

Ignaszewski MJ. The Epidemiology of Drug Abuse. The Journal of Clinical Pharmacology. 2021;61(S2):S10-S7.

สำนักงานชันสูตรสาธารณสุข. ยาเสพติด 2560 [updated 26 มีนาคม 2560. Available from: shorturl.at/emuV2.

ฉัตรชัย ศรีเมืองกาญจนา. ยาเสพติด: ปัญหาภัยแทรกซ้อนในจังหวัดชายแดนภาคใต้. กลุ่มงานบริการวิชาการ 1 สำนักวิชาการ; 2560.

โรงพยาบาลจะนะ. สถิติจำนวนผู้ป่วยยาเสพติดที่เข้ารับการบำบัดรักษาในโรงพยาบาลจะนะ ระหว่างปีพ.ศ.2560 - พ.ศ.2564. สงขลา: โรงพยาบาลจะนะ; 2565.

สุพรรษา พูลพิพัฒน์. ผลของโปรแกรมการปรับพฤติกรรมทางปัญญาที่มีต่อภาวะซึมเศร้าในผู้ป่วยยาเสพติด. วารสารวิชาการศรีปทุม ชลบุรี. 2556;10(1):123-31.

Keoleian V, Stalcup SA, Polcin DL, Brown M, Galloway G. A cognitive behavioral therapy-based text messaging intervention for methamphetamine dependence. Journal of psychoactive drugs. 2013;45(5):434-42.

ไพวัล อาจหาญ, ชมชื่น สมประเสิฐ, นุชนาถ บรรทุมพร. ผลของโปรแกรมการฟื้นฟูสภาวะจิตสังคมต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยยาเสพติด. วารสารการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต. 2562;33(2):61-75.

สถาบันบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดแห่งชาติบรมราชชนนี. คู่มือผู้ปฏิบัติงาน การบำบัดรักาาผู้ติดยาเสพติดแบบผู้ป่วยนอกตามรูปแบบการรู้คิด-พฤติกรรมบำบัด. กรุงเทพฯ: สำนักงานกิจการโรงพิมพ์ องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก; 2555. Available from: https://udo.moph.go.th/Net_Narcotic/Manual/3%20Therapist%20manual[1].pdf.

สุชาติ เลาหบริพัตร. ตำราการบำบัดรักษาผู้ติดยาเสพติด. ปทุมธานี: วัชระอินเตอร์ปริ้นติ้ง; 2545.

ไพวัล อาจหาญ, ชมชื่น สมประเสิฐ, นุชนาถ บรรทุมพร. ผลของโปรแกรมการฟื้นฟูสภาวะจิตสังคมต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยยาเสพติด. วารสารการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต. 2562;33(2):61-75.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-31

How to Cite

สารพร ธ. (2023). ผลของโปรแกรมการบำบัดทางความคิดและพฤติกรรมต่อคุณภาพชีวิต ของผู้ป่วยยาเสพติด โรงพยาบาลจะนะ. วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพชุมชน, 8(3), 82–90. สืบค้น จาก https://he03.tci-thaijo.org/index.php/ech/article/view/1870