การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยต่อเนื่องในผู้ป่วยเรื้อรังโรงพยาบาลวังสะพุง จังหวัดเลย

ผู้แต่ง

  • ชุติกาญจน์ สาวิสัย พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ โรงพยาบาลวังสะพุง จังหวัดเลย

คำสำคัญ:

การพัฒนารูปแบบ, การดูแลผู้ป่วยอย่างต่อเนื่อง, ผู้ป่วยเรื้อรัง

บทคัดย่อ

     การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษานี้เป็นการศึกษาการวิจัยและพัฒนา (Research and Development)  โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยอย่างต่อเนื่องในผู้ป่วยเรื้อรัง โรงพยาบาลวังสะพุง จังหวัดเลย กลุ่มตัวอย่างได้แก่  (1) ผู้ป่วยเรื้อรังประเภทเตียง 3 และ เตียง 4 ที่มีการลงทะเบียนในโปรแกรม Long Term Care โรงพยาบาลวังสะพุง จำนวน 35 คน (2) ทีมสหวิชาชีพที่ปฏิบัติงานเกี่ยวกับการดูแลผู้ป่วยอย่างต่อเนื่องของโรงพยาบาลวังสะพุง จังหวัดเลย จำนวน 13 คน เก็บรวบรวมข้อมูลจากแบบสอบถาม ประกอบด้วย (1) แบบประเมินความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันของผู้ป่วย(Barthel ADL Index)ของสถาบันประสาทวิทยา กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ประกอบด้วยข้อคำถาม 10 ข้อ (2) แบบสอบถามการรับรู้ภาวะสุขภาพของผู้ป่วย ประกอบด้วย การรับรู้โอกาสเสี่ยงของการเป็นโรค การรับรู้ความรุนแรงของโรค การรับรู้ถึงประโยชน์ของการป้องกันโรค และการรับรู้ต่ออุปสรรคการป้องกันโรค จำนวน 20 ข้อ(IOC>0.5, Cronbach’s Alpha Coefficient = 0.93) และเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงคุณภาพ ได้แก่ แบบบันทึกการสนทนากลุ่ม(Focus Group) และแบบบันทึกการสนทนากลุ่ม(Focus Group) สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่ามัธยฐาน และ สถิติ paired t-test

      ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ เป็นกลุ่มผู้ป่วยเรื้อรังที่ต้องดูแลอย่างต่อเนื่องจำนวน 35 คน ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง จำนวน 23 คน คิดเป็นร้อยละ 65.71 ช่วงอายุที่พบมากที่สุดคือ ช่วงอายุมากกว่า 70 ปี จำนวน 18 คน คิดเป็นร้อยละ 51.43 รองลงมาคือช่วงอายุ 61 – 70 ปี จำนวน 8 คน คิดเป็นร้อยละ 22.86 หลังการพัฒนารูปแบบพบว่า ความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวัน (Barthel index of ADL) ของผู้ป่วยโรคเรื้อรังมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยหลังการใช้รูปแบบฯ ผู้ป่วยโรคเรื้อรังมีคะแนนเฉลี่ยในการทำกิจวัตรประจำวันเพิ่มมากขึ้น(t=10.08, p-value <0.001)  แต่ยังอยู่ในระดับที่พึ่งพาได้โดยสมบูรณ์ ในด้านการรับรู้ภาวะสุขภาพของผู้ป่วยเรื้อรัง มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิตที่ระดับ .05 โดยก่อนการใช้รูปแบบฯผู้ป่วยโรคเรื้อรังมีระดับการรับรู้ด้านสุขภาพในระดับปานกลาง แต่หลังจากการใช้รูปแบบฯมีระดับการรับรู้ด้านสุขภาพเพิ่มมากขึ้นเป็นระดับสูง(t=10.61, p-value <0.001)

References

กชพร เขื่อนธนะ และคณะ. (2562). การพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยที่จำเป็นต้องได้รับการดูแลต่อเนื่องที่บ้านโดยกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชน อำเภอเชียงกลาง จังหวัดน่าน. Journal of Health Science - วารสารวิชาการสาธารณสุข, 28(2), 273–285. Retrieved from https://thaidj.org/index.php/JHS/article/view/6419.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2562). สถิติผู้สูงอายุของประเทศไทย 77 จังหวัด ณ.วันที่ 31 ธันวาคม 2562. (ออนไลน์)เข้าถึงได้จาก http://www.dop.go.th/download/knowledge/th1550973505-153_0.pdf: [สืบค้นเมื่อ 1 สิงหาคม 2566].

ศรีเวียง ไพโรจน์กุล. (2559). ความสำคัญของการพัฒนาระบบบริการแบบ palliative care. ใน: กิตติพล นาควิโรจน์, บรรณาธิการ. คู่มือการดูแลผู้ป่วยระยะท้ายและครอบครัว. กรุงเทพ-มหานคร: บียอนด์เอ็นเทอร์ไพรช์.

ชุติมา อรรคลีพันธุ์, วิโรจน์ ตั้งเจริญเสถียร, ภูษิต ประคองสาย, จิตปราณี วาศวิท, อรศรี ฮินท่าไม้, อาทิตยา เทียมไพรวัลย์. (2550). การสำรวจการเข้าถึงสถานพยาบาลและรายจ่ายด้านสุขภาพของผู้ป่วยที่เสียชีวิต พ.ศ. 2548-2549. สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข.

นวลขนิษฐ์ ลิขิตลือชา, ธีรพร สถิรอังกูร, ทิพย์สุดา ลาภภักดี. (2556). การพยาบาลผู้ป่วยที่บ้าน. กรุงเทพมหานคร: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

World Health Organization. (2015). Global status report on noncommunicable diseases, 2014 [Internet]. Geneva, Switzerland. [สืบค้นเมื่อ 1 สิงหาคม 2566]. เข้าถึงได้จาก: http://www.who.int/nmh/publications/ncd-status-report-2014/en/

Bentzen N,. (2003). editor. WONCA dictionary of general/family practice. Trondheim, Norway: WONCA International Classification Committee.

World Health Organization. (2005). Noncommunicable Diseases Progress Monitor, 2005.

World Economic Forum. (2011). The global competitiveness report 2016 - 2017. Available at http://www.weforum.org. [สืบค้นเมื่อ 1 สิงหาคม 2566]

กรมควบคุมโรค, กองโรคไม่ติดต่อ. (2566). จำนวนและอัตราตายด้วย 5 โรคไม่ติดต่อ (NCD) ปี 2559-2563.http://www.thaincd.com/2016/mission/documentsdetail.php?id=14220&tid=32&gid=1-020

โรงพยาบาลวังสะพุง. (2565). รายงานการดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรัง. โรงพยาบาลวังสะพุง.

สำนักการพยาบาล. (2556). หนังสือการพยาบาลผู้ป่วยที่บ้าน. กรุงเทพฯ :โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

อรุณ จิรวัฒน์กุล. (2550). ชีวสถิติ, พิมพ์ครั้งที่ 4. ขอนแก่น: คลังนานาวิทยาคม.

ณิสาชล นาคกุล และปานดวงใจ เสนชู. (2564). การพัฒนารูปแบบการดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุติดเตียงโดยผู้ดูแลหลัก เขตเทศบาลนครสุราษฎร์ธานี จังหวัดสุราษฎร์ธานี. วารสารวิจัยและพัฒนานวัตกรรมสุขภาพ. 4 (2). 27 – 39.

นิ่มนวล โคยิน และกิตติพร เนาว์สุวรรณ. (2566). การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยอย่างต่อเนื่องในผู้ป่วยเรื้อรังประเภทเตียง 3 และเตียง 4 เครือข่ายโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชท่าบ่อ อำเภอท่าบ่อ จังหวัดหนองคาย. ราชาวดีสาร วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีสุรินทร์.13 (1).46 – 60.

ฐิตารีย์ ธนสิริกาญจน์ และคณะ. (2564). การพัฒนารูปแบบการดูแลต่อเนื่องในผู้ป่วยที่ต้องดูแลเป็นพิเศษ เขตอำเภอเมืองเลย. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ. 39(2), 127-136.

นเรศ มณีเทศ. (2565). รูปแบบการส่งเสริมการดูแลผู้สูงอายุติดบ้าน และติดเตียงของผู้ดูแลรายกรณี อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม. วารสารสุขภาพและสิ่งแวดล้อมศึกษา.7 (1).49 – 56.

ทัศพร ชูศักดิ์ และคณะ. (2566). ประสิทธิผลของรูปแบบการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุติดเตียงแบบมีส่วนร่วมของชุมชน จังหวัดปทุมธานี. วารสารวิจยวิชาการ. 6 (2). 87 – 102.

ศรัณรัตน์ ศิลปักษา และธารา รัตนอำนวยศิริ. (2655). การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง และผู้พิการในชุมชนด้วยการมีส่วนร่วมของทีมหมอครอบครัว และภาคีเครือข่านอำเภออาจสามารถ จังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารวิจัยและพัฒนานวัตกรรมสุขภาพ. 4 (1). 29 – 42.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-31

How to Cite

สาวิสัย ช. . (2023). การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยต่อเนื่องในผู้ป่วยเรื้อรังโรงพยาบาลวังสะพุง จังหวัดเลย . วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพชุมชน, 8(3), 978–988. สืบค้น จาก https://he03.tci-thaijo.org/index.php/ech/article/view/1871